18 ธ.ค. 2022 เวลา 12:00 • สิ่งแวดล้อม
👉ตลาดคาร์บอนเครดิตและกลไกราคา
✅ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นๆ ของโลก ในขณะที่ไทยติดอันดับหนึ่งใน 10 ของโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว
ซึ่งเป็นเหตุผลที่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero GHG emissions) จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยและทั่วโลกกำลังจับตามอง
ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ให้คำมั่นว่าจะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ขณะที่ประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งไทยและจีน คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายระยะยาวดังกล่าวได้ในช่วงปี 2593-2608
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเพิ่มมาตรการลดความเสี่ยงจากการปล่อยคาร์บอน เช่น การเพิ่มขอบเขตจำกัดคาร์บอน ดังนั้น ผู้ที่เป็นซัพพลายเออร์สินค้าหรือวัตถุดิบให้ประเทศเหล่านั้นจะต้องจัดการกับการปล่อยมลพิษเช่นกัน
✅ภาคพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด การปล่อยก๊าซคาร์บอนของภาคพลังงานคิดเป็น 69% ของทั้งประเทศ ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยมีแผน 4 ขั้นตอนเพื่อให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 ได้แก่
1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี 2573
2) เพิ่มสัดส่วนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็น 69% ของรถยนต์ใหม่ในปี 2578
3) เพิ่มพื้นที่ป่าจาก 30 ล้านไร่ เป็น 120 ล้านไร่ ภายในปี 2580
4) เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเป็น 50% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ภายในปี 2593
1
✅ผลกระทบสูง vs ผลกระทบต่ำ กลุ่มผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก โดยมีอัตรากำไรต่ำและความยืดหยุ่นของราคาสูง ซึ่งก็คือ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่มเคมีภัณฑ์ กลุ่มเหมืองแร่ และกลุ่มสายการบิน
ขณะที่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มซอฟต์แวร์ กลุ่มการเงิน และกลุ่มเวชภัณฑ์
✅กลไกการกำหนดราคาคาร์บอนเครดิต การกำหนดราคาคาร์บอนเครดิต (carbon credit) จะแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ขึ้นอยู่กับ
1) ว่าเป็นตลาดแบบสมัครใจหรือตลาดแบบถูกบังคับ
2) การกำหนดราคาตามตลาด (อุปสงค์/อุปทาน) หรือ กำหนดราคาภายในเอง (ใช้ต้นทุนทดแทน)
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติที่ราคาคาร์บอนเครดิตจะสูงขึ้นในตลาดแบบถูกบังคับ จากอุปสงค์และอุปทานที่ตึงตัวกว่า แต่บางครั้งผู้ซื้อจะซื้อคาร์บอนเครดิตด้วยต้นทุนของทางเลือกอื่นในการลดและกำจัดก๊าซคาร์บอน
✅กลไกการซื้อขาย หากเราเปรียบเทียบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกับตลาดหุ้น ผู้ขายคาร์บอนจะเปรียบเสมือนบริษัทผู้ออกหุ้น IPO ซึ่งจะขายคาร์บอนเครดิตที่จดทะเบียนในตลาดแลกเปลี่ยน (แพลตฟอร์มการซื้อขาย) ในราคาที่ตั้งไว้
หลังจากนั้นคาร์บอนเครดิตดังกล่าวจะถูกซื้อขายในตลาดรองในราคาที่เปลี่ยนไปตามอุปสงค์/อุปทาน ทั้งนี้ เงื่อนไขของผู้ซื้อจะทำให้ราคาแตกต่างเช่นกัน
✅ผลกระทบ ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เป็นแนวโน้มระยะยาว ซึ่งรัฐบาลไทยจะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว โดยใช้มาตรการบังคับในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2593-2608
โดยผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากต้องเตรียมการกำจัด และ/หรือลดก๊าซเรือนกระจก ขณะที่การลงทุนในเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) และเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนและการใช้ประโยชน์ (CCU) จะคุ้มค่ากับการลงทุนหากราคาของคาร์บอนเครดิตแพงกว่าการลงทุนในเทคโนโลยี CCS และ CCU ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เข้าร่วมในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวอาจถูกกันออกจากห่วงโซ่อุปทานหรือถูกปรับในอัตราสูงสุด
เปิดพอร์ตลงทุน >> https://bit.ly/3eC98sz
⛳️Follow us :
📲 Facebook: http://bit.ly/2XwGoaa
📲 Instagram: http://bit.ly/332OqIT
📲 Twitter: http://bit.ly/344OVng
📲 YouTube: http://bit.ly/2QAdiFp
#KS #KBankLive
โฆษณา