13 ธ.ค. 2022 เวลา 16:44 • สุขภาพ
SI joint ตอนที่ 1 "Form Closure / Force Closure"
[บทนำ] ก่อนอื่นขอทบทวนภาวะ SI joint dysfunction ก่อนคร่าวๆน้า
* อาการที่ควรสงสัยได้แก่ ปวดตื้อๆหลักๆจะร้าวมาตามแนว sacrum(อาจร้าวมาถึง หลังสะโพก ขาหนีบ หรืออาจต่ำกว่าเข่า), กดเจ็บบริเวณ medial to PSIS, "อาการของ SIJ dysfunction แบบเพียวๆ จะไม่เกิดอาการทางระบบประสาท"
* อาการแสดง (ผู้ป่วยมักเล่าว่า....)
- เจ็บทันทีเมื่อจะนั่ง หรือ ลุกยืน (เคลื่อนไหวแล้วเจ็บ?)
- เบาลงเมื่อเดินได้ซักพัก
- เจ็บเมื่อขึ้น/ลงบันได
[SI joint dysfunction คืออะไร??]
เนื่องจาก Sacroiliac เป็นข้อต่อที่มี stability สูงมาก ขยับได้เล็กน้อยประมาณ 2 องศา เป็น key stone ของร่างกายโดยรับน้ำหนักจากส่วนบนก่อนจะกระจายแรงมายังขา ซึ่งนั่นคือภาระอันหนักอึ้งของ SI joint ลองนึกภาพตามน้ำหนักของ upper body ถ่ายลงมาตาม vertebral spine จนถึง sacrum ก่อนจะส่งไปยัง iliac bone แล้วไปยังขาทั้งสองข้าง ทำไม sacrum ถึงไม่ล่วงหลุดลงไป?? 😛
ที่ sacrum ไม่หลุดลงไปเพราะมีระบบกระจายแรงถึง 2 ตัวคอยช่วยไว้ คือ
1. Form closure (verticle support of load) => ฐานรับน้ำหนัก ...การเกิด interlock เสมือนเลโก้ที่เชื่อมต่อกัน ตามภาพที่1 ผิวที่เป็นร่องๆและสบกันของกระดูกสองชิ้นสมานด้วย interosseous ligament ทำให้เกิด stability โดยเฉพาะอย่างยิ่ง stability หรือความมั่นคงในการรับน้ำหนักแนว verticle ซึ่ง form closure เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะ stabilize pelvis จากแรง ที่กระทำต่อมันได้จึงต้องมี force closure มาช่วย
ภาพที่ 1 SIJ section in horizontal & frontal view
2. Force closure (horrizontal support of load internally) => แรงบีบอัดที่ตั้งฉากต่อแรงกดบน SIJ ...แรงนี้คอยบีบกระดูก ilium เข้าหา sacrum ซึ่งนั่นก็คือแรงดึงหรือ tension จากกล้ามเนื้อ ligaments และ thoracolumbar fascia รวมไปถึง ground reaction force การมี tension ที่สมดุลจะทำให้ข้อต่อมั่นคง(stabilized) แต่ถ้ามีฝั่งใดแรงดึงมากเกินไปอาจทำให้ SIJ stiffness ได้
ภาพที่ 2 Force closure | Posterior oblique sling & anterior oblique sling
ภาพที่ 3 form closure + force closure = holding power
SI joint dysfunction จึงหมายถึง การเสียสมดุล(impaired) ของการถ่ายน้ำหนักผ่านข้อต่อ sacroiliac
ดังนั้นหากเราแยกแยะได้ว่ามันเกิดจากอะไรจะทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องครับ (ไว้มีโอกาส ผมจะหาข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อแถวๆ SI joint มาฝากนะครับ)
[Functional SI Assessment]
1. ท่านอนหงาย
- ให้ผู้ป่วยยกขาข้างหนึ่งขึ้น >> หากมี compensate เห็น pelvis rotation ไปด้านที่ขายก หรือมีอาการปวดบริเวณ SIJ แสดงว่าอาจมีภาวะ SIJ dysfunction
2. ท่านอนคว่ำ
- ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำยกขาโดยที่เข่าเหยียดประมาณ (เหยียดข้อสะโพกประมาณ 10 องศา เคลื่อนไหวแต่ข้อสะโพก) >> หากพบว่าการเคลื่อนไหวที่ได้มาจาก pelvis anterior tilt มากกว่า hip extension หรือมีอาการปวดบริเวณ SIJ แสดงว่าอาจมีภาวะ SIJ dysfunction
ต่อไปจะเป็นการทดสอบว่าการ dysfunction ของ SI joint นั้นเกิดมาจาก Form closure หรือ Force closure ครับ
หลังจากที่เราประเมินว่าผู้ป่วยมีความ dysfunction ของ SIJ แล้วคราวนี้เรามาหาสาเหตุว่ามาจาก form closure หรือ force closure กันแน่
[Form closure assessment ]
- ท่าเริ่มต้นท่าเดียวกับ Functional SI Assessment แต่ให้ PT ออกแรงบีบกระดูก iliac คนไข้เข้าหากัน แล้วบอกผู้ป่วยยกขาขึ้น(เข่าเหยียด)ค้างไว้
>> ถ้าอาการปวดลดลง หรือรู้สึกว่ายกขาได้ง่ายขึ้นแสดงว่า dysfunction จาก Form closure
ภาพที่ 4 Form closure assessment in supine & prone
[Foce closure assessment ]
- Supine lying
ท่าเริ่มต้นท่าเดียวกับ Functional SI Assessment in supine แต่ PT วางมือที่หัวไหล่ด้านตรงข้าม ให้ผู้ป่วยออกแรงดันด้านแรงกัน (slightly trunk flexion & rotation)
>> ถ้าอาการปวดลดลง หรือรู้สึกว่ายกขาได้ง่ายขึ้นแสดงว่า dysfunction จาก Force closure
- Prone lying
ท่าเริ่มต้นท่าเดียวกับ Functional SI Assessment in supine แต่ PT จับที่ข้อมือข้างตรงข้ามของผู้ป่วย บอกให้เหยียดแขนต้านแรงกัน (กระตุ้นการทำงานของ latissimus dorsi และ thoracolumbar fascia tension)
>> ถ้าอาการปวดลดลง หรือรู้สึกว่ายกขาได้ง่ายขึ้นแสดงว่า dysfunction จาก Force closure
ภาพที่ 5 Foce closure assessment in supine & prone
การ dysfunction ของ SIJ ที่เกิดจาก form closure ในหนังสือ muscle energy technique ไม่ได้บอกวิธีแก้อย่างชัดเจนเพียงแต่ยกขึ้นมาว่า trochanter belt สามารถช่วยได้ แต่อย่างไรก็ตามตัวผมเองคิดว่าการใช้เทคนิค mobilization ร่วมกับ MET น่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ส่วนการ dysfunction ของ SIJ ที่เกิดจาก foce closure นั้น ในหนังสือจะบอกว่ามี prognosis ที่ดีกว่า ในโอกาสหน้าผมจะมาแชร์เทคนิค MET สำหรับรักษา SI joint dysfunction ในรูปแบบต่างๆกันนะครับ ขอจบบทความไว้เพียงเท่านี้ขอบคุณที่เสียสละเวลามาอ่านครับ^^
- Ken,C. Sandy,F. Gary,F. Crig,L. Ron,J,P. Nathan,S. Eric,W. Advance Soft Tissue Technique LEON CHAITOW Muscle Energy Techniques 3rd edition. London: Elseviser Limited; 2006.
- Vleeming A, Schuenke M. Form and Force Closure of the Sacroiliac Joints. PM R. 2019 Aug;11 Suppl 1:S24–31.
โฆษณา