14 ธ.ค. 2022 เวลา 10:17 • ประวัติศาสตร์
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงของหนัก ผู้แบกของหนัก
และการแบกของหนัก แก่พวกเธอ
เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าของหนัก ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ
เรากล่าวว่าเป็นของหนัก.
อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า เหล่าไหนเล่า ? คือ :-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ของหนัก.
ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าผู้แบกของหนัก ?
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล (ตามสมมติ) นั้นแหละ เรา
เรียกว่าผู้แบกของหนัก เขามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น
ตามที่รู้กันอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก.
ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าการแบกของหนัก ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาอันใดที่ทำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วยความกำาหนัด เพราะอำานาจแห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำาให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๔๙-๕๑.
ดับตัณหา คือปลงภาระหนักลงได้
ภิกษุทั้งหลาย !
การปลงภาระหนักลงเสียได้ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือของตัณหานั้น นั่นเทียว,
ความละไปของตัณหานั้น,
ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น,
ความหลุดออกไปของตัณหานั้น,
และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้นอันใด.
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า
การปลงภาระหนักลงเสียได้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธวจนนี้
ซึ่งเป็นคำาร้อยกรองสืบต่อไป :
“ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก !
บุคคลนั้นแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป.
การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก.
การปลงภาระหนักเสียได้ เป็นความสุข.
พระอริยเจ้า ปลงภาระหนักลงเสียแล้ว.
ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก.
ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก (อวิชชา);
เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ”ดังนี้.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๒-๕๓.
โฆษณา