16 ธ.ค. 2022 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จากดราม่าร้านอาหารเรียกเก็บ VAT 7% ทั้งๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียน VAT นำมาสู่ข้อสงสัยเรื่องการเรียกเก็บภาษีมูลเพิ่ม การจดทะเบียนตามกฎหมาย และทำไมผู้บริโภคจึงต้องจ่าย VAT เพิ่ม?
โควิดมาท่องเที่ยวซบเซา โควิดเบาท่องเที่ยวบูม
ประเด็นเกี่ยวกับ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)” มีกรณีศึกษามาให้เห็นบ่อยๆ ทำให้ผู้บริโภคเท่าทันและเข้าใจเรื่อง #ภาษี มากขึ้น อย่างล่าสุด เกิดกรณีร้านอาหารแห่งหนึ่งย่านกำแพงแสน จ.นครปฐม เรียกเก็บค่าอาหารพร้อมค่า “VAT 7%” ทั้งที่ทางร้านไม่ได้จดทะเบียน VAT ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นเคสตัวอย่างที่ย้ำเตือนว่า เมื่อไปใช้บริการร้านอาหารใดๆ ก็ตาม หากมีการเรียกเก็บ VAT 7% ผู้บริโภคควรขอใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบ
แล้ว VAT 7% คืออะไร? ทำไมผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่มนอกเหนือจากค่าสินค้าและบริการ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า ซึ่งปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยอยู่ที่ 7% โดยกฎหมายมีการบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)” เป็นภาษีทางอ้อม ที่ทางผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถเลือกที่จะผลักภาระให้กับผู้บริโภคได้ จึงทำให้ #ผู้บริโภคมีหน้าที่ที่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกเหนือค่าสินค้าหรือบริการด้วย ด้านผู้ประกอบการ มีหน้าที่เก็บรวบรวมเงินในส่วนของภาษีดังกล่าว แล้วนำไปส่งให้กับกรมสรรพากร เพื่อเข้าสู่คลังของประเทศ (ภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้เข้าร้านแต่อย่างใด)
ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่น “จดทะเบียน VAT” ไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท พร้อมกับนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป แต่ถ้าหากมีรายได้ตลอดทั้งปีเท่ากับ 1.8 ล้านบาทพอดี ยังถือว่าไม่เข้าเกณฑ์ก็จะได้รับการยกเว้นยังไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
*หมายเหตุ: การไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์นั้นมีความผิดตามกฎหมาย หากถูกตรวจสอบพบ ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีย้อนหลัง และต้องจ่ายเบี้ยปรับ (มากที่สุดคือ 2 เท่าของภาษีที่ชำระ) และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องชำระด้วย
2
โดยสรุปคือ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่รายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีก็ไม่ต้อง “จดทะเบียน VAT” และไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่สรรพากร แต่ก็ไม่สามารถเรียกเก็บ VAT 7% จากผู้บริโภคได้เช่นกัน เพราะเข้าข่ายผิดกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดเป็นหลักไว้ว่า “ผู้ที่จะออกใบกำกับภาษี” ได้นั้น ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2
หาก ‘ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม’ กับกรมสรรพากร แม้จะมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการมากมายเท่าใด เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างเด็ดขาด ถ้ามีการออกใบกำกับภาษีโดยที่ผู้ออกยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ออกจะต้องมีความรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญา
โฆษณา