1 ม.ค. 2023 เวลา 05:28 • การศึกษา
SI joint ตอนที่ 2 "SIJ test" 01
[Palpation]
1. ดูว่า pelvic crest ทั้งสองข้างเท่ากันมั้ย? >> หากไม่เท่ากันให้ดูว่าปุ่มกระดูก greater trocchanter ทั้งสองข้างเท่ากันหรือไม่
- หากข้างที่ pelvic crest สูงกว่าอีกข้าง และ greater trochanter ก็สูงกว่าอีกข้าง แสดงว่า ขาสองข้างอาจจะไม่เท่ากัน
- หากข้างที่ pelvic crest หรือ greater trochanter อย่างใดอย่างหนึ่งสูงกว่าอีกข้าง แสดงว่า อาจจะเกิดมาจาก muscle imbalance หรือกระดูกไม่เท่ากันก็ได้
2. ดูว่า PSIS ทั้งสองข้างสูงเท่ากันมั้ย?, ลึกเท่ากันมั้ย?(rotation of sacrum)
[Active test]
1. [Standing flexion test] คือการสังเกตการเคลื่อนไหวของ PSIS (กระดูก ilium/ innominate bone) ขณะที่แกนกลางของร่างกาย(vertebras+sacrum)กำลังงอไปด้านหน้า #หากคนไข้ขาไม่เท่ากันในหนังสือแนะนำว่าหาอะไรมารอง (แต่ผมคิดว่าข้ามไปทำ Seated forward flexion test เลยดีกว่าถ้าเรา rue out ความตึงของกล้ามเนื้อ hamstrings ได้)
- มือจับ PSIS ทั้งสองข้างขณะที่ผู้ป่วยโค้งตัวลงตามภาพ ค้างไว้ประมาณ 8 วินาที (รอกล้ามเนื้อ hamstrings คลายตัว)
- ข้างไหนสูงกว่าข้างนั้น hypomobility / dysfunction
ภาพที่ 1 standing flexion test & seated flexion test
2. [Standing spinal rotation]
ขณะที่ผู้ป่วยก้มตัว ให้สังเกต Lumbar paravertebral muscles ว่ามีความนูนเท่ากันมั้ย หากไม่เท่ากันให้สงสัยถึง spinal rotoscoliosis หรือมีความตึงมากๆที่ quadratus lumborum หรือ hypertrophy ของ erector spinae
3. [Seated flexion test] >> ท่านี้เป็นการ fix ที่กระดูก ischium ทำให้กระดูก ala ขยับขณะก้มตัวไปด้านหน้าได้ยาก
- นิ้วโป้งจับที่ PSIS ทั้งสองข้างขณะที่ผู้ป่วยโค้งตัวลงตามภาพ
- ข้างไหนเคลื่อนสูงกว่าแสดงว่า กระดูก sacrum นั้นค่อนข้างยืดติดกับกระดูก ilium สงสัยว่าเป็น sacroiliac dysfuntion
ถ้าทดสอบมาถึงตรงนี้ก็พอรู้คร่าวๆแล้วหละครับว่าข้างไหนที่ dysfunction จากการที่คลำปุ่มกระดูก PSIS เราลองฟีลถึงความลึกกันดูนะครับ พิจารณาจากข้างที่ dysfunction
- ถ้ารู้สึกว่าลึกกว่าข้างปกติ แสดงว่า sacrum มีการหมุนไปด้านหน้าของข้างนั้น SIJ จะอยู่ในลักษณะ nutation (sacrum anterior tilt)
เมื่อลองให้คนไข้นอนคว่ำอาจพบว่าข้างนั้นค่อนข้างมี lumbar lordoisis curve
- ถ้ารู้สึกว่าตื่นกว่าด้านปกติ แสดงว่า sacrum มีการหมุนมาด้านหลังของข้างนั้น SIJ จะอยู่ในลักษณะ counternutation (sacrum posterior tilt)
เมื่อลองให้นอนคว่ำอาจพบว่าหลังข้างนั้นค่อนข้างแบนเมื่อเทียบกับอีกข้าง
ภาพที่ 2 Nutation & coumternutation movement
4. [Seated spinal rotation]
ขณะที่ทำ seated flexion test ให้สังเกต Lumbar paravertebral muscles เช่นเดียวกับตอนทำ standing spinal rotation
- หากเป็นเช่นเดียวกับ standing spinal rotation test แสดงว่าอาจจะเป็น primary spinal dysfunction มากกว่า postural muscle imbalance
- หากผลที่ได้ไม่เหมือนกับ standing spinal rotation test แสดงว่าที่เป็นว่าเกิด compensation ของ postural muscles lower limb และ บริเวณ pelvic floor เป็นหลัก
[Special test]
1. Gillet test >> โดยให้ผู้ป่วยยืนขาเดียว กอดเข่าหนึ่งข้าง
**เพื่อดูว่ามีการติดของ SIJ ในทิศทาง Posterior tilt ของกระดูก ilum หรือไม่
ขณะที่เกิด hip flexion กระดูก ilium ควรถูกดึงมาด้านหลังตามการงอของข้อสะโพกด้วย
ขั้นตอนการทดสอบคือ
- PT: มือหนึ่งจับที่ปุ่มกระดูก spinous ของ S2, มืออีกข้างจับ inferior part of PSIS ข้างที่จะทดสอบ แล้วบอกผู้ป่วยให้ยกขาข้างที่คลำ PSIS ขึ้นค้างไว้ (ทำเทียบกันสองข้าง)
- ปกติแล้วตำแหน่งของ PSIS ควรเลื่อนลงมาล่างต่อ S2
>> หากรู้สึกว่า ปุ่ม PSIS และ กระดูก sacrum เคลื่อนที่ลง เหมือนเป็น unit เดียว หรือเคลื่อนที่ติดไปด้วยกัน แสดงว่ามีการ dysfunction ของ SIJ ข้างนั้น เราอาจเห็น compensation ของ lumbar spine ที่งอมากกว่าปกติ
ภาพที่ 3 Gillet's test positive ตำแหน่งของ PSIS จะไม่เคลื่อนลง
2. Supine to long sit test >> เพื่อเช็คว่ากระดูก ilium มีแนวโน้มที่จะ anterior rotate หรือ posterior rotate
- ให้ผู้ป่วยทำ bridging เพื่อ realignment ของขาทั้งสองข้าง จากนั้นให้เหยียดขาออก อยู่ในท่านอนหงาย
>> สังเกตที่ inferior aspect of medial malleolus ทั้งสองข้างว่าเท่ากันมั้ย ข้างไหนสั้นกว่า หรือยาวกว่า
- จากนั้นให้ผู้ป่วยขึ้นมาอยู่ในท่า long sitting แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของ inferior aspect of medial malleolus แต่ละข้างจากท่านอนหงาย
#จากเท่ากันหรือยาวกว่า เป็น *สั้นกว่าอีกข้างในท่า long sitting แสดงว่า ilium ข้างนั้นติดในทิศ anterior tilt
#จากเท่ากันหรือสั้นกว่า เป็น *ยาวกว่าอีกข้างในท่า long sitting แสดงว่า ilium ข้างนั้นติดในทิศ posterior tilt
อย่างไรก็ตามการทดสอบด้วยวิธีนี้เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่แม่นยำมากพอ ด้วยขอจำกัดหลายปัจจัยที่ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เช่น ตำแหน่ง pelvis ในท่าเริ่มต้น, แรงเสียดทานของเตียง หรือท่าทางในการลุกนั่งที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน
ภาพที่ 4  Supine to long sit test แปลผล ilium/innominate rotation
3. Faber-Patrick’s Test >>เป็นการทดสอบรอยโรคว่ามีที่มาจากบริเวณ ข้อสะโพก, กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก หรือบริเวณ SI joint
- ท่าเริ่มต้นอยู่ในท่านอนหงาย ทำ hip flexion + abduction + external rotation (ที่มาของชื่อ FAbER) โดยเท้าข้างที่ทดสอบจะวางทับขาอีกข้าง(เหนือต่อข้อเข่า) ลักษณะของขาเหมือนเลข 4 (เรียกอีกชื่อว่า Figure 4 test)
- มือหนึ่ง stabilize ที่ iliac ฝั่งตรงข้าม, อีกมือวางบนเข่าข้างที่ทดสอบ
- ค่อยๆออกแรงกดเข่าผู้ป่วยในทิศลงสู่เตียง ให้ระดับเข่าข้างที่ทดสอบเท่ากับหรืออยู่ใต้ต่อเข่าข้างที่ไม่ได้ทดสอบ
Faber's test positive >> ไม่สามารถกดเข่าข้างที่ทดสอบให้เท่ากับเข่าอีกข้างได้ หรือเกิดอาการปวดเมื่อกดเข่าลง -> ให้ถามต่อว่าปวดบริเวณไหน เพื่อดูว่ารอยโรคอยู่ ในข้อสะโพก, กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก หรือ SI joint
ปวดลึกๆตรงข้อสะโพก -> hip joint
ปวดที่ต้นขา -> muscles around hip
ปวดแถวๆหลังล่างๆ -> SI joint
ภาพที่ 5 Faber-Patrick’s Test
4. Gaenslen's Test >> เป็นการเพิ่ม stress ของข้อต่อ SI ในทิศทาง Counternutation ทดสอบในท่านอนตะแคงเอาข้างที่สงสัยขึ้น
- ให้ผู้ป่วยกอดเข่าล่าง (ทำให้ sacrum posterior tilt)
- PT passive extend ขาบน (ทำให้ ilium ข้างนั้น anterior tilt เกิด counternutation movement ของ SIJ)
Gaenslen's Test positive >> คือ ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บบริเวณ SIJ
Gaenslen's Test สามารถทำในท่านอนหงายได้เช่นกัน โดยใช้หลักการเดียวกัน
ภาพที่ 6 Gaenslen's Test ในท่านอนตะแคง และท่านอนหงาย
5. Shear test / Sacral trust test >> เป็นการกระตุ้นอาการปวดบริเวณ SIJ
apply แรง PA บนปุ่มกระดูก S2 หรือ PSIS ของแต่ละข้าง
ภาพที่ 7 Sacral trust test
สรุปแล้วเราสามารถรู้ความไม่สมดุลของ SIJ ทั้งสองข้างรวมถึง compensation ของ lumbar spine ผ่านการสังเกต movement impairment โดย
1. Standing flexion test + standing spinal rotation (รู้ข้าง hypomobility)
2. Sitting flexion test + seated spinal rotation (รู้ข้าง hypomobility)
3. Gillet test (รู้ข้าง hypomobility)
4. Supine to long sit test (ข้างที่ติดนั้น ilium อยู่ในท่า anterior/posterior tilt)
รู้ผ่านการกระตุ้นอาการเจ็บโดย
1. Faber-Patrick’s Test
2. Gaenslen's Test
3, Sacral trust Test
คราวนี้เรามาสังเกตอีกรอบผ่านปุ่มกระดูก Anterior superior iliac spine (ASIS)
ว่าข้างที่ dysfunction นั้น ASIS อยู่ในลักษณะ
1. Inflare หรือ Outflare
2. Upslip หรือ Downslip
3. Anterior tilt หรือ Posterior tilt
ภาพที่ 8 ทิศทางการติดของ SIJ
[inflare / out flare]
- inflare = ASIS หมุนเข้าหาสะดือ, out flare = ASIS หมุนออกห่างจากสะดือ
- เป็นการเคลือนไหวปกติของข้อต่อ SIJ ขณะเดิน
ยกตัวอย่าง>> ขณะข้างขวา stance - ข้างซ้าย swing -> pelvis จะหมุนไปหาข้างขวา ทำให้กระดูก ilium ข้างขวาอยู่ในลักษณะ out flare ข้างซ้ายอยู่ในลักษณะ inflare ตามภาพที่ 9
ภาพที่ 9 SIJ ขณะก้าวเท้าซ้าย
ให้สังเกต ASIS ของผู้ป่วยในท่านอนหงายดูว่าข้างที่ dysfunction นั้นห่างจาก umbricle line มั้ย หรือติดอยู่ในลักษณะ inflare หรือ out flare
จากภาพที่ 9 และ 10 จะเห็นว่าข้างที่ outflare จะเกิดแรง compression ที่ SIJ ข้างเดียวกัน และข้างที่ inflare จะข้อต่อ SI จะเกิดช่องว่าง (gap)
ภาพที่ 10 SIJ superior view
1. Inflare dysfunction >> อาจเกิดจาก form closure ที่ผิดปกติ หรือ force closure ที่ imbalance (อธิบายไว้แล้วในบทความก่อนหน้า) คือมี gap ที่มากเกินไป เราสามารถ train กล้ามเนื้อเพื่อลด gap และเพิ่ม stability ของ SIJ ข้างนี้ได้
2. Out flare dysfunction >> muscle imbalance อาจมี tightness หรือ weakness ของกล้ามเนื้อแถวนั้น อาจจะใช้ muscle energy tecnique หรือ joint mobilization ในการคลาย compression force ของ SIJ ข้างนั้นได้
[upslip/down slip]
1. upslip >> (กระดูก ilium เลื่อนขึ้นด้านบน) อาจเกิดจากอุบัติเหตุจากแรงกระแทกในแนวดิ่งจากเท้าไปยังกระดูกเชิงกราน เช่นเดินตกหลุม หรือกระโดดลงจากที่สูงในท่าทางที่ไม่เหมาะสม อาการ upslip มักเกิดร่วมกับ anterior tilt ของ ilium อาจเกิดมาจากความตึงของกล้ามเนื้อ quadratus lumbolum, psoas major การที่กระดูก ilium ถูกดึงขึ้นด้านบนจึงเกิดแรงดึงที่มากระทำต่อ long dorsal sacroiliac ligament (ยึด PSIS กับ sacrum) อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณ SI joint
Note: การยืดเนื้อกลุ่ม hamstrings อาจส่งผลทำให้กระดูก ilium posterior tilt และ down slip มากขึ้นเนื่องจาก กล้ามเนื้อ biceps femoris มี chain ต่อไปยัง sacrotuberous ligament (PSIS->Sacrum->Ischium)
2. down slip >> (กระดูก ilium เลื่อนลงด้านล่าง) สาเหตุเกิดจากแรงดึงลง (traction force) อาจเกิดจากอุบัติเหตุที่มีการฉุดกระชากขา มักเกิดร่วมกับ ilium posterior tilt
[Anterior tilt / Posteriortilt] สังเกตขณะผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย
1. ASIS ข้างที่ dysfunction อยู่ สูงกว่าอีกข้าง
>> แสดงว่าข้างนั้น iliosacral joint ติดอยู่ในลักษณะ posterior innominate rotation
2. ASIS ข้างที่ dysfunction อยู่ ต่ำกว่าอีกข้าง
>> แสดงว่าข้างนั้น iliosacral joint ติดอยู่ในลักษณะ anterior innominate rotation
- กล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดแรงดึง posterior innominate rotation ได้แก่ biceps femoris (อาจเชื่อมไปยัง sacrotuberous ligament)
- กล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดแรงดึง anterior innominate rotation ได้แก่ rectusfemoris, iliacus และ ITB/TFL complex
ภาพที่ 11 rotational force of innominate bone
1. Seated forward flexion test for sacroiliac joint dysfunction (SIJ) - sacral torsion assessment https://www.youtube.com/watch?v=KF92Z7P81iQ
โฆษณา