Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Maya history world
•
ติดตาม
18 ธ.ค. 2022 เวลา 01:00 • ประวัติศาสตร์
ตำนานการสร้างพระพุทธรูป 3 พี่น้อง พระเสริม พระสุก พระใส ของอาณาจักรล้านช้างในอดีต
หากกล่าวถึง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเจ้า มหาราชลาวได้มีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ที่ทรงสร้างพระใหญ่องค์ตื้อไว้ที่เมืองเวียงจันทน์ โดยพระราชธิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระธิดาเสริม พระธิดาสุก และพระธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์
เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ ซึ่งพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้น ก็คือ พระสุก พระเสริม พระใส ซึ่งพระเสริม พระสุก พระใส หล่อขึ้นจากทองสีสุก ( โลหะสำฤทธิ์ที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก ) เมื่อราวปี พ.ศ. 2109
8
ตามที่เล่าขานกันมาในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้น พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองก็ยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ก็ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร แต่วันนั้นญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว
1
แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์ พระธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์สุดท้อง
1
ภายหลังสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปลาวล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักรล้านช้างและต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว
แต่เดิมนั้น พระสุก พระเสริม พระใส ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของกรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระ เจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ ชาวเมืองเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ หลบหนีภัยสงครามเมื่อสงครามสงบจึงอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์
ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา ข้าราชการสยามเบียดเบียนชาวข่าจับมาเป็นทาส ได้ความเดือดร้อนหลายครั้ง เจ้าอนุรุทรเวียงจันทน์ ตั้งพระทัยจะประกาศอิสระภาพจากสยาม เกิดเป็นศึกใหญ่ขึ้นระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์และเวียงจันทน์ รับสั่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (หรือสิงห์) ว่าที่สมุหนายก เป็นแม่ทัพใหญ่ยกมาทำศึก
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นแม่ ทัพไปปราบ และในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาจากเมืองเวียงจันทน์หลายองค์ เช่น พระบาง พระแทรกคำ พระฉันสมอ พระสุก พระเสริม พระใส พระแก่นจันทน์ พระสรงน้ำ และพระพุทธรูปอื่นๆ และอัญเชิญพระบาง พระแทรกคำ และพระฉันสมอไปกรุงเทพฯ พระเสริม และพระ ใสให้ประดิษฐานไว้ที่หนองคาย ส่วนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ นั้น ให้ก่อพระเจดีย์ที่ค่ายหลวงเมืองพันพร้าว เป็นที่ประดิษฐาน เรียก เจดีย์ปราบเวียง
หลังจากเสร็จศึกแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชาให้อัญเชิญ พระสุก พระเสริม พระใส ข้ามโขงมาไว้ที่หนองคาย ขณะที่อัญเชิญพระพุทธรูป 3 องค์ลงแพข้ามมานั้น พอถึงปากน้ำงึมเกิดพายุใหญ่ พระสุกได้แหกแพจมลงในแม่น้ำโขงพร้อมทั้งแท่นที่ประดิษฐาน บริเวณเวิ้งน้ำแห่งหนึ่ง (ต่อมาเวิ้งน้ำนี้ถูกเรียกว่า บ้านเวินสุก) ได้แต่พระเสริมกับพระใสมา
2
เฉพาะการอัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใส จากเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปที่ภูเขาควาย จึงนำ ขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง เมื่อถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย) เกิดพายุพัดแท่นที่ประดิษฐานพระสุกจมน้ำ สถานที่นั้นต่อมาเรียกว่า “เวินแท่น” และในที่ใกล้ๆ กันองค์ พระ สุกก็จมหายไปในแม่น้ำโขงด้วยและ
สถานที่ตรงนั้นต่อมาจึงเรียกว่า “เวินพระสุก” หรือ “เวินสุก”
ส่วนพระเสริมและพระใสได้อัญเชิญมา ถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ) ต่อมาเมื่ออัญเชิญพระเสริมและพระใสไปกรุงเทพฯ นั้นเกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้า วัดโพธิ์ชัยชาวบ้านจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทนพระเสริม ซึ่งอัญเชิญไปกรุงเทพฯ
จากหลักฐานในชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากเมืองหนองคาย ไปประดิษฐานยังพระบวรราชวัง ตั้งพระทัยว่าจะประดิษฐานเป็นพระประธานในวัดบวรสถานสุทธาวาส พุทธศักราช ๒๔๐๑ เมื่อสร้างวัดปทุมวนารามเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในพุทธศิลปะล้านช้าง จึงได้อัญเชิญพระเสริมจากรพะบรมราชวัง ประดิษฐานในพระวิหารวัดปทุม วนารามสืบมา
และต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นายเหม็น บุตรเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ไปอัญเชิญพระใสจากเมืองหนองคาย มาประดิษฐานที่วัดปทุมวนารามที่ทรงสร้าง ในครั้งนั้นนายเหม็นได้อัญเชิญพระแสนจากเมืองมหาไชยลงมาด้วย เพราะเป็นพระศักดิ์ สิทธิ์บูชาขอฝนได้ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ใน พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานที่พระวิหารวัดปทุมวนารามคู่กับพระใส ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ
ประเพณี ในเดือน ๖ ของทุกปี บรรดาผู้มีเชื้อสายชาวล้านช้างซึ่งมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหลังใกล้เคียงจะจัดปราสาทผึ้ง และดอก ไม้ไฟมาสักการบูชาพระเสริมเพื่อความเป็นสิริมงคล
ส่วนพระสุกนั้น มีตำนานเล่าว่า ช่วงปี พ.ศ.2467 พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ ปลัดมณฑลอุดร (ต่อมาได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดร) นำนักโทษประหารคดีเด็ดขาด 8 คน ตกลงว่าหากลงงมพระสุกขึ้นมาได้ จะละเว้นโทษประหารให้ นักโทษทั้ง 8 ลงไปงมก็ได้พระสุกขึ้นจากน้ำ พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ปกปิดเป็นความลับไว้ ด้วยเกรงว่าพระสุกจะต้องถูกส่งลงไปกรุงเทพฯ
3
เนื่องจากพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์เติบโตมาจากวัดศรีธรรมหายโศก (หรือวัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร) พระอาจารย์มี คำภีโร บิดาได้บวชอยู่ที่นี่ พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ เคยอุปสมบทเป็นสามเณรที่วัดนี้ เมื่ออายุได้ 12 ปี ก่อนจะเข้ากรุงเทพฯ สอบเปรียญธรรม สึกเป็นฆราวาส
แล้วถวายตัวสนองงานใกล้ชิด สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จนได้เป็นปลัดมณฑลอุดรดังกล่าว พระยาอุดรธานีโขมสาครจึงได้นำพระพุทธรูปองค์ที่งมได้นี้กลับมาเมืองยโสธรและถวายให้กับวัดศรีธรรมหายโศก ให้ชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระคัมภีรพุทธเจ้า สนองคุณบิดา
ต่อมาได้นำเรื่องนี้เล่าถวายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จกรมพระยาฯ ได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เองใน คราวเสด็จตรวจหัวเมืองมณฑลอีสาน พร้อมทั้งทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดอโศการาม ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานชื่อใหม่เป็นวัดสร่างโศกเกษมสันต์ แล้วเปลี่ยนเป็นวัดศรีธรรมาราม คราบูรณะวัด พร้อมตั้งโรงเรียนศรีธรรมวิทยา พ.ศ.2500 ครั้งพระครูพิศาลศีลคุณ (บุญสิงห์ สีหนาโท) เป็นเจ้าอาวาส
แต่เวลาผ่านมาเกือบ 200 ปี ชาวลาวส่วนใหญ่ก็ยังคงเชื่อว่า พระสุก(พระพุทธรูปล้านช้าง) ยังอยู่ในดินแดนลาว ร่วมยุคกับพระองค์ตื้อ พระไส และพระเสิม ยังจมอยู่ในแม่น้ำโขงตรงบริเวณปากน้ำงึม ตั้งแต่ครั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดี เสร็จการศึกกรุงเวียงจันทน์ ให้อัญเชิญข้ามฝั่งเพื่อนำกลับมายังกรุงเทพฯ เมื่อ 188 ปีก่อน
แต่แท้จริงแล้ว เจ้านายฝ่ายสยามยุคหลัง ได้ให้นักโทษ 8 คนไปงมขึ้นมาอย่างเงียบๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2469 หรือ 88 ปีที่แล้ว และยังไม่ทราบความจริงว่า "หลวงพ่อพระสุก" ได้ประดิษฐานอยู่ทีวัดศรีธรรมาราม และ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดยโสธร เพราะ ทุกอย่างถูกเก็บเป็นความลับสุดยอด ก่อนจะถูกเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้
ทำให้เรื่องราวตำนานปฏิบัติการลับพระสุก วัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ในวงสนทนาของผู้ที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์โบราณคดี จนถึงปัจจุบันนี้
มากันว่าดูพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานที่ลาวในสมัยก่อน ก่อนที่จะได้มีการถูกเชิญมายังไทยหลังจากที่มีการรบชนะศึกหรือนามาบรรณาการ เท่าที่ศึกษาในเบื้องต้อนนั้นเห็นจะมี พระบาง พระแก้วมรกต พระสุก พระเสริม พระใส พระแสน พระสายน์(พระใส) พระแทรกคำ พรฉันสมอ และพระพุทธอื่นๆ แต่ในภายหลังได้มีการอัญเชิญพระบางกลับไปประดิษฐานที่หลวงพระบางดังเดิม
2
มาดูกันว่าพระพุทธรูปแต่ละองค์จะมีความงดงามมากแค่ไหน แล้วระดิษฐาน ณ ที่ใดบ้างในประเทศไทย
พระเสริม (ພຮະເສີມ) เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างเวียงจันทน์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนบัลลังก์แอวขัน ปางมารวิชัย พระเกตุโมลีเป็นเอกลักษณ์โดยมีเส้นเปลวพระรัศมีเรียวและปลายม้วน หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามโดดเด่นมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
พระเสริม
พระแสน (พระแสนมหาชัย) ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
พระแสน
พระสายน์ (พระใส) ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
พระสายน์ (พระใส)
พระใส หลวงพ่อพระไส เป็นอีกองค์หนึ่งที่ข้ามมายังฝั่งนี้ แต่ไม่ยอมมากรุงเทพฯ ทำเกวียนหักหลายเล่ม เล่มแล้วเล่มเล่า จึงต้องให้ประดิษฐานอยู่วัดโพธิ์ชัย หนองคาย มาจนทุกวันนี้
พระใส
พระบาง หรือพระบางพุทธลาวัลย์ (ພຣະບາງພຸທລາວັນ) หรือ พระบาง (ພຣະບາງ) เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ปัจจุบันระดิษฐานอยู่ในหวงพระบาง
พระบาง หรือพระบางพุทธลาวัลย์
พระแก้วมรกต พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
พระแก้วมรกต
พระสุก พระสุกนั้นมาไม่ถึงฝั่งขวา เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ "แพแตก" ที่บริเวณปากน้ำงึม บริเวณที่เรียกกันว่า "เวินสุก" มาจนกระทั่งทุกวันนี้ และ ยังเป็นที่มาของฉายา "พระพุทธรูปแหกแพ" อีกด้วย
พระแทรกคำ หรือพระแขกคำ (หรือพระแซกคำ) ขนาด 18 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปล้านนา จากเวียงจันทน์ ซึ่งชาวลาวผู้สืบค้นกล่าวว่า หล่อจากทองแท้ทั้งองค์ ประดิษฐานที่วัดคหบดี ธนบุรี
พระสุก
พระฉันสมอ หรือพระสัน (ฉัน) หมากส้มมอ พระพุทรูปสำริดปางสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายถือหมากส้มมอ (ลูกสมอไทย) ประดิษฐานที่วัดอัปสรสวรรค์ ธนบุรี
พระฉันสมอ
พระแสนเชียงแตง (สะตึงแตร็ง) จังหวัดนี้เคยเป็นของลาว ฝรั่งเศสมอบให้เป็นของกัมพูชา ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ ประดิษฐานที่วัดรัตนาราม ธนบุรี
พระแสนเชียงแตง
พระอรุณ หรือ พระแจ้ง ประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม
พระอรุณ
พระอินแปง พระประธานวัดมหาพฤฒาราม ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร พระนครศรีอยุธยา
พระอินแปง
ประวัติศาสตร์
เรื่องเล่า
การศึกษา
4 บันทึก
6
11
4
6
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย