22 ธ.ค. 2022 เวลา 05:01 • ธุรกิจ
6 คำถาม ที่คุณต้องตอบ ทีละข้อ เมื่อคุณคิดจะสร้างของใหม่
การสร้างของใหม่ ต้องมีวิธีคิดที่ต่างจากการพัฒนาสินค้าหรือบริการเดิม
การพัฒนาของเดิม คุณอาจใช้เทคโนโลยีมาแทนคนทำให้ลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด หรือพัฒนาต่อยอดจากสิ่งเดิมที่ทำได้ดีอยู่แล้ว หรือฟีดแบคที่ลูกค้าปัจจุบันมี
ถ้าทำออกไปดี ก็โอกาสที่จะสำเร็จก็ค่อนข้างสูง
แต่การสร้างของใหม่ นั้นมีความเสี่ยงเยอะกว่านั้นมาก
เพราะถ้าเป็นของใหม่จริงๆ คือยังไม่เคยมีใครในตลาดทำมาก่อน
แม้แต่ลูกค้าก็อาจบอกคุณไม่ได้ว่า ไอเดียนี้ เขาจะเปลี่ยนมาใช้จริงหรือเปล่า เพราะนึกภาพจริงไม่ออก
ตัวอย่างคลาสสิคคือ ถ้าเราไปถามลูกค้าในสมัยที่ยังเดินทางด้วยการขี่ม้า ว่าเขาต้องการอะไร
เขาก็จะตอบว่า ต้องการม้าที่วิ่งเร็วขึ้น
แต่ถ้าสร้างของใหม่แล้วสำเร็จ ก็จะเป็น new S Curve เป็นธุรกิจใหม่ให้กับบริษัท
หรือถ้าทำสตาร์ทอัพ ถ้าสำเร็จ ก็จะเป็นบริษัทที่โตเร็วมากๆ
การสร้างของใหม่ จึงต้องมีวิธีคิดและกระบวนการที่ต่างจากการพัฒนาสินค้าหรือบริการเดิม
โลกยุคนี้ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ก็เปิดโอกาสให้ การสร้าง Product ใหม่ และออกสู่ตลาด ทำได้รวดเร็วและต้นทุนถูกกว่าแต่ก่อนมาก
และโลกยุคนี้ยังมาพร้อมกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และเมกะเทรนด์ใหม่ๆ ที่มาพร้อมโอกาสทางธุรกิจ
.
จากที่ผมทำโปรเจคสร้างของใหม่มาหลายอัน และได้ศึกษาจากหนังสือนวัตกรรมชั้นนำ
ผมมอง
การสร้างของใหม่ เป็นกระบวนการ ที่มี 6 ขั้นตอน
ไม่ว่าจะเป็นทำนวัตกรรมในองค์กรใหญ่ หรือทำสตาร์ทอัพของตัวเอง
ก็ล้วนแต่เจอความท้าทายตามลำดับตามนี้หมด
.
1. อยากแก้ปัญหาอะไร หรืออย่างน้อยก็รู้ว่าอยากสร้างอะไร
หรือถ้าอยากสร้างของใหม่ แต่ไม่มีไอเดีย จะหาไอเดียอย่างไร
.
2. กลุ่มเป้าหมายคือใคร และ พวกเขามีปัญหานั้นจริงๆหรือเปล่า
เวลาคุณเจอไอเดียใหม่ๆ
ตอนแรกคุณอาจจะรู้สึกว่ามันเจ๋ง คิดดูแล้วมันน่าทำมาก ลูกค้าน่าจะชอบ
แต่ขั้นแรกที่คุณต้องทำ คือพิสูจน์ว่า ลูกค้าต้องการมันจริงๆหรือเปล่า
โดยเริ่มจากว่า สิ่งที่คุณจะแก้ปัญหาให้ลูกค้านั้น ลูกค้าคิดว่าเป็นปัญหาหรือเปล่า
ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะสิ่งที่คุณคิด กลุ่มเป้าหมายอาจไม่ได้คิดแบบเดียวกัน
เพราะถ้ามันไม่ใช่ปัญหา ต่อให้สร้างมาดีแค่ไหน กลุ่มเป้าหมายก็ไม่ใช้
ดังนั้นเริ่มจากปัญหาก่อน ยังไม่ต้องสนใจไอเดีย
ถ้าสรุปแล้ว กลุ่มเป้าหมายไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา ก็เริ่มมองหาปัญหาอื่นหรือกลุ่มเป้าหมายใหม่
.
3. ไอเดียที่จะแก้ปัญหาให้ดีกว่าปัจจุบัน 10 เท่า มีอะไร เป็นไปได้บ้าง
.
4. ทดสอบไอเดียอย่างไร ให้รู้เร็วสุดว่า จะเวิร์กหรือเปล่า
ในขั้นนี้ คุณจะได้เจอว่า ในสิ่งที่จะทำ ยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณไม่รู้
คุณอาจจะเจอว่า มีคู่แข่งทำแบบเดียวกับที่คุณคิดเลย หรือมีคนเคยทำแบบเดียวกัน แต่ไม่เวิร์ก
หรือเจอว่า สิ่งที่คิดมา ซึ่งดีกว่าคู่แข่ง แต่ในมุมลูกค้าก็ยังไม่ต่าง
หรือเจออุปสรรคด้านกฎระเบียบ หรือพาร์ทเนอร์ ที่ทำให้การทำสิ่งนี้ให้เกิดแทบจะเป็นไปไม่ได้
เพราะถ้ามันง่าย คนอื่นก็ทำไปแล้ว
มันมีหลายวิธีมากที่จะทดสอบไอเดีย โดยที่ยังไม่ต้องสร้างจริง ไม่ต้องให้ Engineer ทำขึ้นมา
ถ้ายังไม่มั่นใจว่ากลุ่มเป้าหมายจะใช้และซื้อจริง ก็คิดหาวิธีใหม่
หรือถ้าไม่มีจริงๆ ก็เริ่มมองหาปัญหาอื่นหรือกลุ่มเป้าหมายใหม่
และไม่ใช่แค่ทดสอบว่าลูกค้าจะใช้และจ่ายจริงหรือไม่ แต่คุณต้องวิเคราะห์ทดสอบด้านธุรกิจด้วยว่าตลาดมันใหญ่พอหรือเปล่า และคุณจะชนะคู่แข่งได้อย่างไร
.
5. จะสร้าง MVP1 อย่างไร เพื่อออกสู่ตลาดให้เร็วที่สุด
ถ้าทดสอบแล้ว กลุ่มเป้าหมายสนใจ น่าจะใช้จริง
คุณต้องสร้างให้เร็วและน้อยที่สุด เพื่อรีบลอนช์ออกไปให้ลูกค้าใช้จริง
เพราะสิ่งที่ลูกค้าบอก อาจไม่ใช่สิ่งที่เขาทำจริง
6. ลอนช์แล้ว ฟีดแบคเป็นอย่างไร ต้องปรับเปลี่ยนอะไร เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าจริงๆและธุรกิจโต
ต่อให้คุณเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ทำการทดสอบมาดีแค่ไหน
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เวลาลอนช์ของใหม่ เวอร์ชั่นแรกออกไป แล้วมีลูกค้าใช้จริง คือจะมีสิ่งไม่เวิร์ก สิ่งที่ไม่คาดฝัน สิ่งที่ต้องปรับ
เพราะสำหรับลูกค้าแล้ว มันยากมากที่เขาจะบอกได้ 100% จนกว่าจะได้ใช้จริง
สิ่งที่คุณต้องทำคือ รีบปรับ รีบวัดผล รีบเรียนรู้ และรีบปรับพัฒนาไปเรื่อยๆ
.
ข่าวดีคือ ผมกำลังจะออกหนังสือ!!!
ที่รวบรวมเอา เทคนิค, วิธีคิด, บทเรียน ที่ผมได้จากการศึกษาเรื่องนี้จาก หนังสือด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพชั้นนำ และนำไปใช้จริง จากประสบการณ์สร้าง Product ใหม่ นับไม่ถ้วนของผม
กลั่นกรองออกมาเป็น คู่มือที่จะช่วยให้คุณ มีวิธีคิดและวิธีทำ ในแต่ละสเตป
เวลาพูดถึงนวัตกรรม หรือการสร้างของใหม่ คุณอาจจะนึกถึง Design Thinking และ Lean Startup ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคิดและสร้างนวัตกรรม
แต่สิ่งที่ผมจะเล่าจะเน้นไปที่ว่า พอลงไปทำจริง ในแต่ละขั้นตอน จะเจอความยากอะไร อะไรเวิร์ก ไม่เวิร์ก
.
ถ้าใครสนใจ ฝากลงชื่อในคอมเมนท์ครับ
จะได้แจ้งข่าวสาร ให้ได้รับรู้เป็นคนแรก
โฆษณา