24 ธ.ค. 2022 เวลา 11:14 • ประวัติศาสตร์
"เฉลว" ใครหลายคนอาจไม่รู้จักเฉลวที่เป็นความเชื่อของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เฉลวถูกใช้ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกหรือสัญลักษณ์
เฉลวนั้นมีการใช้งานที่หลากหลายในแต่ละบุคคลจะนำไปใช้ เช่น ใช้เฉลวปักลงบนหม้อยาเพื่อทำให้ยานั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือมิให้ภูติผีมาข้ามซึ่งอีกนัยหนึ่งการปักเฉลวลงบนหม้อยานั้นเพื่อป้องกันมิให้มีคนมาเปิดหม้อยาจนทำให้ยาเสื่อมสภาพ
เฉลว
หรือใช้เฉลวปักลงบนเครื่องเซ่นพลีตามทางแยกหรือริมถนนเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายบอกให้ภูติผีวิญญาณมารับเครื่องเซ่นดังกล่าว
เฉลวหน้าวัวมักปักไว้ทั้งสี่มุมของลานนวดข้าวแล้วขึงสายสิญจน์ไว้โดยรอบก่อนการทำบุญลานนวดข้าวเพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคลและใช้ในพิธีกรรมอยู่ไฟหลังคลอดอีกด้วย
เฉลวนั้นที่มีแฉกไม่เท่ากันเพราะมีการเสกคาถาอาคมลงอักขระที่แตกต่างกันคือ เฉลว 3 แฉกจะลงอักขระ "มะ อะ อุ" หมายถึงขอใช้อำนาจพระผู้เป็นเจ้าทั้ง 3 ประสานพรให้หายจากการป่วยไข้
เฉลว
เฉลว 5 แฉก ลงอักขระพระเจ้า5 พระองค์ คือ " นโม พุท ธา ยะ" ส่วนเฉลว 8 แฉก ลงอักขระคือ "อิติปิโส" แปดทิศจึงเปรียบเสมือนเป็นยันต์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับป้องกันสิ่งชั่วร้าย เสนียดจัญไรมิให้กล้ำกลายหรือป้องกันจากคาถาอาคมและภูติผีปีศาจ
ในภาคเหนือจะเรียกเฉลวแตกต่างจากที่อื่นคือ "ตาเหลว" หรือ "ตาแหลว" เนื่องจากมีการใช้เฉลวเพื่อปักลงบนหม้อยาในอดีตจนเห็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง
เฉลว จึงถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในตราของสภาการแพทแผนไทยโดยมีการให้ความหมายดังนี้ "เฉลว หมายถึง ไม้จักสานที่ติดบนหม้อยา
มีความเชื่อว่าเป็นการรักษาคุณภาพของเครื่องยาสำหรับ 5 แฉกนั้น หมายถึง การเสกคาถา "นโมพุทธายะ" (พระเจ้า 5 พระองค์) ความหมายโดยนัย คือ การรักษาชีวิตคนๆหนึ่ง ต้องมอบชีวิตอย่างองค์รวมด้วยหลักขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ) โดยกำหนดให้ใช้สีเขียว
เพื่อทุกคนอยากไปลองทำก็มีวิธีการทำ เฉลว ด้วยนะคะ
เฉลว
การทำเฉยลวนั้นจะใช้ตอกขัดสานกันเป็นแฉกๆ ลักษณะเหมือนตาชะลม หรือ เข่งปลาทู มีตั้งแต่ 3 แฉก 5แฉก 6 แฉก 8 แฉก ไปจนถึง 12 แฉก แล้วเหลือปลายตอกข้างหนึ่งให้ยาวออกมาไว้สำหรับปักลงบนของที่ต้องการ
เฉลว
แล้วเพื่อนล่ะเคยไก้ยินเรื่องของ"เฉลว" บ้างหรือไม่
ผู้เขียน
พิชชา ทองขลิบ
วัสดุ
ไม้ไผ่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2532). พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2541). พจนานุกรมหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เสริมปัญญาไทย.
ราตรี โตเพ่งพัฒน์ และคนอื่นๆ. (2549). นามานุกรมขนบประเพณีไทย หมวดประเพณีราษฎร์. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ร่างข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วย ตราของสภาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaimed.or.th/wp-content/uploads/2019/06/ร่างข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย-ว่าด้วยตร.pdf . (วันที่ค้นข้อมูล : 10 กรกฎาคม 2562)
โฆษณา