26 ธ.ค. 2022 เวลา 11:02 • ข่าว
สวัสดีปีใหม่ 2566 กับค่าไฟใหม่
อ่านความจริงค่าไฟแพงมีผลกระทบอะไรบ้างกับเราเพราะค่าไฟขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายประชาชนพุ่งขึ้นเกินรายได้ หนี้ครัวเรือนจะโตตาม เราควรรู้ความจริงค่าไฟขึ้นเพราะอะไรกันแน่ และมีสาเหตุกระทบอะไรบ้าง
ตั้งแต่ 1 มค 2566 ค่าไฟจะปรับขึ้นจาก 4.72 บาทเป็น 5.69 บาทต่อหน่วย
จาก4.18 ปี2565 ขึ้นมา 5.69 หรือ 23%
ปีหน้า2566 เป็นปีที่ทุกคนจับตามองการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นทุกพรรค การเมืองมีนโยบายที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นแรงงานขั้นต่ำ ที่บัฟกันตั้งแต่เริ่มหรือประเด็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ แต่สำหรับผมสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือไม่มีพรรคไหนพูดถึงปัญหาด้านพลังงานโดยเฉพาะเรื่องค่าไฟที่จะปรับขึ้นในปีหน้า
ทราบไหมครับว่าค่าไฟที่ฟุ่งขึ้นมีผลกระทบอะไรบ้าง หลักการคำนวณง่ายๆ ค่าไฟขึ้น 1% ทำให้ต้นทุนทางภาคธุรกิจสูงขึ้น 0.024% เป็นอย่างน้อย แต่จะมากขึ้นไปอีกในธุรกิจที่พึ่งพาพลังงานไฟฟ้ามากๆเช่นโรงงานน้ำแข็งที่มีต้นทุนพลังงาน30% และสิ่งทอ 11% ที่ส่งผลไปที่สินค้าหลายประเภท นอกจากนี้ธุรกิจโรงแรม สถานบันเทิง โรงพยาบาล เป็นต้น ลองคิดง่ายๆสิครับว่าใครรับภาระ ก็ผู้บริโภคครับ
ผมไม่ต้องการนโยบายการแบ่งเบาภาระต่างๆที่ภาครัฐในวันนี้และวันหน้าเอามาช่วยเหลือเพราะมันก็ภาษีที่ควรเอาไปทำประโยชน์พัฒนาประเทศชาติต่อไป รัฐบาลควรมีความจริงจังและจริงใจต่อประชาชนในการแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะการสร้างความชัดเจนถึงที่มาของปัญหาทำไมเราถึงต้องขึ้นค่าไฟขนาดนี้ไม่ใช่นำปัญหา ที่ไม่ได้มีผลมากนัก มาแสดงว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟขึ้นทั้งที่จริงๆแล้วเราควรจะพูดถึงนโยบายที่ผิดพลาดในการบริหารจัดการระบบไฟสำรองของประเทศ
ในประเด็นทางเศรษฐกิจภาพรวมจากการ ปรับขึ้นค่าไฟมีหลายประเด็นที่น่าสนใจผมขอยก 2 ประเด็นหลักๆดังนี้
1. การแข่งขันในตลสดโลกขออุสาหกรรมไทย
2. ภาวะเงินเฟ้อ ทั่วโลกแข่งขัน การแก้ปัญหาเพื่อหยุดภาวะเงินเฟ้อแต่การขึ้นค่าไฟขนาดนี้กับอุตสาหกรรมไทยเป็นการเร่งให้เกิดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศเพราะเมื่อต้นทุนมากขึ้นราคาสินค้าต่างๆของเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
3. การลงทุนจากต่างชาติ
ประเด็นแรกเรื่องเศรษฐกิจ เมื่อนำค่าไฟอัตราใหม่ไปเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าคู่แข่งอะไรคู่แข่งทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งผลิตวัตถุดิบหรือสินค้าใกล้ใกล้การส่งไปในตลาดเดียวกันอัตราค่าไฟของสองประเทศคู่แข่งหลักหลักคือเวียดนามและอินโดนีเซียอยู่ที่
เวียดนาม 2.85 บาท ต่อหน่วย
อินโดนีเซีย ประมาณ 3 บาทกว่าๆ
เรียกว่าเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตแค่เปิดโรงงานมาใครจ่ายก็สู้เขาไม่ได้แล้วเราจะไปทำตลาดแข่งกับอีกสองประเทศได้อย่างไรโดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง เพราะคู่ค้าคงไม่สามารถรับราคาใหม่ได้ถ้าเราไปบอกว่าเพราะค่าไฟเราเพิ่มขึ้นจึงขอขึ้นราคาในขณะที่คู่แข่งไม่มีความจำเป็นต้องขึ้นราคาหรือใช้โอกาสขึ้นราคาตามที่ประเทศเรามีความจำเป็นต้องขึ้นทำให้เขาได้กำไรมากขึ้นและกอบโกยกำไรได้มากกว่าประเทศไทย
ประเด็นนี้ดูแค่การแข่งขันการส่งออกนะครับถ้าเรามองปัจจัยในแง่ฐานการผลิตไม่ว่าจะไปฐานการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ถ้าโรงงานมีค่าไฟที่เพิ่มขึ้นแน่นอนต้นทุนการผลิตของเค้าก็ต้องขึ้นตามแค่นี้ยังย้ายไปเวียดนามหรือประเทศเพื่อนบ้านไม่พอหรอครับ
ภาคอุตสาหกรรมไทยพ่ายแพ้ในการแข่งขันแน่นอนถ้าต้องแบบภาระขนาดนี้เพราะไม่ใช่ภาระของการที่ค่าไฟขึ้นตามปัจจัยที่ทั้งโลกกำลังเจอ ไม่ว่าจะเป็นภาวะสงครามยูเครนรัสเซีย, ค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น หรือภาวะเงินเฟ้อนะครับ แต่เป็นปัญหาการจัดของเราเอง
นี่แหละครับผลกระทบหลักๆที่ทุกคนมองไม่เห็นเพราะเราพยามคิดแค่ว่าค่าไฟของเราก็ยังจ่ายเพิ่มไม่เท่าไหร่จาก 4บาทเป็น 5 บาทแต่ภาพรวมจริงๆแล้วกระทบมากกว่านั้นปี 2565 อัตราความสามารถทางการแข่งขันทางธุรกิจของเราตกลงมา จากอันดับที่ 28 ในปี2564 มาเป็น 33 และนั้นแน่นอนมาจากค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานอย่างพลังงาน ปีหน้า เราจะตกอีกไหมก็พอเดาได้ไหมครับ
ภาวะเงินเฟ้ออันนี้ไม่พูดถึงไม่ได้เพราะใกล้ตัวสุดสุดโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆมีไฟฟ้าเป็นพื้นฐาน ดังนั้นปีหน้าค่าใช้จ่ายก็ขึ้นอีกแน่นอนไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารวัตถุก่อสร้างสิ่งรอบตัวทุกอย่างผมมองไว้ห้าถึง 15% มีหน้าขึ้นอยู่กับว่าสินค้าไหนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอะไรบ้างเอาง่ายง่ายเลยค่ะน้ำแข็งขึ้น ลองคิดดูสิครับว่าค่าน้ำแข็งขึ้นมีอะไรบ้างกระทบ ง่ายง่ายเลยกาแฟ ชานมไข่มุกก็คงต้องขึ้นตามแน่นอน ห้างสรรพสินค้าก็ต้องเก็บค่าเช่าที่หรือเก็บอัตราค่าไฟเพิ่มขึ้นมันก็กระทบเราตรงตรงอยู่ดีเพราะเงินเดือนเราไม่ขึ้นตาม
มาดูสถานการณ์โลก โอกาสอันดีที่ทุกคนจ้องจับเป็นชิ้นปลามันหลังจากนักลงทุนต่างชาติพยายาม ย้ายฐานการผลิตจากจีนมา บ้านเราโดยมีเวียดนามเป็นคู่แข่งหลักเจอค่าไฟใหม่เข้าไปคงสะอึกและทบทวนเรียกได้ว่าขาดเสน่ห์ไปเลย เมื่อไม่มีนักลงทุนมาเปิดโรงงานระยะทางการผิดเข้ามาอัตราการว่างานการจ้างงานก็ลดต่ำลงนี่แหละครับก็กระทบเราแบบไม่ต้องคิดมากอัตราการว่างานจะเพียงพอกับจำนวนแรงงานในปัจจุบันหรือไม่
ไม่ต้องถึงขนาดให้มาซื้อถือครองที่ดินแล้วครับเอาแค่เพิ่มความสามารถทางการแข่งขันก็พอเขาก็ย้ายฐานการผลิตหรือมีความสนใจเข้ามาประเทศไทยแล้วเพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในเมืองน่าอยู่ตาก็ต้องทำให้เขาประสบความสำเร็จทางธุรกิจด้วยไม่ใช่ว่ามาอยู่ประเทศไทยซื้อที่ซื้ออะไรกันแต่มีโรงงานอยู่เวียดนามและอินโดนีเซีย
ไม่ต้องให้ที่ดินมาสร้างแรงจูงใจให้มาลงทุนครับ
ที่นี้ไหนละครับที่ท่านนักการเมืองหลายหลายคนอยากช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนไม่ต้องค่าแรงขั้นต่ำหรือนโยบายรัฐนิยมอะไรขนาดที่พวกท่านอยู่ในสภาตอนนี้ไม่ต้องรอเลือกตั้งรอบหน้าโชว์ศักยภาพและแนวคิดออกมากันบ้างนะครับ การแก้ปัญหาเรื่องค่าไฟระยะยาว
บทความหน้าผมจะมาพูดถึงวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจและต้องให้ภาครัฐเป็นตัวแทนประชาชน
โฆษณา