26 ธ.ค. 2022 เวลา 11:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ

"เซมิคอนดักเตอร์" ธุรกิจแห่งอนาคต ที่พร้อมแบกทวีปเอเชีย

เมื่อพูดถึงเซมิคอนดักเตอร์ เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินถึงความสำคัญที่มีต่อโลกในยุคปัจจุบัน และอนาคตว่าเป็นอย่างไร และทำไมหลายประเทศถึงมองว่าเซมิคอนดักเตอร์ นี้จะมีค่ายิ่งกว่าทองคำในอนาคต
เซมิคอนดักเตอร์จริง ๆ แล้วคืออะไร ?
เซมิคอนดักเตอร์ คือสารกึ่งตัวนำ ที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้า พร้อม ๆ กับการเป็นฉนวนในเวลาเดียวกัน และด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ จึงทำให้เซมิคอนดักเตอร์มักถูกนำไปใช้ในการผลิตชิป และแผงวงจร ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าอย่างคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเครื่องมือทางการทหาร เป็นต้น
เอเชีย ดินแดนแห่งการถือครองเซมิคอนดักเตอร์
เคยสงสัยบ้างหรือไม่ ว่าทำไมทวีปเอเชียถือเป็นทวีปที่เป็นเบอร์หนึ่งในด้านนี้
หนึ่งในเหตุผลสำคัญ คือการถือครองสัดส่วนตลาดของทวีปเอเชียในช่วงปี พ.ศ. 2564 ที่ทวีปเอเชียมีส่วนแบ่งในตลาดการผลิตชิปที่รวมกันทั่วทั้งโลกเกือบถึง 90% ตามการอ้างอิงของ TrendForce เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565 โดย 3 อันดับแรกแบ่งเป็น ไต้หวัน 64% เกาหลีใต้ 18% และจีน 7%
นอกจากนี้ ตามการอ้างอิงของ Market Research Report ของ Fortune Business Insights เมื่อช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ขนาดตลาด (Market Size) ของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในทวีปเอเชียนั้น ยังมีมูลค่ารวมกันที่สูงถึง 2.89 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาอีกด้วย
1
และถ้าเจาะลึกลงไปถึงบรรดาบริษัทที่ถือครองส่วนแบ่งตลาดเซมิคอนดักเตอร์มากที่สุดในโลก เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2564 ตามการอ้างอิงของ TrendForce เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2565 ก็จะพบว่าบริษัทที่ถือครองส่วนแบ่งมากที่สุดในโลก ก็คือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ “TSMC” จากไต้หวัน ที่ถือครองส่วนแบ่งการตลาดเอาไว้ถึง 53% จากทั่วทั้งโลกในปี พ.ศ. 2565
1
และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัท Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็ได้ลงทุนกับ TSMC ไปถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการรายงานของ Bloomberg
เซมิคอนดักเตอร์ จะยังเติบโต และไปต่อได้อีกนานไหม?
หากในชีวิตประจำวันของเรายังคงต้องขับรถไปทำงาน เล่นโทรศัพท์มือถือ ทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ และแล็ปท็อป หรือแม้กระทั่งการที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ก็เป็นที่แน่นอนว่าเซมิคอนดักเตอร์ จะยังคงมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของผู้คนต่อไป
1
ซึ่งไม่ใช่แค่ในภาคประชาชนเพียงเท่านั้นที่จำเป็นต้องใช้งานเซมิคอนดักเตอร์ต่อไปในระยะยาว แต่ในระดับมหภาคเอง ก็ยังคงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการครอบครอง และการนำมาใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบรรดาประเทศมหาอำนาจอย่างจีน และสหรัฐฯ ที่ต่างก็มีนโยบายทางการเมือง ที่มุ่งเน้นในการแข่งขันเพื่อครอบครองเซมิคอนดักเตอร์เช่นกัน
1
ไม่ว่าจะเป็นการที่แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้เข้าพบกับประธาน TSMC เพื่อพูดคุย และหารือเกี่ยวกับกฎหมาย CHIPS Act ระหว่างช่วงที่แนนซี ได้มาเยือนไต้หวันเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาตามการอ้างอิงของ Nikkei Asia เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
1
ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่มีการพูดคุย คือการจำกัดการลงทุนในประเทศจีน สำหรับบริษัทที่ได้รับเงินจากทางสหรัฐฯ รวมถึงความกังวลต่อการเข้าครอบครอง TSMC โดยประเทศจีน เป็นต้น
ซึ่งนั่นจึงทำให้จีนเองได้ออกมาประณามสหรัฐฯ ผ่านแถลงการณ์โดยตรงจากกระทรวงการต่างประเทศของจีน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ว่าการกระทำครั้งนี้ ถือเป็นการละเมิดต่อหลักการ “จีนเดียว” (One-China) ซึ่งถือเป็นการละเมิดทางอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนประเทศจีนอย่างร้ายแรง
1
และล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ตามการรายงานของ Bloomberg ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ คืออีก 2 ประเทศที่ได้ร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการควบคุมการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ไปยังประเทศจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการทำสงครามทางเทคโนโลยี อันมีจุดประสงค์หลักคือการแย่งชิง และถือครองทรัพยากรเซมิคอนดักเตอร์ในระยะยาวได้เป็นอย่างดี
1
นอกเหนือจากนโยบายทางด้านการเมือง การขยายตัวของ TSMC ที่มีแผนทางธุรกิจในอนาคตอย่างการเตรียมผลิตชิปรุ่นใหม่ ที่มีการใช้เทคโนโลยี 4-nanometer ภายในปี พ.ศ. 2567 ตามการอ้างอิงของ Bloomberg เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ก็ถือเป็นอีกปัจจัยที่ต่างยืนยันว่า ตลาดของเซมิคอนดักเตอร์จะยังคงมีการเติบโต และพัฒนาต่อไปอีกอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
1
การลงทุนระยะยาวกับเซมิคอนดักเตอร์
แน่นอนว่าด้วยปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในด้านการเกิดใหม่ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังคงเป็นที่ต้องการของผู้คนทั่วโลก การเติบโตของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในเอเชีย นโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่เน้นย้ำในด้านการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ หรือการสานสัมพันธ์อันดีกับประเทศจากทวีปเอเชียที่มากขึ้นของมหาอำนาจ จึงทำให้ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในเอเชีย ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าลงทุนระยะยาว จากโอกาสในการเป็นคอมมิวนิตีแห่งเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ของโลก
2
ฉะนั้น สำหรับการลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างผลกำไร หนึ่งในคำแนะนำสำคัญคือการเลือกลงทุนกับธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต อย่างตลาดเซมิคอนดักเตอร์จากทวีปเอเชีย
ซึ่งถ้าหากว่าอยากเริ่มต้นลงทุนกับตลาดนี้ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะลงทุนในรูปแบบไหน KTAM ขอแนะนำกองทุนเปิดเคแทม เอเชีย โกรท อิควิตี้ ฟันด์ ทั้งชนิดสะสมมูลค่า (KT-ASIAG-A) และชนิดเพื่อการออม (KT-ASIAG-SSF)
เพราะกองทุนเปิด KT-ASIAG-A และ KT-ASIAG-SSF มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน JPMorgan Funds - Asia Growth Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน Class I (USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
2
ทั้งนี้ กองทุนหลักจะลงทุนอย่างน้อย 67% ของ NAV ในตราสารทุนของบริษัทที่มีภูมิลำเนา หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักในทวีปเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) รวมถึงตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
*ข้อมูลของกองทุนล่าสุด เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565
แล้วทุกคนคิดว่าเซมิคอนดักเตอร์ จะมีบทบาท และถูกต่อยอดความสำคัญต่อไปอย่างไรในอนาคตกันบ้าง ?
ถ้าหากว่ายังคิดไม่ออก อย่างน้อยก็ลองมาเริ่มต้นลงทุนกับคอมมิวนิตีแห่งเซมิคอนดักเตอร์ อย่างทวีปเอเชียกับ KT-ASIAG-A สำหรับผู้ที่ต้องการสะสมมูลค่า และ KT-ASIAG-SSF สำหรับผู้ที่ต้องการโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ไปพร้อมกับการลดหย่อนภาษีก่อนได้เช่นกัน
พิเศษสุด❗️
1
ลงทุน RMF หรือ SSF กับ KTAM (ยกเว้น RMF2, RMF3, RMF4, KTSTPLUS-SSF และ KTFIXPLUS-SSF) รับหน่วยลงทุนกองทุน KTSTPLUS มูลค่า 100 บาท
เมื่อมียอดลงทุนสุทธิทุก ๆ 50,000 บาท (สำหรับการชำระทุกช่องทาง)
สามารถชำระผ่านบัตรเครดิต KTC ได้ และพิเศษสามารถใช้คะแนน KTC FOREVER ทุก 1,000 คะแนน แทนเงินลงทุน 100 บาท
(ระหว่างวันที่ 4 มกราคม - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565)
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet ของกองทุนเปิด KT-ASIAG-A สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://bitly.ws/xRrV
และสำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet ของกองทุนเปิด KT-ASIAG-SSF สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://bitly.ws/vveZ
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
คำเตือน:
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้
กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
โฆษณา