1 ม.ค. 2023 เวลา 12:00 • การตลาด
รู้จักกลยุทธ์ “เค้ก 3 ชั้น” ที่ช่วยให้ Swatch กลายเป็น อาณาจักรนาฬิกายักษ์ใหญ่ของโลก
เชื่อหรือไม่ว่า แบรนด์นาฬิกาสวิสชื่อดังอย่าง Omega, Longines, Mido, Rado, Tissot และอีกหลายแบรนด์
เคยประสบปัญหาด้านยอดขายอย่างหนัก จนเกือบต้องขายกิจการ ให้กับบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วครั้งหนึ่ง..
1
แต่สุดท้ายทั้งหมดก็ไม่ได้เกิดขึ้น.. แถมนาฬิกาสวิส ยังสามารถกลับมายิ่งใหญ่ได้สำเร็จจนถึงปัจจุบัน
1
ปาฏิหาริย์นี้ เกิดขึ้นได้จากชายที่ชื่อว่า “คุณ Nicolas Hayek” เจ้าของและผู้ก่อตั้ง Swatch Group
ที่เขานำกลยุทธ์ “เค้ก 3 ชั้น” มาใช้กำหนดทิศทางการตลาด และเข้ามากู้วิกฤติครั้งนั้นไว้ได้
แล้วเรื่องราวเป็นอย่างไร ?
เค้ก 3 ชั้น เกี่ยวอะไรกับนาฬิกา ?
MarketThink จะขออาสาพาทุกคนย้อนเวลาไปดูประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของโลกนาฬิกาไปด้วยกัน..
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2517 แบรนด์นาฬิกาสวิส ต้องเผชิญกับวิกฤติที่ไม่เคยเจอมาก่อน
1
นั่นคือการมาของแบรนด์นาฬิกาญี่ปุ่น อย่าง Casio และ Citizen
ที่ทั้งบางกว่า, ถูกกว่า แถมยังบอกเวลาได้แม่นยำไม่แพ้กัน
มาชิงส่วนแบ่งการตลาดจากนาฬิกาสวิสไปแบบมหาศาล
และวิกฤติในครั้งนั้นถูกเรียกว่า “The Quartz Crisis”
3
ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517-2526 นาฬิกาสวิส มียอดการผลิตรวมกันทั้งสิ้น 91 ล้านเรือน
ก่อนจะลดลงมาเหลือเพียง 43 ล้านเรือน โดยส่วนแบ่งการตลาดลดลงจาก 43% เหลือเพียง 15% เท่านั้น
1
พูดง่าย ๆ คือ ในช่วงเวลาเพียง 9 ปี
แบรนด์นาฬิกาญี่ปุ่น ล้มนาฬิกาสวิส ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลักร้อยปี ได้สำเร็จ
3
ตรงนี้เองที่ “คุณ Nicolas Hayek” ชาวเลบานอน ที่มาใช้ชีวิตอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ เกิดรับไม่ได้กับความตกต่ำครั้งนี้
ตัวเขาจึงได้รวบรวมนักลงทุน มาก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า SMH (Société de Microélectronique et d'Horlogerie)
แล้วทำการซื้อกิจการที่กำลังจะหมดลมหายใจอย่าง ASUAG และ SSIH เจ้าของแบรนด์ Omega, Longines, Tissot, Mido, Rado ในตอนนั้น เข้ามาบริหารภายใต้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “เค้ก 3 ชั้น”
2
โดยคุณ Nicolas Hayek บอกว่าที่นาฬิกาสวิสต้องตกที่นั่งลำบาก ก็เพราะว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคตอนนั้น เริ่มไม่ได้มองนาฬิกาเป็นของฟุ่มเฟือยอีกต่อไปแล้ว
แต่มองเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ต่างจากเสื้อผ้าและรองเท้า
2
ซึ่งก็คงไม่มีใครอยากซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันในราคาหลักแสนกันเท่าไร
ทำให้นาฬิกาสวิสที่มีราคาเริ่มต้นสูงลิ่ว ต้องเสียส่วนแบ่งการตลาดให้แบรนด์นาฬิกาญี่ปุ่น ที่มีราคาถูกกว่าไปเรื่อย ๆ
1
แต่ถึงอย่างนั้น จะให้นาฬิกาสวิสที่มีทั้งสตอรียาวนาน แถมมีภาพจำเป็นสินค้าหรูไปแล้ว
ยอมลดคุณภาพของวัสดุลงมาสู้กับแบรนด์ญี่ปุ่น ก็ดูเหมือนจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี
1
ตรงนี้เองที่กลยุทธ์ “เค้ก 3 ชั้น” เข้ามามีบทบาท
โดยคุณ Nicolas Hayek ได้ทำการแบ่งระดับชั้นของแบรนด์นาฬิกาที่ไปซื้อกิจการมา คล้ายกับชั้นของเค้ก
1
- เค้กชั้นบนสุด
คือ นาฬิกาแบรนด์หรู ทำหน้าที่คล้ายผลเชอร์รีด้านบนสุดของเค้ก เพื่อให้เค้กชั้นที่เหลือมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นไปด้วย
2
- เค้กชั้นกลาง
คือ แบรนด์นาฬิกาที่มีราคาขายระดับกลาง มารับหน้าที่ดึงดูดลูกค้าจากเค้กชั้นล่าง ให้อยากขยับขึ้นมาอยู่บนระดับนี้
3
- เค้กชั้นล่าง
คือ แบรนด์นาฬิการะดับเริ่มต้น ที่มีราคาเฉลี่ยถูกที่สุดในบรรดาเค้กทั้ง 3 ชั้น มาเป็นประตูที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงนาฬิกาสวิสได้ง่ายขึ้น
3
โดยคุณ Nicolas Hayek หมายมั่นให้เค้กชั้นล่าง ต้องทำยอดขายให้เกิน 90% ของทั้งบริษัทก่อน เพื่อเป็นฐานให้แบรนด์อื่น ๆ ที่อยู่ในเค้กชั้นข้างบน รอดไปด้วย
2
เพราะแม้นาฬิกาญี่ปุ่นจะแข็งแกร่ง แต่ส่วนใหญ่ก็มาจากกลุ่มลูกค้าในระดับล่าง-ปานกลางเท่านั้น
อย่างไรในตลาดกลุ่มพรีเมียม ก็ยังไม่มีแบรนด์ไหนมาสู้กับนาฬิกาสวิส ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานได้อยู่ดี
1
ดังนั้น ความท้าทายของเรื่องนี้จะอยู่ที่การแย่งส่วนแบ่งการตลาดของนาฬิกาญี่ปุ่น เพื่อมาสร้างฐานของเค้กให้ได้นั่นเอง
“Swatch” นาฬิกาพลาสติกดิไซน์ทันสมัยในราคาถูกกว่าแบรนด์ญี่ปุ่น จึงได้กำเนิดขึ้นมา..
2
เคล็ดลับของ Swatch ก็คือใช้การประหยัดต่อขนาด ของการซื้อกิจการนาฬิกาหลายเจ้ามารวมกัน
และมีการลดชิ้นส่วนภายในตัวเครื่อง จาก 90 เหลือ 51 ชิ้น ทำให้ต้นทุนถูกลงได้อีก
3
แถมด้วยคำว่า “Made from Swiss” ที่เป็นดั่งตัวการันตีคุณภาพของนาฬิกา ก็ยิ่งมีส่วนให้ผู้บริโภคเปิดใจให้แบรนด์ใหม่อย่าง Swatch ง่ายขึ้น..
1
ซึ่ง Swatch ก็ประสบความสำเร็จอย่างมากตั้งแต่เปิดตัว
โดยมียอดขายมากกว่า 3.5 ล้านเรือน ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี ยึดส่วนแบ่งการตลาดคืนจากนาฬิกาญี่ปุ่นได้สำเร็จ
2
และส่งผลให้ต่อมา เค้กทั้ง 3 ชั้นของคุณ Nicolas Hayek เสร็จสมบูรณ์จนได้..
โดยความแข็งแกร่งของกลยุทธ์นี้ ก็คือ เป็นการทำการตลาดที่ “จะไม่ยอมเสียลูกค้ากลุ่มไหนไปเลย” ไม่ว่าลูกค้าจะมีเงินมากหรือน้อย ก็สามารถเป็นลูกค้าของ Swatch Group ได้ทั้งหมด
เช่น
- ลูกค้ามีเงิน 3,000 บาท ก็สามารถเป็นเจ้าของนาฬิกา Swatch ได้
- ลูกค้ามีเงิน 30,000 บาท ก็สามารถเป็นเจ้าของนาฬิกา Mido, Rado ได้
- ลูกค้ามีเงิน 300,000 บาท ก็สามารถเป็นเจ้าของนาฬิกา Omega ได้..
11
และเค้ก 3 ชั้นที่ว่า ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นาฬิกาสวิส ยังคงยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ได้
ปัจจุบัน Swatch Group ก็จัดว่าเป็นเบอร์ต้น ๆ ของโลกนาฬิกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
1
- โดยมีมูลค่าบริษัทกว่า 482,400 ล้านบาท
- มีแบรนด์นาฬิกามากถึง 17 แบรนด์ และแต่ละแบรนด์ ก็จะทำหน้าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันในการตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม
2
- ปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา Swatch Group มีรายได้ 272,300 ล้านบาท
แต่ก็น่าสนใจว่า ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วไป (Mass) ที่มีต่อนาฬิกา ก็เริ่มจะเปลี่ยนไปอีกครั้ง
และสงครามในรอบนี้ มันไม่ได้แข่งขันกันในเรื่องของราคา หรือดิไซน์ เหมือนตอนสู้กับแบรนด์นาฬิกาญี่ปุ่นอีกแล้ว
แต่จะแข่งขันกันในเรื่องของ “นวัตกรรม” ที่ทำให้นาฬิกาทำได้มากกว่าแค่การบอกเวลา
กับสิ่งที่เรียกว่า Smart Watch ที่มีผู้นำคือ Apple นั่นเอง..
2
โฆษณา