3 ม.ค. 2023 เวลา 09:11
ฎีกาที่ 6677/2562
ตามคำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมใด ๆ ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ถึงที่ 19 ระหว่างจำเลยที่ 3 กับที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 19 ระหว่างจำเลยที่ 13 กับที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และที่ 17 ตามลำดับ อันจำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19
รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19 เป็นการกล่าวอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนหุ้นเกินกว่านี้ค่าภาษี เป็นการฟ้องโดยปราศจากหรือเกินกว่าอำนาจ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19 ได้รับความเสียหาย ฐานที่ตั้งแห่งสิทธิเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19
สืบเนื่องมาจากมูลละเมิด มิใช่เป็นข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกันสัมพันธ์กัน และต่อเนื่องกันกับคดีตามคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคสาม ดังที่จำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19 กล่าวอ้างในฎีกาแต่ประการใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19 ไว้พิจารณา
และสั่งให้จำเลยที่ 11 ที่ 14 ที่ 16 และที่ 19 ฟ้องเป็นคดีต่างหาก เป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบมาตรา 179 วรรคสาม แล้ว (พิพากษายืน (ไม่รับฟ้องแย้ง))

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา