3 ม.ค. 2023 เวลา 17:29 • สุขภาพ
อีสุกอีใส
คือ
4
โรคที่พบบ่อยในเด็ก มีอัตราป่วยสูงสุดในช่วงอายุ 5 – 9 ปี รองลงมาคือ 0-4 ปี 10- 14 ปี 15- 24 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ ในคนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปก็อาจพบได้บ้าง ซึ่งมักเป็นคนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้ลงหรือไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน (ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ไข้สุกใส หรือ โรคสุกใส)
2
โรคนี้สามารถระบาดแพร่กระจายได้ง่าย พบได้ ตลอดทั้งปี มีอุบัติการณ์สูงในเดือนมกราคมถึงเมษายน อาจพบระบาดตามชุมชน โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก
สาเหตุ อีสุกอีใส
เกิดจากเชื้ออีสุกอีใส งูสวัด ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่าไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus หรือ VZV) หรือ human herpesvirus type 3
เชื้อนี้จะก่อโรคอีสุกอีใสในผู้ที่เพิ่งติดเชื้อครั้งแรกหลังจากนั้นเชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้นหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อที่หลบซ่อนนั้นก็จะเจริญขึ้นใหม่ก่อให้เกิดโรคงูสวัด กับไข้หวัดหรืออีกทางหนึ่งก็โดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองของน้ำลายหรือเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือออกมาแขวนลอยอยู่ในอากาศ (airborne transmission) แบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่ไม่ว่าติดต่อโดยทางใด เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจแล้วเข้าสู่กระแสเลือด กระจายไปทั่วร่างกาย รวมทั้งที่ผิวหนัง
ระยะฟักตัว 10 - 20 วัน (เฉลี่ย 14 - 17 วัน)
อาการ อีสุกอีใส
เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูงและปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน
ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นราบสีแดงขนาดเล็กๆ ก่อน 2-3 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูนและตุ่มน้ำใสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มม. มีฐานสีแดงอยู่โดยรอบ ตุ่มใสมักมีอาการคัน ภายใน 24 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำขุ่น
ขนาดใหญ่ขึ้นและแตกง่าย แล้วฝ่อหายไปหรือกลายเป็นสะเก็ด สะเก็ด มักหลุดหายไปภายใน 7-10 วัน (บางรายอาจนาน 2-3 สัปดาห์) โดยไม่เป็นแผลเป็น นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจกลายเป็นตุ่มหนองและกลายเป็นแผลเป็น
ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามลำตัว(หน้าอก แผ่นหลัง)ก่อน แล้วไปที่หน้า หนังศีรษะ และแขนขา มักพบตุ่มกระจายอยู่ตามบริเวณลำตัวมากกว่าบริเวณอื่น ผื่นและตุ่มอันใหม่จะทยอยขึ้นเป็นระลอก ๆ ตามมาเป็นเวลา 3-6 วัน (ส่วนใหญ่ประมาณ 4 - 5 วัน) แล้วก็จะหยุดขึ้น ผื่นที่ขึ้นก่อนจะกลายเป็นตุ่มขุ่น (ตุ่มสุก) และตกสะเก็ดก่อนผื่นที่ขึ้นทีหลัง ดังนั้นมักจะพบว่าในบริเวณเดียวกันจะมีผื่นตุ่มทุกรูปแบบทั้งตุ่มสุกและตุ่มใส ชาวบ้านจึงเรียกว่าอีสุกอีใส
อาจมีผื่นตุ่มใสในลักษณะเดียวกันขึ้นตามเยื่อบุปาก (เช่น เพดานปาก ลิ้น คอหอย) ซึ่งแตกเป็นแผลตื้นๆ ทำให้มีอาการเจ็บปาก เจ็บลิ้น เจ็บคอ บางรายอาจขึ้นที่เยื่ออื่นๆ เช่น เยื่อบุตา กล่องเสียง หลอดลม ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เป็นต้น
สิ่งตรวจพบ อีสุกอีใส
ในวันแรกๆ  จะพบผื่นแดง ตุ่มนูน และตุ่มน้ำใสขนาดเล็กๆ อยู่กระจายตามใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง ในวันหลังๆจะพบผื่นและตุ่มหลายลักษณะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน อาจพบผื่นตุ่มที่หนังศีรษะ  แผลเปื่อยที่เพดานปาก ลิ้น  หรือคอหอย
ในเด็กอาจมีไข้ต่ำๆ  (37.5-38.5 องศาฯ) หรือไม่มีไข้
           ในผู้ใหญ่  มักพบว่ามีไข้สูง (39-40 ๐ซ.)
การป้องกัน อีสุกอีใส
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส แนะนำให้ฉีดในเด็กช่วงอายุ 12 -18 เดือน ส่วนเด็กที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้และไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้และไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน จะฉีดช่วงอายุใดก็ได้ ส่วนผู้ใหญ่แนะนำให้ฉีดเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น บุคคลกรทางการแพทย์ ผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก ครูอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษา หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่วาง แผนตั้งครรภ์ในอนาคต
เป็นต้น ก่อนฉีดวัคซีนอาจต้อง เจาะเลือดตรวจว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน
การรักษา อีสุกอีใส
1.แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เช่น พักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด ถ้าตุ่มคันให้ใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบหรืออาบน้ำเย็นบ่อยๆ (ถ้าไม่ทำให้หนาวสั่น) และอยู่ในที่ ๆ อากาศเย็นสบาย ถ้าเจ็บปากหรือปากเปื่อยลิ้นเปื่อยใช้น้ำเกลือกเย็น ๆ กลั้วคอ กินอาหารเหลว หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด เปรี้ยว เคี้ยวยาก ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และหลีกเลี่ยงการการแกะหรือเกาตุ่มที่คัน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียกลายเป็นแผลเป็นได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา