4 ม.ค. 2023 เวลา 10:59 • หนังสือ

#สรุปหนังสือ 𝐅𝐨𝐮𝐫 𝐓𝐡𝐨𝐮𝐬𝐚𝐧𝐝 𝐖𝐞𝐞𝐤𝐬

- ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ ⏳
1. ด้วยโมเดลขับเคลื่อนวิถีโลกแบบทุนนิยม ได้หล่อหลอมรูปแบบชีวิตของเราใหม่ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่บีบให้เรา “โปรดักทีฟ” อยู่ตลอดเวลา แน่นอนสิ่งเหล่านี้ทำให้เราทิ้งเวลาส่วนใหญ่ไปกับความกังวล แผนการ จมอยู่ในโลกอนาคตและอุดมคติ เราไม่กล้าแม้จะหยุดพัก เราไม่เคยได้สัมผัสชีวิตจริงๆ ชีวิตที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับเวลา
2. ความโปรดักทีฟ กลายเป็นค่านิยมที่ทุนนิยมดูจะชื่นชอบ เพราะมันสร้างผลงานได้มากกว่า สร้างกำไรได้มากกว่า และทำให้เราและบริษัทเป็นผู้ชนะในตลาด เราผู้ติดอยู่ในค่านิยมเหล่านี้จึงยัดสิ่งที่ต้องทำมากมายเข้ามาโดยที่เวลาของเราไม่ได้เพิ่มเลย เหมือนเราถูกเชปให้เป็นนักล่า to do list
3. ปัญหามันอยู่ที่ว่าเวลาเราไล่ล่า to do list จนเสร็จเรียบร้อย เราเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่มองหา to do litst อันถัดไปตลอดเวลา บางครั้งเราทำเสร็จโดยที่ไม่ได้รู้สึกดีอะไร บางครั้งทำไปเพื่อให้มันเสร็จ ไม่ได้ผูกพันหรือสัมผัสคุณค่าของสิ่งที่ทำ เราผลาญเวลาเหล่านี้ไปกับสิ่งที่เราไม่อยากทำ เราบรรลุค่านิยมของสัมคม แต่ไม่เติมเต็มความอยากมีชีวิต หรือเป้าประสงค์ของการมีชีวิตของเราเลย สุดท้ายเรารู้สึกกลวงเปล่าและเหนื่อยล้า
4. เราสรรหาเครื่องมือบริหารเวลา หรือเทคโนโลยีประหยัดเวลามามากมาย ซึ่งก็ช่วยได้แหละ แต่มันเป็นการยัด to do list เข้าไปให้มากขึ้นในเวลาที่มีเท่าเดิม สุดท้ายมันไม่ได้ทำให้เราสบายขึ้นเลย แต่กลับยุ่งมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ
5. ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะโปรดักทีฟ เพื่อจะได้หยุดพัก เพื่อจะสุขสบาย สมองหลอกเราให้ทำแบบนั้น แต่ดูจากประวัติศาสตร์แล้วเรากำลังถูกหลอกเต็มๆ เราติดอยู่ในกับดักหนูถีบจักเข้าให้แล้ว เราเหนื่อยเพื่อเหนื่อย เราทำ เพื่อทำแล้วทำอีก เรามีภาพอุดมคติที่ผลิตออกมาไม่มีวันหมด
6. หนังสือเล่มนี้จะบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่จะยอมรับว่า เราไม่สามารถจัดการทุกด้านในชีวิตได้อย่างเพียบพร้อม เราทำได้เพียงยอมรับข้อจำกัด ยอมรับในความพ่ายแพ้ และเลิกเชื่อสักทีว่าจะทำได้ทุกอย่าง ไม่งั้นเราเหนื่อยตายแน่ !! ไม่เชื่อก็ลองดูสิ
1
7. ลองนึกภาพเราอ่านหนังสือเล่มโปรดโดยไม่ดูเวลา และไม่ดูว่าอ่านได้กี่หน้า เราจมไปกับเนื้อหา ดื่มด่ำไปกับมันได้อย่างเต็มที่ ได้ประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม เราไม่ได้สัมผัสมิติแห่งเวลา แต่สัมผัสมิติของการดำรงอยู่
แต่ถ้าก่อนอ่านเราบอกกับตัวเองว่าต้องอ่านให้ได้ 30 หน้าในเวลา 1 ช.ม. เราจะมีเป้าหมายใหม่คืออ่านเพื่อให้ครบหน้า หรืออ่านเพื่อทำผลงาน แต่ระหว่างอ่านเราอาจไม่ดื่มด่ำกับเนื้อเรื่องสักเท่าไร เพราะมัวแต่กังวลว่าจะใช้เวลาในการอ่านได้ช้าเกินไป
กำลังบอกว่าเราเริ่มมีค่านิยมที่ว่า เวลาคือทรัพยากร ที่ต้องใช้ให้คุ้ม และคนที่ใช้ได้คุ้มคือคนที่น่ายกย่อง แต่ไม่เล๊ยยยยที่จะถามว่า คนเหล่านั้นใช้เวลาได้อย่างมีคุณภาพหรือเปล่า ค่านิยมเหล่านี้ทำให้เรากลวงเปล่ามากขึ้นเพื่อที่จะเอาผลลัพธ์มาอวดกัน
โฆษณา