4 ม.ค. 2023 เวลา 14:05 • สุขภาพ

🎅กระดูกพรุน​ 2023🤶

👨‍⚕️American College of Physicians (ACP) ได้ปรับปรุง​ Guideline โรคกระดูกพรุนของปี​ 2017​ และได้เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา​ (3 Jan​ 2023) โดยมีเนื้อหาดังนี้
1. "first-line" ในการรักษาโรคกระดูกพรุนของหญิงวัยหมดประจำเดือน​ คือยาในกลุ่ม​ bisphosphonates​ ไม่ว่าจะเป็น alendronate (Fosamax), risedronate (Residron, Palibone) และ ibandronate (Bonviva, Ibonate, Ostex)
2. สามารถใช้ยาในกลุ่ม​ bisphosphonates​ ติดต่อกันได้นาน​ 3 -​ 5 ปี​ ในการป้องกันกระดูกหัก​ หลังจากนั้นจะต้องหยุดยา​ การใช้นานกว่า​ 5 ปี​ จะใช้เฉพาะในกรณีที่​จำเป็นจริงๆเท่านั้น
3."second-line" ในการรักษาโรคเช่นยา denosumab (Prolia, Sgeva) จะใช้ในผู้ที่เป็นกระดูกพรุนในระยะแรก​ รวมทั้งผู้ที่ไม่สามารถ​ใช้ยาในกลุ่ม​ bisphosphonates ได้
4. สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่จะเกิดกระดูกหัก​ จะใช้ยา​ในกลุ่ม sclerostin inhibitor (romosozumab/Evenity) หรือ recombinant PTH (teriparatide/Forteo) ตามด้วยการใช้ยาในกลุ่ม​ bisphosphonates
.
.
Pharmacologic Treatment of Primary Osteoporosis or Low Bone Mass to Prevent Fractures in Adults: A Living Clinical Guideline From the American College of Physicians
.
.
.
.
สรุป เนื้อหาสำคัญ ๆ จาก CPG form ACP สำหรับกระดูกพรุนครับ
เป็นเวลาเกือบ 5 ปี ตั้งแต่ 2017 ที่ The American College of Physicians (ACP) ได้ปรับปรุงแนวทางสําหรับการรักษาด้วยยาเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักในผู้ใหญ่ที่มีโรคกระดูกพรุนปฐมภูมิหรือกระดูกบาง osteopenia (low bone mass) โดยการทำ systematic review จาก evidences ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน (34 randomized controlled trials (in 100 publications) and 36 observational studies)
โดยยาที่ทำการศึกษาข้อมูลประกอบด้วย
• Antiresorptive drugs: four bisphosphonates (alendronate, ibandronate, risedronate, zoledronate) and a RANK ligand inhibitor (denosumab);
• Anabolic drugs: an analog of human PTH–related protein (abaloparatide), recombinant human PTH (teriparatide), and a sclerostin inhibitor (romosozumab);
• Estrogen agonists: selective estrogen receptor modulators (SERMs) (bazedoxifene, raloxifene).
สรุปเนื้อหาสำคัญ ๆ ดังนี้ครับ
1. แนะนำให้ initial therapy ด้วย bisphosphonates สำหรับ postmenopausal women และ men ที่เป็น osteoporosis....ทำไม "bisphosphonates first," then denosumab," ก็เพราะ "bisphosphonates” เป็นยาที่มี benefits ดีมากและเมื่อพิจารณาจาก safety, harm ความพึงพอใจของคนไข้และราคา ก็ reasonable แม้ว่า Denosumab มีผลการรักษาที่ดีมากในแง่ long-term แต่ปัญหาเรื่องราคาและ bisphosphonates ยังมีราคาถูกกว่ามาก และที่สำคัญมี generic formulations
2. Denosumab ควรเป็น second-line pharmacotherapy ในคนที่มี contraindications หรือมี adverse effects จาก bisphosphonates ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
3. การเลือกระหว่าง bisphosphonates ตัวไหน (alendronate, risedronate, zoledronic acid) จะขึ้นอยู่กับการพูดคุยระหว่างแพทย์และผู้ป่วย โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ควรคุยเรื่องค่าใช้จ่าย วิธีการบริหารยาว่าจะกินยาหรือฉีดทางหลอดเลือดดํา และรวมถึงความกังวลและความคาดหวังของผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมด้วย
4. สำหรับบทบาทของ sclerostin inhibitors และ recombinant PTH เพื่อป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ยาสองตัวนี้แนะนำให้ใช้ในรายที่เป็นผู้หญิงที่เป็น primary osteoporosis และจะต้อง very high-risk of fracture เท่านั้น
5. การรักษาเพื่อลดความเสี่ยงของกระดูกหักในผู้ชาย ปัจจุบันก็ยังคงมีข้อมูลที่ลดได้เฉพาะ "กระดูกสันหลังหัก-vertebral fracture" เท่านั้น
6. ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แต่เป็นแค่ osteopenia จะเลือกรักษาหรือไม่ ให้พิจารณาเป็นรายๆ ไป แต่หากจะเริ่ม ยังแนะนำให้เริ่มด้วย bisphosphonates
7. การรักษากระดูกพรุนต้องทำควบคู่ไปกับการให้คำแนะนำเรื่อง adherence ของการใช้ยา ต้องแนะนำ healthy lifestyle habits เช่น exercise และต้องประเมินและให้การป้องกันการหกล้ม
8. สำหรับผู้ที่เป็น osteopenia กระดูกบาง หรือ osteoporosis กระดูกพรุน ควรได้รับ adequate calcium and vitamin D intake เพราะช่วยในเรื่องป้องกัน fracture ได้ดียิ่งขึ้น
9. ต้องประเมิน baseline fracture risk จาก bone density, fracture history, fracture risk factors, และการตอบสนองต่อยารักษากระดูกพรุนที่เคยได้มาร่วมด้วย
10. การได้รับ bisphosphonates > 3-5 ปี ลด risk for new vertebral ได้แต่ไม่ลดที่อื่น ๆ และที่สำคัญจะเพิ่ม risk long-term harms เช่น ONJ, AFF ดังนั้นให้พิจารณาหยุด bisphosphonate หลังจากให้มา 5 years ถ้าผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งชี้ในการให้ต่อ
11. Bisphosphonates กับ denosumab ในแง่ของ serious AEs และการหยุดเพราะ AEs จาก RCTs สองตัวไม่ต่างกัน โดยพบว่าเพิ่ม ONJ, AFF หรือ subtrochanteric fractures ใน observational studies นอกจากนั้นยังพบว่า risk สูงขึ้นในการให้เป็นระยะเวลานาน
12. การตัดสินใจ bisphosphonate holiday (temporary discontinuation) และ duration ของการหยุด ขึ้นกับ baseline fracture risk, medication half-life in bone และ benefits and harms
13. ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วย anabolic agent และหยุด ควรได้รับ antiresorptive agent ต่อ เพื่อ preserve BMD และช่วยลด risk rebound และ multiple vertebral fractures ที่อาจเกิดได้
14. การให้ Romosozumab และตามด้วย alendronate ไม่ได้เพิ่ม serious AEs หรือต้องหยุดจาก AEs เมื่อเทียบกับการให้ Bisphosphonates alone 1-3 ปี [data from RCTs]
15. Romosozumab สัมพันธ์ กับการเกิด adverse cardiovascular events (certainty of the evidence: low)
16. Raloxifene thromboembolism in observational studies. (certainty of the evidence: low)
17. Long-term safety of teriparatide ในคนตอนนี้ unknown ครับ..ดังนั้นก็ใช้แค่ 1.5-2 ปีก่อน น่าจะดีที่สุด
18. ผู้ที่อายุ > 65 ปีที่เป็นโรคกระดูกพรุน อาจมีความเสี่ยงของการหกล้มหรือเกิด AEs เพิ่มขึ้นหากใช้ยาหลายตัว (polypharmacy) และระวัง drug interaction ด้วยหากมียาอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยต้องได้รับร่วมด้วย
19. สำหรับ Transgender persons จะมี risk ต่อการเกิด low bone mass แตกต่างกันไป ดังนั้นให้พิจารณาการรักษาเป็นราย ๆ ไป
Reference: Ann Intern Med. doi:10.7326/M22-1034
POSTED 2023.01.04
💅บทความ​อื่น
กระดูกพรุน
ยา​ กระดูกพรุน​ แคลเซียม
โฆษณา