9 ม.ค. 2023 เวลา 17:01 • ไลฟ์สไตล์

ปัญหาที่ต้องเจอ..มัทฉะเป็นก้อนไม่ละลายน้ำ เศษชาติดก้นถ้วย แล้วงัยยย..ต่อ

ปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่นักดื่ม (ชา) หลายคนติเตียนก็คือก้อนมัทฉะผงๆ ที่ไม่ละลายน้ำเมื่อดื่มหมดถ้วยมีเศษใบชานอนก้นถ้วยที่เจอตอนดื่มหมดถ้วยแล้ว
ปัญหานี้อยู่ที่คนชงล้วนๆ ....
.....ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่ามัทฉะไม่ใช่เหมือนนมผง เหมือนโกโก้ ความจริงแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ละลายน้ำได้ เพราะมันคือใบชาที่นำมาบด และใบไม้นั้นไม่ละลายน้ำโดยเด็ดขาด
💢เอาไปร่อน
⇨เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็ว่าได้ มัทฉะที่ปกติจะจับตัวกัน หากเอาไปร่อนเหมือนแป้งจะละเอียดขึ้น ทำให้ผสมน้ำได้ง่ายดาย แถมสัมผัสน้ำชาเวลาดื่มยังนุ่มละมุนกว่าอย่างไม่น่าเชื่อด้วย
ร่อนชา
... เสียอย่างเดียวคือวิธีนี้เป็นขั้นตอนที่อาจเสียเวลามาก และพิถีพิถันเกินไปในยามที่เร่งรีบ
💢คนกันน้ำน้อยๆ ให้เข้ากันก่อน
ถ้าขี้เกียจร่อนมัทฉะ เราอาจแก้ไขได้ด้วยการใส่น้ำทีละน้อย ค่อยๆ ใส่มัทฉะทีละนิด ถ้าเราใส่ทุกอย่างไปพรวดเดียวแล้วผสม แป้งจะเป็นก้อนๆ ต้องเสียแรงมากทีเดียวกว่าจะเข้ากันได้ มัทฉะก็เหมือนกัน
ใส่น้ำ หรือ นม น้อยๆ ค่อยๆเพิ่ม
หากใครรู้วิธีชงมัทฉะชนิดข้น (โอะโคอิฉะ) จะใช้วิธีเดียวกันก็ได้... ตักผงชาใส่ถ้วย เติมน้ำร้อนก่อนนิดเดียว ใช้แปรงกวาดซ้ายกวาดขวา นวดๆ ให้เข้ากัน ก็จะได้สสารคล้ายโคลนสีเขียวสด...
....หลังจากนั้นค่อยเติมน้ำที่เหลือลงไป
💢ใช้กระปุกมัทฉะที่มีฝาแบบร่อนได้
อุปกรณ์นี้ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยแท้จริง มันก็เหมือนกระปุกเกลือพริกไทยบนโต๊ะอาหารนี่แหละ
... แต่ยังมีปัญหาอีกคือ มัทฉะที่โดนความชื้นไประยะหนึ่งและจับตัวเป็นก้อนจะลงมาด้วยแรงเขย่ายากมาก มัทฉะที่ไม่ได้แกะใหม่สุดท้ายก็ต้องใช้วิธี 1 หรือ 2 อยู่ดี
💢เขย่าด้วยกระบอกเชค
เป็นวิธีที่อาจจะง่ายที่สุดในการทำเครื่องดื่มมัทฉะ โดยเฉพาะเมื่อเขย่าผสมกับนมจะได้ฟองปริมาณมาก แถมยังละเอียดสุดๆ
...ข้อเสียคือเป็นเรื่องยากที่จะเขย่าไม่ให้มีก้อน
มัทฉะอยู่เลย
...แต่อย่างน้อยก้อนมัทฉะที่จับตัวจะไม่ใหญ่มาก เป็นก้อนเล็กๆ กระจายทั่วไป ระดับที่ทานแล้วไม่ติดขัดอะไร อย่างไรก็ตาม หากเขย่ากับน้ำร้อน หรือนมร้อนจะทำให้ไอน้ำอัดอยู่ภายในกระบอก ทำให้กระเด็นเลอะเทอะเวลาเปิดฝา รวมถึงต้องระวังไม่ให้ลวกมือด้วย
💢ผสมด้วยเครื่องทำฟองนม
เครื่องทำฟองเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ผสมมัทฉะได้สะดวกสบาย แต่อย่างที่บอกไปในข้อ 2. การเริ่มผสมมัทฉะกับของเหลวปริมาณน้อยๆ ก่อนจะมีประสิทธิภาพกว่าอยู่ดี
💢ผสมผงมัทฉะกับน้ำตาลก่อน
กรณีที่ต้องการใส่น้ำตาลในสูตร ให้คลุกน้ำตาลเข้ากับผงมัทฉะก่อนเลย น้ำตาลที่ละลายได้ง่ายจะสร้างช่องว่างให้ผงมัทฉะแยกจากกันได้ง่าย ไม่เป็นก้อน
💢ใช้ไม้แปรงมัทฉะตีผสมด้วยความเร็วสูง
แปรงตีชา
วิธีสุดท้ายนี้เป็นวิธีที่อาศัยความไวเข้าว่า ในกรณีที่ใช้ไม้แปรงผสมมัทฉะ มือคุณต้องไว้มากๆ ใช้ข้อมือขยับไม้แปรงขึ้นลงเป็นเลข 1 หรือตัว M ด้วยความไวเหมือนนักกีต้าร์เกาสายอย่างเชี่ยวชาญ เทคนิคนี้คงต้องอาศัยประสบการณ์
.... เว้นเสียแต่คุณจะใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างเครื่องทำฟองนม หรือเครื่องปั่น ซึ่งในกรณีนี้ก็แนะนำให้ผสมกับของเหลวปริมาณน้อยก่อนอยู่ดี เพราะมันจะละเอียดกว่า.....
หน้าตาหลังตีแปรง
ขอบคุณข้อมูล : matchazuki
Tea&Me. อ่าน- ผ่านตา นำมาบอกเล่าเก้าสิบใน #เรื่องเล่าโรงน้ำชา ผ่าน #ใบชาเล่าเรื่อง
..........🌱🍀🍵
.
Tea&Me หน้าเพจ
โฆษณา