22 ม.ค. 2023 เวลา 15:12 • ธุรกิจ

ถ้าเราพบความแตกต่าง เราต้องวัดมันออกมาให้ได้ :

Roy F. Allison (Allison Acoustics, Inc)
วาทะที่ 4 ของ 20 วาทะแห่งปัญญา
Roy F. Allison (BC 1927-2016) เขาเป็นตำนานของผู้สร้างองค์ความรู้ทางด้านระบบเสียง ที่เรียกว่า Room Acoustics และผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อให้กับของเขาก็คือ Allison Room matched loudspeaker ที่มีรูปร่างแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆในท้องตลาด (ตามรูป)
แน่นอนที่มาของ Allison Acoustics, Inc นั้นไม่ได้เริ่มจากศูนย์ เพราะ Roy เขามีประสบการณ์จากการร่วมงานกับ Acoustics Research, inc (AR ) มาก่อน และเมื่อลำโพง Allison เมื่อออกสู่ตลาดก็ได้รับการตอบรับไปทั่วโลก ซึ่งในไทยเราก็มีนำเข้ามาขายด้วย เมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว
( AR ก็คือ แบรด์ลำโพงชื่อดังเมื่อ 50 ปีก่อน เป็นผู้คิดค้นลำโพงระบบตู้ปิด acoustic suspension และ Roy ได้มีส่วนรวมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ AR จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก)
ที่มาของคำที่ว่า “ถ้าเราพบความแตกต่าง เราต้องวัดมันออกมาให้ได้” นั้นก็มาจากความคิดของ Roy ที่พบว่าการออกแบบลำโพง AR นั้นใช้การทดสอบในห้อง Acoustic Chamber (ห้องที่เก็บเสียง ไม่มีเสียงภายนอกรบกวน และปราศจากเสียงสะท้อน) มันไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้องนัก เพราะห้องฟังเพลงทั่วไปก็คือ ห้องรับแขกของคนทั่วไปซื้อไปฟังกัน
เมื่อเขาได้ออกจาก AR เขาก็ได้เริ่มต้นแนวคิดของเขา เขาได้ทำการวิจัยว่า ทำอย่างไรให้เสียงของลำโพง เมื่อเอาไปใช้ในห้องรับแขกแล้ว เสียงยังคงมีประสิทธิภาพดีได้เช่นเดิม นั้นจึงทำให้เขาทำการวิจัยอย่างหนัก และผลงานการวิจัยนั้นก็กลายเป็นตำราให้กับบริษัทเครื่องเสียงทั่วโลกได้เอาไปใช้กัน (His Research : Boundary-effects phenomenon)
งานวิจัยที่ว่านี้ก็คือ การค้นหาว่า ความแตกต่างของเสียงจากลำโพงเมื่อนำไปใช้ในห้องรับแขก ทำไมถึงแตกต่างจากในห้อง Acoustic Chamber แน่นอนไม่ง่ายเลย เพราะในยุคนั้นมันยังเป็นแค่ ยุค Analogs เครื่องวัดก็ยังไม่ทันสมัยเหมือนยุค Digital นี้
แต่ประโยชน์ที่ผมจะนำใช้นี้ ก็คือ วาทะที่ว่า “ถ้าเราพบความแตกต่าง เราต้องวัดมันออกมาให้ได้”
มันก็สื่อได้ถึงแนวคิด ที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ทั่วโลกนี้ เขาใช้เป็นแนวคิดกัน ในการคิดค้นคว้า ที่ทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ๆและวิธีการใหม่ๆบนโลกนี้ และคนธรรมดาอย่างเราก็สามารถใช้แนวคิดนี้ได้เช่น
ยกตัวอย่าง : ทำไมของที่วางขายอยู่บน ชั้นวางสินค้าของ Super market เขาพบสินค้าประเภทเดียวกัน แต่อยู่วางอยู่ชั้นในจุดที่แตกต่างกัน มีผลต่อยอดขาย เช่น ชั้นบนขายได้น้อยกว่าชั้นล่าง !
แน่นอนถ้าเป็นเราก็คงคิดได้ ว่ามันอยู่ในระดับสายตา มันก็ต้องมีโอกาศในการมองเห็นที่มากกว่า มันก็เลยขายได้มากกว่า
แต่บริษัทฯที่เป็นเจ้าของ Super Market เขาก็พบความแตกต่างนี้ แต่เขาไม่มาคาดเดา หรือ คาดคะเน ว่ามันจะต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ เขาเอาโจทย์นี้ไปให้นักวิจัย คิดอย่างเป็นระบบ และต้องวัดผลออกมาให้ได้ (ออกเป็นตัวเลข เช่น ดีกว่ากี่ % อะไรแบบนี้) และนี้ก็เป็นที่มาของ Neuromarketing
Neuromarketing คือการทำความเข้าใจลูกค้าตั้งแต่จิตใต้สำนึก ความรู้สึกและอารมณ์ขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ เมื่อมีสิ่งแวดล้อมภายนอกมากระทบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช่น อัตราการเต้นของหัวใจ รูม่านตาขยายกว้างขึ้น หรืออารมณ์ดีใจ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะเป็นรูปแบบสถิติ ซึ่งถูกนำมาวางแผนทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/strategy/benefits-of-neuromarketing-for-business
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็จะมีคำถามต่อว่า แล้วถูกมันนำไปใช้อย่างไร คำตอบก็คือ
1. การใช้สีของบรรจุภัณฑ์ มีผลต่อการดึงดูดให้ลูกค้าสนใจ ในตัวสินค้า เช่น คุณลองดู ขนมขบเคี้ยวที่ขายดี Packaging จะมีสีสันที่สดุจตาอย่างมาก
2. การตำแหน่งที่ตั้งของสินค้า ที่เหมาะสมที่สุดของสินค้ามีผลต่อการขาย เช่น ชั้นขายบุหรี่จะอยู่ตรงบริเวณ จุดรับชำระเงิน
3. การวิจัยแบบนี้ทำให้ Super Market สามารถตั้งเงื่อนไข ที่แตกต่างกันบนชั้นวางสินค้าได้ เช่น ถ้าเขาบอกคุณว่าตำแหน่งนี้ จะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 15% คุณอยากได้มั้ยล่ะ แต่คุณจะต้องมีการจ่ายเพิ่มนะ !
เห็นไหมครับ วาทะที่ว่า “ถ้าเราพบความแตกต่าง เราต้องวัดมันออกมาให้ได้” มันเป็น ประโยชน์ต่อแนวคิดในการวิจัย การค้นคว้า นำมาซึ่งการ “รู้จริง”
การรู้จริง มันก็เหมาะกับสังคมไทยเราอย่างมากด้วย เมื่อ 10 ปีก่อนก็ว่าเด็กไทย อ่านหนังสือไม่กี่บรรทัด เดี่ยวนี้ไม่อ่านแล้ว ใช้ฟังเอา มันก็เลยล่องลอยไปตามสิ่งที่ฟังมา เชื่อแบบไหนก็ไม่รู้
เราถึงพบว่า อาหารเสริมกินปับได้ผลปุบ ขายดี เพราะเห็นคนขายสวย ! / เข้าร่วมลงทุนแบบที่ลงน้อยได้มาก และได้เร็ว เพราะเห็นคนชวนขับรถหรู / หลงไปเล่นพนันออนไลน์ เพราะมันว่าจ่ายจริง ไม่มีโกง ! / เดี่ยวนี้ยังเชื่อกันว่า คนเก่งเป็นคนน่ายกย่อง คนดีเป็นคนโง่ !
อย่าให้สังคมไทย กลายเป็นสังคมฉาบฉวย เพราะจะทำให้ผู้คนไม่เชื่อในเรื่อง ความอดทน และความพยายาม และจะมองหาแต่ทางลัดกัน จนเกิดปัญหาสังคมขึ้นมา
มาสร้างสังคม ที่ “รู้จริง” กัน ด้วยวาทะที่ว่า “ถ้าเราพบความแตกต่าง เราต้องวัดมันออกมาให้ได้”
Credit : Anant.V (Tangram strategic Consultant)
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในงานจัดซื้อ ..........มาเรียนรู้กับเราได้ที่นี้
แผนการอบรมเพื่อ “งานจัดซื้อ” สำหรับปี 2566 / 2023
ในปีนี้ Tangram Strategic Consultant เราจะมี class แบบ Online / Onsite
>สำหรับ Online 12 Classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
>สำหรับ Onsite 5 classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
โฆษณา