Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ArtsDairy
•
ติดตาม
28 ม.ค. 2023 เวลา 12:30 • ประวัติศาสตร์
Genji monogatari 源氏物語 นิยายเล่มแรกด้วยมือของนารีม่วง
ย้อนกลับไปตั้งแต่ในช่วง C.10 ที่ทั่วโลกยังมีเพียงแต่บทกลอนและเพลง ในรั้วสำนักแห่งยุคเฮอันกลับมีสมบัติอันล้ำค่าของญี่ปุ่นสร้างขึ้นด้วยภาษาของหญิงคนหนึ่ง
สมบัตินั้นก็เป็นตำนานและเรื่องเล่าที่ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
เก็นจิโมโนกาตาริ ก็นับว่าเป็นวรรณคดีที่ดังและขลังมากที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ของแดนญี่ปุ่น
ทุกคนที่ติดตามเพจมาอาจจะงงที่ทำไมอยู่ๆวันนี้เขียนเกี่ยวกับญี่ปุ่น ปกติเขียนแต่ตะวันตกไม่ใช่เหรอ อะไรคือความหน้าปกมีแต่ตะวันตกแล้วมาเขียนศิลปะเอเชียเฉยเลย
ความจริงก็คือ แอดเองก็เรียนภาษาญี่ปุ่นนะ แต่ไม่ได้เก่งเวอร์ แล้วช่วงนี้ก็พึ่งซื้อเรื่องนี้ที่แปลฉบับอังกฤษมาอ่านแล้วก็พบว่า อืม มันน่าสนใจจริงๆ เลยเขียนดีกว่าา โอเคจบการนอกเรื่องเข้าตัวบทกันเถอะ
ปกติเราจะเห็นแต่ภาพยนต์หรืออนิเมะญี่ปุ่นดังไปทั่วโลก แต่เอาเข้าจริงๆแล้ววงการวรรณคดีญี่ปุ่นเนี่ยมีเรื่องราวแปลกๆแบบน่าสนใจเยอะมาก แต่อาจจะไม่ได้รับความสนใจเท่ากับสื่อศิลปะอิ่นๆ
วันนี้พวกเราก็จะมารู้จักตำนานมีชีวิต มรดกแห่งชาติญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า ตำนานเจ้าชายเก็นจิ
ถ้าเราถามหาวรรณคดีญี่ปุ่นเนี่ยอันที่คนทั่วไปที่สนใจก็จะพูดถึงก็อาจจะพูดถึงนิยายแปล หนังหรือซีรีย์วายแบบที่กำลังดังในสมัยนี้ แต่ถ้าถามเชิงประวัติศาสตร์โดยเฉพาะถ้าได้เรียนภาษาญี่ปุ่นหรือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมาบอกเลยว่าเรื่องนี้คือแบบต้องเจอในบทเรียน
ทำไมต้องอ่านเก็นจิ?
คือว่ามันก็มีแบบโคตรหลายพันเหตุผลที่เรื่องนี้มันแบบยังอยู่รอดมาได้ แต่สิ่งที่เด่นๆคือ นักวิชาการจะถกกันว่าเรื่องเก็นจิเนี่ยเป็นวรรณคดีรูปแบบนิยายที่เขียนขึ้นครั้งแรกในโลก!
ถ้าเราถามหาวรรณคดีญี่ปุ่นเนี่ยอันที่คนทั่วไปที่สนใจก็จะพูดถึงก็อาจจะพูดถึงนิยายแปล หนังหรือซีรีย์วายแบบที่กำลังดังในสมัยนี้ แต่ถ้าถามเชิงประวัติศาสตร์โดยเฉพาะถ้าได้เรียนภาษาญี่ปุ่นหรือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมาบอกเลยว่าเรื่องนี้คือแบบต้องเจอในบทเรียน
ก็คือก่อนภาษาอื่นๆเลยที่เราจะมีนิยายแบบปัจจุบัน เรื่องเก็นจิมีการเห็นความคิดและการกระทำของคนในเรื่อง จนไปถึงพวกการที่มีตัวละครเอก มีข้อขัดแย้งต่างๆ มีเนื้อเรื่องดำเนินไปแบบชัดเจน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่ 100 % ว่าเป็นเล่มแรก เพราะว่ายุคนั้นมันก็โบราณเนอะ หลักฐานหลายอย่างอาจจะหายไปแต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้คนสนใจในฐานะนิยายเล่มแรกของโลก
แต่เล่มแรกไม่พอ เรื่องนี้เขียนด้วยนักเขียนหญิง นามว่ามูราซากิ ชิกิบุ คาดว่าเป็นผู้หญิงในตะกูลขุนนางที่ทำงานในสำนักราชวงศ์สมัยเฮอัน (ประมาณค.ศ. 973)
Murasaki Shikibu composing Genji Monogatari (Tale of Genji) by Tosa Mitsuoki (1617-1691).
ในสมัยเฮอัน ถ้าใครเคยได้ยินผ่านๆมา เราก็จะรู้เลยว่าสมัยนี้เป็นช่วงที่ในวังและราชสำนักกำลังขึ้นสู่จุดสูงสุด เนื่องจากว่ามีการล้มล้างตะกูล ไทระ ที่คิดจะขบฎได้สำเร็จด้วยฝั่งของตะกูลฟูจิวาระที่ขึ้นมามีอำนาจ จนมีการย้ายเมืองหลวงมาที่เกียวโตที่พวกเราคุ้นเคยกันในสมัยนี้
Map of Heian-kyō, 1696
ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะในยุคนี้ก็นับว่าเป็นยุคทองทางศิลปะเลยทีเดียว สงครามหลายอย่างก็เริ่มสงบ เมืองหลวงใหม่ พวกขุนนางเริ่มมีเวลาพัก ก็ทำให้เกิดการพัฒนาศิลปะวรรณคดีต่างๆมากมาย
แต่วันนี้เราจะขอเน้นไปที่วรรณคดีเก็นจิของนักเขียนหญิงท่านนี้
ถ้าเรียนภาษาญี่ปุ่นมาก็จะสกิดตรงคำว่ามูราซากิ เพราะคำนี้แปลว่าสีม่วง แล้วสีม่วงนี้มาจากอะไร ก็มาจากตะกูลของเธอที่มาจากตะกูลฟูจิวาระ ที่แปลอีกทีคือ ชื่อที่เกี่ยวของดอกฟูจิ ดอกม่วงๆสวยๆตามภาพ มีพลังไล่ปีศาจ ( อ้างอิงจากอนิเมะ Demon Slayer)
Fujiwara no Kamatari บรรพบุรุษของตะกูล
ด้วยความที่เขียนด้วยผู้หญิงเนอะ ก็เลยเป็นจุดที่สำคัญเพราะปกติในยุคเฮอันจะมีแต่ผู้ชายที่เขียนหนังสือได้ โดยจะใช้อักษรจีนเขียน ส่วนผู้หญิงจะใช้ตัว คานะ หรือน้องฮิราคานะกับคาตาคะนะที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นหลงรักในครั้งแรกที่ได้เรียน
ความที่มูราซากิเนี่ยเป็นตะกูลขุนนาง พ่อกับพี่ชายก็เลยได้เรียนตัวจีนแล้วก็มีเธอคอยนั่งฟังและอ่านไปด้วย ทำให้เรียนวรรณคดีจีนต่างๆได้พอสมควรจนมีคำกล่าวจากพ่อว่าจริงๆแล้วเธอเนี่ยถ้าเกิดเป็นชายคงเป็นนักปราชญ์ได้เลย
แต่เพราะความเป็นเพศหญิงนี้เองทำให้เธอไม่สามารถเขียนอักษรจีนสู่ภายนอกได้ จึงต้องใช้อักษรฮิระกับคาตาที่ใครๆคุ้นเคยเขียน
源氏物語 written text from the earliest illustrated handscroll (12th century)
ทีนี้การเขียนที่เขียนเรื่องเก็นจิก็เป็นตัวคานะ อาจจะด้วยเป็นภาษาที่ใช้สำหรับผู้หญิงและผู้อ่านส่วนใหญ่ในยุคก็น่าจะเป็นผู้หญิงเช่นกัน เพราะวรรณคดีหรือบทกลอนจนไปถึงบันทึกต่างๆก็มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความทุกข์ระทมของชีวิตรัก จนไปถึงการที่สามีนอกใจ เรื่องพวกนี้ก็จะเป็นแนวหลักๆที่ผู้หญิงได้เขียนและอ่าน
กลับกันพวกเรื่องแต่งก็จะไม่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ชาย แต่อาจเป็นของที่ใช้ฆ่าเวลาสำหรับผู้หญิงชนชั้นสูงนั่นเอง
บันทึกของผู้ประพันธ์
ดังนั้น การเขียนจึงได้แพร่หลายมายังเหล่าผู้หญิง นางกำนัลชนชั้นสูงให้ได้ใช้สำนวนภาษาและศิลปะ แต่บ่อยครั้งเองผู้หญิงเหล่านั้นก็ได้ระบายความทุกข์ในใจผ่านตัวอักษรคานะ จนถึงเหตุการณ์ต่างๆในรั้ววัง
คุณมูราซากิเองก็มีบันทึกของเธอที่ได้เล่าเรื่องราวในชีวิตไว้ แต่ตอนนี้แอดเห็นแค่ที่แปลจากสำนัก Penguin คิดว่าถ้าเราอ่าจากบันทึกก่อนแล้วค่อยอ่านตัวนิยายก็น่าจะเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างเรื่องแต่งและชีวิตจริง
A scene of Azumaya from the scroll owned by Tokugawa Art Museum
ทีนีเรื่องย่อๆแบบย่อจริงๆ คือประมาณว่า มีจักพรรดิคนหนึ่งรักนางสนมคนหนึ่งมากๆ ยิ่งกว่าสนมอื่นๆหรือภรรยาหลัก ซึ่งนางคนนี้ก็ได้ให้กำเนิดเด็กชายออกมาชื่อว่า เก็นจิ พระเอกของเรื่อง แต่ด้วยความที่นางเป็นคนรักของจักรพรรดิก็ถูกนางสนมคนอื่นแกล้งทุกวันๆ จนป่วยตายหลังจากให้กำเนิดเก็นจิไม่นาน แล้วความซวยก็ตกที่เก็นจิเพราะนางสนมอื่นๆก็หมายหัวจะทำร้ายลูกของคนที่ตนเกลียด แถมยังมีเชื้อจักรพรรดิมาให้เคืองตาเล่น เจ้าชายน้อยเลยทำให้ถูกตัดออกจากการได้ขึ้นครองราชย์แม้จะมีสิทธิ์นั้น
จักรพรรดิก็เศร้าคนรักตาย เลยหาคนใหม่มาแทน คือหน้าแบบแม่เก็นจิเลย ก็เลยให้เลี้ยงเก็นจิเด็กเป็นลูกเลี้ยง นางก็เลี้ยงด้วยความรัก พอเก็นจิโตขึ้นก็ดันตกหลุมรักแม่เลี้ยงของตนเองเรื่องก็เริ่มร้อนขึ้น ตามการโตของเก็นจิและเรื่องชู้สาวเพราะเก็นจิมีความสัมพันธ์กับหญิงสาวหลายคนมาก ไม่ว่าจะแก่หรือสาวซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะสะท้อนเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่นักแต่งเจอจากการทำงานในวังนั่นเอง
ที่น่าสนใจคือในเรื่องก็จะมีคนหน้าเหมือนกันแบบเยอะเวอร์ แบบแม่เก็นจิกับแม่เลี้ยง หรือผู้หญิงที่เก็นจิไปมีสัมพันธ์แล้วดันไปมีสัมพันธ์กับผู้หญิงที่หน้าเหมือนกันอีกคน คือแบบเป็นงงมาก
มันจะมีความแฟนตาซีหน่อยๆคล้ายๆละครไทยที่มีเรื่องวังแล้วมีการใช้คาถาอาคมต่างๆนานาสู้กัน จนไปถึงเรื่องความรักของตัวละครชายที่หลงใหลในผู้หญิงหลากหลาย แอดเองก็อ่านคร่าวๆก็รู้สึกว่าคล้ายเรื่องของไทยเหมือนกัน แค่มีอารมรณ์ที่แบบต่างกัน อารมรณ์คล้ายๆพระอภัยมณีหรือขุนแผนที่แบบหล่อมีอาคม
การที่มูราซากินำเสนอภาพผู้ชายอย่างเก็นจิที่หล่อ เจ้าชู้ มีความรับผิดชอบ ก็อาจจะเป็นการนำเสนอภาพความเป็นผู้ชายในสมัยเฮอันของญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์หลากหลายแต่ในขณะเดียวกันก็มีการให้เกียรติ์สตรี
คือพูดง่ายๆว่าภาพที่เราเห็นจากบทอ่านเนี่ย มันก็เป็นคนเจ้าชู้แหละแต่ในหลายครั้งก็ยังมีความรับผิดชอบต่อผู้หญิง จนถึงบางครั้งการมีชู้ก็แสดงถึงผลกรรมที่จะตามมาโดนตัวเก็นจิเองอีกด้วย
นักวิจารณ์เลยวิเคราะห์ว่าเรื่องนี้ ถ้าเราอ่านจับประเด็นดีๆ มันจะมีบทเรียนของความไม่เที่ยง หรือการที่ทุกอย่างจักต้องศูนย์หายออกไป ซึ่งคล้ายกับหลักการ Mono no aware ที่อารมรณ์เหมือนกับซาบซึ้งในสิ่งต่างๆเพราะทุกอย่างมีเวลาจำกัด
“Why do you grieve so uselessly? Every uncertainty is the result of a certainty. There is nothing in this world really to be lamented.”
Murasaki Shikibu, The Tale of Genji
แปลแบบคร่าวๆก็ เจ้าจะเศร้าไปทำไม ทุกความไม่เที่ยงไม่แน่นอนก็คือผลของความเที่ยง ไม่มีความจำเป็นใดๆในโลกที่จะต้องมาร้องไห้ระทม
จะเห็นได้ชัดว่ามีความเป็นศาสนาพุทธแฝงอยู่ด้วย พร้อมกับผสมผสานวัฒนธรรมญี่ปุ่นและจีนเข้าไปผ่านงานเขียนนี้
แต่นอกเหนือจากงานวรรณกรรมแล้ว เรื่องของเก็นจิก็ได้หลายมาเป็นภาพม้วนเอมากิ ที่ตอนนี้จะจัดแสดงอยู่ในหลายๆเมืองด้วย
ถ้ามีโอกาสทุกคนก็ควรจะได้ลองลิ้มรสวรรณดีญี่ปุ่นนี้ เพราะว่าแอดเชื่อเลยว่าเล่มนี้เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง เพราะความไม่แน่นอนเป็นชะตาที่มนุษย์เลี่ยงไม่ได้นั่นเอง
References
https://en.wikipedia.org/wiki/The_Tale_of_Genji
https://www.enotes.com/homework-help/according-to-the-tale-of-genji-what-signifies-2804411
https://www.facsimilefinder.com/facsimiles/tale-genji-scroll-facsimile
ประวัติศาสตร์
เรื่องเล่า
ชีวิต
1 บันทึก
3
1
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย