7 ก.พ. 2023 เวลา 04:06 • ธุรกิจ

การทำงานจนตาย ของคนข่าวญี่ปุ่น

การทำงานหนักจนเสียชีวิตนั้น เกิดขึ้นมานานแล้วทั่วโลก โดยที่ญี่ปุ่น เรียกการทำงานหนักจนตายว่า “คาโรชิ” (Karoshi) และเคยเกิดข่าวคล้ายกับกรณีเบิร์ดที่ญี่ปุ่นมาแล้ว คือ การตายของผู้สื่อข่าวหญิง จากอาการหัวใจวายเมื่อปี 2556
บรรษัทแพร่ภาพและกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่นหรือเอ็นเอชเค (NHK) ออกมายอมรับว่า การตายของผู้สื่อข่าวหญิงคือ น.ส.มิวะ ซะโดะ วัย 31 ปี เนื่องจากอาการหัวใจวายเมื่อปี 2556 นั้น แท้ที่จริงเกิดจากการทำงานหนักล่วงเวลานับร้อยชั่วโมงจนเสียชีวิต หรือที่เรียกว่า "คาโรชิ"
เธอทำงานล่วงเวลาถึง 159 ชั่วโมงในเดือนเดียว และมีวันหยุดเพียง 2 วันในเดือนก่อนที่เธอจะเสียชีวิต พ่อแม่ของเธอกล่าวว่า "แม้ในทุกวันนี้ เรายังยอมรับแทบไม่ได้ว่าการตายของลูกเป็นเรื่องจริง หวังว่าความเศร้าโศกของครอบครัวเราจะไม่สูญเปล่า"
ก่อนหน้านั้น มีกรณีการทำงานหนักจนตายของ น.ส.มัตสึริ ทะคะฮะชิ พนักงานของบริษัทโฆษณาเดนท์สุ ซึ่งต้องทำงานล่วงเวลาถึง 100 ชั่วโมงในเดือนเดียว จนเป็นเหตุให้เกิดความเหนื่อยล้าและความเครียดสะสมรุนแรง จนก่อเหตุฆ่าตัวตายไปในปี 2015 แต่ศาลของกรุงโตเกียวเพิ่งมีคำตัดสินเมื่อ 6 ต.ค. 2560 ให้บริษัทเดนท์สุจ่ายค่าปรับเพื่อเป็นการรับโทษในกรณีดังกล่าวเพียง 500,000 เยน (ราว 150,000 บาท) ฐานละเมิดกฎหมายแรงงานเท่านั้น
รายงานข่าวเรื่องพนักงานที่ทำงานหนักจนตายหลายคน ทำให้สังคมญี่ปุ่นตั้งคำถามต่อวัฒนธรรมองค์กรกันมากขึ้น
รายงานข่าวเรื่องพนักงานที่ทำงานหนักจนตายหลายคน ทำให้สังคมญี่ปุ่นตั้งคำถามต่อวัฒนธรรมองค์กรกันมากขึ้น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ รศ.สกอตต์ นอร์ธ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยโอซากาออกมาชี้ว่า ปรากฏการณ์ "คาโรชิ" นั้นเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมญี่ปุ่น ซึ่งปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่จริงจังจากทางการและคำสั่งลงโทษแบบประนีประนอมจากศาลที่เพิ่งมีขึ้น คงไม่ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ปรับตัวเรื่องการปฏิบัติต่อพนักงานดีขึ้นสักเท่าไหร่
รศ. นอร์ธระบุว่า มีผู้ที่ยื่นเรียกร้องค่าชดเชยจากรัฐบาลกรณีมีญาติที่ทำงานหนักจนเสียชีวิตกว่า 2,000 รายในแต่ละปี โดยในจำนวนนี้รวมถึงผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ได้รับผลกระทบจากการทำงานหนัก เช่น ทุพพลภาพ เป็นอัมพาตเพราะสมองขาดเลือด หรือซึมเศร้ารุนแรงจนไม่สามารถทำงานต่อไปได้รวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม มีคนเพียง 37% ในกลุ่มนี้ที่เรียกร้องค่าชดเชยจากรัฐบาลได้สำเร็จ
#แชร์กับชัยวัฒน์
โฆษณา