8 ก.พ. 2023 เวลา 12:15 • ไลฟ์สไตล์

Stephen Hawking

หนึ่งในภาพยนตร์ที่ผมชอบมากที่สุดตลอดกาลคือเรื่อง The Theory of Everything มันไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ซับซ้อนหรือมีฉากอะไรที่อลังการ แต่ความพิเศษของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการเล่าถึงสิ่งที่มหัศจรรย์ในการดำรงอยู่ของนักฟิสิกส์อัจฉริยะอย่างศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์กิง​ (Stephen Hawking)
6
และผมคิดว่าเราได้บทเรียนจากชีวิตของสตีเฟน ฮอว์กิง อย่างมากทีเดียว
ฮอว์กิงนั้นเกิดที่เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นเขาได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยเป็นนักศึกษาวิจัยด้านจักรวาลวิทยาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อยังเป็นวัยรุ่น เขาชื่นชอบการเล่นกีฬา รวมทั้งการขี่ม้าและพายเรืออย่างมาก
1
แต่เมื่ออายุได้ 22 ปี แพทย์ตรวจพบว่าเขามีอาการของโรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อมชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาทำให้เขาเป็นอัมพาตเกือบทั้งตัว และต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ตลอดชีวิต โดยที่แพทย์ยังได้บอกกับเขาในปี 1964 ขณะที่กำลังเตรียมเข้าพิธีแต่งงานกับเจน ฮอว์กิง ภรรยาคนแรกว่า เขาจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 ปีเท่านั้น
1
สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดในชีวิตของสตีเฟน ฮอว์กิง ไม่ใช่เพียงแค่ความเฉลียวฉลาดของเขา แต่ยังเป็นการต่อสู้กับโรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม (Motor Neurone Disease- อีกชื่อที่เราอาจจะคุ้นเคยกว่าคือ ALS หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง) มาเกือบชั่วชีวิต
5
โดยปกติคนที่เป็นโรคมักจะมีเวลาอยู่บนโลกนี้ไม่นาน หลายคนหลังจากได้รับการวินิจฉัยก็มีชีวิตอยู่ได้อีกแค่ 2-3 ปี ซึ่งคุณหมอของฮอว์กิงก็บอกเช่นนั้นเช่นกัน แต่เขาก็ต่อสู้กับโรคนี้ตั้งแต่วัย 21 และใช้ชีวิตอยู่ต่อมาได้อีก 50 กว่าปี
1
จากอาการป่วยทำให้เขาค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวไป เริ่มเป็นอัมพาตเกือบทั้งตัว และยังสูญเสียความสามารถในการพูดไปอีกด้วย
1
เขาเคยกล่าวไว้ว่า
1
“My expectations were reduced to zero when I was 21. Everything since then has been a bonus.”
4
“ความหวังในชีวิตของผมหายไปจนเหลือศูนย์ในวัยเพียง 21 ปี อะไรก็ตามหลังจากนั้นถือเป็นกำไรชีวิตทั้งสิ้น”
8
แม้จะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวและการพูด ที่ทำให้เขาต้องนั่งรถเข็นและมีอุปกรณ์สังเคราะห์เสียงติดตั้งผ่านการเจาะคอเพื่อให้เขาสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกแทน แต่นั่นก็ไม่ได้ลดทอนความเป็นอัจฉริยะของเขาลงไปแต่อย่างใด
2
สตีเฟน ฮอว์กิงยังได้รับตำแหน่ง “ศาสตราจารย์ลูคาเซียน” ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งตำแหน่งศาสตราจารย์ลูคาเซียนนี้ ก็เคยเป็นตำแหน่งเดียวกันกับเซอร์ไอแซค นิวตัน
3
ประโยคต่างๆ ที่เราเคยได้ยินฮอว์กิงกล่าวไว้ ผมคิดว่าเป็นแนวทางในการเอามาใช้กับชีวิตของเราได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะกับคนที่รู้สึกว่าชีวิตมันน่าเบื่อและไร้ความหมาย
อะไรคือประโยคที่น่าสนใจของฮอว์กิงบ้าง
“Remember to look up at the stars and not down at your feet.”
4
สตีเฟน ฮอว์กิงพูดอยู่เสมอว่า เมื่อเรามองขึ้นไปบนท้องฟ้า จะทำให้เรารู้สึกว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรามาก ทำให้เรารู้ว่าบนท้องฟ้านั้นมีสิ่งมหัศจรรย์ที่รอให้เราค้นหาอยู่
2
“ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง" (Theory of Everything ) หรือแนวคิดที่ฮอว์กิงเสนอว่าจักรวาลมีวิวัฒนาการตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอนชุดหนึ่ง โดนกฎเกณฑ์ที่สมบูรณ์ชุดนี้สามารถให้คำตอบกับเราได้ในคำถามของการถือกำเนิดขึ้นของจักรวาล รวมไปถึงคำถามที่ว่า เรามาจากที่ไหน กำลังจะไปในทิศทางไหน และจะมีจุดจบหรือไม่ ถ้าเราพบคำตอบในเรื่องเหล่านี้ เราก็จะล่วงรู้ถึงจิตใจของพระเจ้าได้
3
งานของเขาอย่างทฤษฎีหลุมดำและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ยังน่าทึ่งมากๆ หากเราคิดว่าต้องใช้พลังและความมุ่งมั่นขนาดไหนถึงจะคิดอะไรแบบนี้ออกมาได้ และข้อจำกัดทางร่างกายดูเหมือนจะไม่ได้เป็นข้ออ้างอะไรเลยสำหรับเขา
1
ถ้าเราแหงนมองท้องฟ้าอยู่เสมอ บางทีเราอาจจะพบกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกิดความคาดหมายของเราก็ได้
“Never give up work. Work gives you meaning and purpose and life is empty without it.”
4
แม้ว่าจะเขาป่วยและขยับตัวไม่ได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดความพยายามในการสร้างผลงานของเขาแม้แต่น้อย ตั้งแต่หนังสือ “A Brief History of Time” ในปี 1988, หนังสือThe Universe in the Nutshell ในปี 2001 หรือ Brief Answer to the Big Questions ผลงานชิ้นสุดท้ายของเขา รวมถึงการค้นพบมากมายเช่น "Gravitational Radiation from Colliding Black Holes" หรือ The development of irregularities in a single bubble inflationary universe" เป็นต้น
3
งานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาทั้งหมดถูกทำขึ้นในช่วงที่ร่างกายของเขามีสภาพย่ำแย่ แต่เขายังมองเห็นความสำคัญของงานที่เขาทำเสมอ และเชื่อว่าชีวิตกับงานเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ เพราะการทำงานไม่ใช่แค่การทำงาน มันคือชีวิตและความหวัง
2
เขาเคยกล่าวถึงคนที่ป่วยแบบเขาว่า
2
“The victim should have the right to end his life, if he wants. But I think it would be a great mistake. While there’s life, there is hope.”
4
ถึงแม้ว่าเขาจะคิดว่าคนที่ป่วยหนักแบบเขานั้น ถ้าหากต้องการทำการุณยฆาตก็คงไม่ผิดอะไร แต่เขาคิดว่ามันน่าเสียดาย เพราะที่ใดมีชีวิต ที่นั่นมีความหวังเสมอ
1
สุดท้ายคือ “If you are lucky enough to find love, remember it is there and don’t throw it away.”
2
จะว่าไป สตีเฟน ฮอว์กิง มีชีวิตนักที่ดราม่าไม่น้อยทีเดียว เขาแต่งงานถึงสองครั้งและมีลูกสามคน
การแต่งงานครั้งแรกของฮอว์กิงฃงคือกับเจน ไวลด์ นักศึกษาที่เขาพบขณะเรียนอยู่ที่เคมบริดจ์ ทั้งคู่แต่งงานกันในปี 1965 และมีลูกด้วยกัน 3 คน คือ โรเบิร์ต, ลูซี และทิโมธี แต่ถึงแม้ฮอว์กิงจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ALS ซึ่งส่งผลต่อชีวิตคู่ แต่ทั้งคู่ยังคงแต่งงานและครองรักกันมานานกว่า 25 ปี
2
อย่างไรก็ตาม ในปี 1990 ฮอว์กิงและไวลด์แยกทางกัน และทั้งคู่ก็หย่าขาดจากกันในปี 1995 ซึ่งหลังจากหย่าขาดจากไวลด์ เขาก็เริ่มมีความสัมพันธ์กับเอเลน เมสัน อดีตพยาบาลคนหนึ่งของเขา โดยทั้งคู่แต่งงานกันในปี 1995 และอยู่ด้วยกันจนกระทั่งหย่าร้างกันในปี 2006
2
แม้ว่าเขาจะไม่ค่อยพูดต่อสาธารณะเกี่ยวกับความรักสักเท่าไร แต่เมื่อเขาพูดมันก็น่าสนใจทีเดียว ซึ่งในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ในปี 2014 ฮอว์กิงถูกถามเกี่ยวกับบทบาทของความรักในจักรวาล เขาตอบว่า "ความรักเป็นพลังที่น่าเกรงขามมากกว่าสิ่งอื่นใด มันมองไม่เห็น ไม่สามารถมองเห็นหรือวัดได้ แต่มันมีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงคุณในชั่วพริบตา และทำให้คุณมีความสุขมากกว่าการครอบครองวัตถุใดๆ"
8
ฮอว์กิงยังกล่าวถึงเรื่องความรักในหนังสือ "A Brief History of Time" ซึ่งเขาเขียนไว้ว่า "เราแต่ละคนมีอิสระที่จะเชื่อในสิ่งที่เราต้องการ และมุมมองของฉัน คำอธิบายที่ง่ายที่สุดคือ ไม่มีพระเจ้า ไม่มีใครสร้างจักรวาล และไม่มีใครกำหนดชะตากรรมของเรา สิ่งเหล่านี้ทำให้ฉันได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ามันอาจไม่มีสวรรค์และไม่มีชีวิตหลังความตายเช่นกัน
6
ฉันคิดว่าความเชื่อในชีวิตหลังความตายเป็นเพียงความคิดเพ้อฝัน ไม่มีหลักฐานที่สามารถเชื่อถือได้ และมันขัดแย้งกับทุกสิ่งที่เรารู้ในทางวิทยาศาสตร์ ฉันคิดว่าเมื่อเราตายเราจะกลับไปเป็นผงธุลี แต่มันก็ยังคงมีสิ่งที่เราหลงเหลือไว้อยู่ ในสิ่งที่เราได้สร้างไว้ และในยีนที่เราส่งต่อไปยังลูกหลานของเรา"
3
เขารู้และเห็นถึงความสำคัญของความรักที่มีต่อชีวิตมนุษย์มากเลยทีเดียว แต่กระนั้นเขาก็ยังรู้อีกว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ แม้แต่สำหรับคนที่ฉลาดที่สุดอย่างฮอว์กิงก็ตาม
2
เขาเสียชีวิตลงในเช้าวันที่ 14 มีนาคม 2018 ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องบังเอิญมาก เพราะอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์​ สุดยอดอัจฉริยะนั้นเกิดวันที่ 14 มีนาคม 1879
5
เราอาจจะสรุปชีวิตของฮอว์กิง ได้จากคำพูดของเขาเองที่ว่า
1
"ผมป่วยมาเกือบตลอดช่วงชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ แต่ผมก็ยังสามารถมีครอบครัวที่สวยงามและประสบความสำเร็จในการงานได้ นั่นแสดงให้เห็นว่า คนเราต้องไม่สิ้นหวัง"
#selfdevelopment
#inspiration
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
โฆษณา