9 ก.พ. 2023 เวลา 03:14 • ประวัติศาสตร์

Human Zoo "สวนสัตว์มนุษย์" ความอัปยศแห่งการเหยียดผิวจากอดีต

สวนสัตว์เป็นสถานที่ใช้เวลาร่วมกันของคนในครอบครัวและพักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวต่างก็ได้เพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจกับสัตว์นานาชนิด ยิ่งเป็นสัตว์แปลก ๆ ที่ไม่สามารถหาพบในประเทศของตนได้ก็ยิ่งน่าดูน่าสนใจเข้าไปใหญ่
ครั้งหนึ่งในอดีตเราเคยมีสถานที่ที่เรียกว่า สวนสัตว์มนุษย์ (Human Zoo) สิ่งที่เขานำมาจัดแสดงนั้นก็คือ"มนุษย์" และมันคือความอัปยศจากอดีตที่มนุษย์บางกลุ่มเป็นผู้ก่อ สะท้อนการเหยียดผิวและหยามชาติพันธุ์อย่างเลวร้ายที่สุดเมื่อคนไม่ถูกมองว่าเป็นคน
2
แม้จะจัดขึ้นโดยอ้างจุดประสงค์ "เพื่อการศึกษา" แต่รูปแบบและวิธีการก็สะท้อนการเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยกันอย่างร้ายกาจ ราวกับพวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่คน ด้วยการจับชาวพื้นเมืองใส่กรงทำคอกกั้นไม่ต่างจากขังสัตว์ใว้ให้คนดู ซึ่งเหล่าผู้ชมนั้นก็คือบรรดาชาวตะวันตกหรือพวกคน "ผิวขาว" ที่มุงดูคนที่ "แตกต่างจากพวกเขา"อย่างอยากรู้อยากเห็น
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นแห่งใดเป็นที่แรก แต่ก็เริ่มมีขึ้นในประเทศแถบตะวันตกนับตั้งแต่ยุคการค้นพบทวีปอเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นต้นมา (ราว ค.ศ.1500s) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่องเรือสำรวจและล่าอาณานิคม ก่อนจะกลายเป็นที่นิยมจัดแสดง "มนุษย์" กันอย่างครึกครื้น ในช่วงปี ค.ศ.1870s-1930s
ส่วนใหญ่พบในประเทศแถบตะวันตกทั้งหลาย อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ รวมทั้งอเมริกา โดยนำชนพื้นเมืองทั้งผิวเหลืองและผิวสีจากพื้นที่หรือประเทศที่ตัวเองรุกรานยึดครองไว้ได้ ทั้งชาวแอฟริกา บรรดานิโกร ชนพื้นเมืองเอเชีย อาทิ ชาวเกาะชวา ชาวเกาะนิวกินี ฯลฯ ตลอดจนชนพื้นเมืองของอเมริกา มาแสดงโชว์
ตัวอย่างสวนสัตว์มนุษย์
ปี 1878 และ 1889 งานปาริเซียง เวิลด์ส แฟร์ ในฝรั่งเศส นำชาวผิวสีกว่า 400 คน มาจัดแสดงในส่วนที่เรียกว่า "หมู่บ้านนิโกร"
ปี 1896 สวนสัตว์ซินซินนาติในอเมริกา จัดแสดงชาวอินเดียนแดงเผ่าซู (Sioux)
ปี 1899 นิทรรศการ "Savage South Africa" ในอังกฤษ นำชนเผ่าซูลูมาจัดแสดง ให้พวกเขาติดเกราะ ถือหอก แสดงการสู้รบกัน ให้นักท่องเที่ยวชม
ปี 1904 งานเซนต์ หลุนส์ เวิลด์ส แฟร์ ในรัฐมิสซูรีของอเมริกา จัดแสดงนิทรรศการ "กระบวนการวิวัฒนาการ" ดยจัดให้ชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์และอินเดียนแดง มีวิวัฒนาการต่ำกว่าคนผิวขาว ขณะที่ชนเผ่าปิ๊กมี่ เป็นคนที่เพิ่งมีวิวัฒนาการพ้นจากลิง
ปี 1906 สวนสัตว์บรองซ์ ในนิวยอร์กอเมริกา นำชาวเผ่าปิ๊กมี่และโอตา เบงกา จัดแสดงภายในกรงเดียวกับอุรังอุตัง
หลายครั้งที่ชาวพื้นเมืองถูกนำมาจัดแสดงในสภาพเปลือยล่อนจ้อนหรือมีอาภรณ์ปกปิดเพียงช่วงล่วง อันยิ่งทำให้เหล่าคนซึ่งเรียกตัวเองว่าผู้เจริญแล้ว มองคนเหล่านี้แตกต่างและอยู่ต่ำต้อยกว่าตนเข้าไปใหญ่ ชาวตะวันตกในขณะนั้นมองผู้คนเหล่านี้ว่า เป็นมนุษย์ที่อยู่ในช่วงระหว่างวิวัฒนาการจากมนุษย์ลิง ก่อนจะกลายเป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบเยี่ยงพวกตนเท่านั้นเอง
ภาพของชาวฟิลิปปินส์ที่นั่งล้อมวงกันในสวนสัตว์ที่เกาะโคนีย์ นิวยอร์ก ซึ่งเราจะเห็นชาวอเมริกันยืนมองอยู่ได้จากด้านหลัง
ศาสตราจารย์ Lutz Heck นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ถ่ายภาพคู่กับช้างและ “ครอบครัวมนุษย์” ที่เขานำมามอบให้สวนสัตว์เบอร์ลินในเยอรมนี 1931
ศาสตราจารย์ Lutz Heck กับสมาชิกของชนเผ่าแอฟริกา Sara-Kaba เมื่อปี 1931 ซึ่งพวกเขาจะถูกจัดแสดงในไม่ช้า ผ้าที่ปากของผู้หญิงในรูปมีไว้ปกปิดจานที่ใส่ไว้ที่ปาก
ชนพื้นเมืองแสดงการการยิงธนูในปี 1904 ภายในกิจกรรมที่ชื่อ “นิทรรศการกีฬาโอลิมปิกคนป่าเถื่อน”
งาน World’s Fair ในกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยียม เมื่อปี 1958 ซึ่งมีการจำลองหมู่บ้านชาวพื้นเมือง Senegalese
Ota Benga และเพื่อนๆ ในงานแสดงสวนสัตว์มนุษย์ที่สวนสัตว์ Bronx ของนิวยอร์ก เมื่อปี 1906
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ของเยอรมนี ถ่ายรูปคู่กับชาวเอธิโอเปีย หลังรั้วไม้ ในปี 1909
เด็กเอสกิโมซึ่งเกิดในสวนสัตว์มนุษย์ กับสุนัขถูกถ่ายภาพในงาน World’s Fair เมื่อปี 1904
ภาพถ่ายของ Carl Hagenbeck ชายผู้ให้กำเนิดสวนสัตว์มนุษย์ถ่ายคู่กับชาวเผ่า Selk’Nam ที่จับมา
ณ ช่วงเวลาหนึ่ง การจับชาวเอเชียและชาวแอฟริกันมาแสดงในสวนสัตว์เป็นที่นิยมอย่างมากในยุโรป
ชาวเอเชียที่ถูกนำมาแสดงในงาน Parisian World Fair ปี ค.ศ. 1931
ในช่วงศตวรรษที่ 20 เสียงตอบรับต่อสวนสัตว์มนุษย์ก็ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละนิด จากที่เคยมีคนสนับสนุนมาก สวนสัตว์มนุษย์ก็เริ่มถูกมองว่าโหดร้ายทารุณไร้มนุษยธรรม ทำให้สวนสัตว์มนุษย์ค่อยๆ หายไปจากโลกใบนี้ในที่สุด
มนุษย์มีการศึกษาและมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องความแตกต่างของชาติพันธุ์ "สวนสัตว์มนุษย์" จึงค่อยๆลดลงและเริ่มหายจากไป แต่ใช่ว่าการเหยียดผิวและความแตกต่างทางเชื้อชาติจะจางหายไปด้วย
การเหยียดผิวและชาติพันธุ์ยังคงไม่หายไปไหนมันแค่เปลี่ยนรูปแบบไป ส่วนคนเราก็เพียงแค่ทำเป็นฝังลืมมันไว้ในอดีตเท่านั้นเอง
ขอบคุณครับ :)
ขอบคุณบทความดีๆจาก : https://www.catdumb.com/history/28850
โฆษณา