23 ก.พ. 2023 เวลา 06:00 • ธุรกิจ

เทคนิคในการสัมภาษณ์งานแบบ *STAR*

เมื่อเราเริ่มพูดถึงกระบวนการในการรับพนักงานเข้ามาทำงาน การสัมภาษณ์งานก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการพูดถึงอยู่ ซึ่งมันเป็นงานสำคัญของทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จะต้องใช้ทักษะต่างๆ ในการคัดสรรพนักงานที่จะเข้ามาทำงานกับเราอย่างเชี่ยวชาญ
เพื่อช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีหน้าที่คัดสรรคนเข้ามาทำงานสามารถที่จะคัดกรองผู้สมัครได้อย่างแม่นยำตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนขั้นตอนสุดท้ายในการสัมภาษณ์
จึงเป็นที่มาของบทความนี้ที่ B Work Story อยากจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกับเทคนิคที่ชื่อว่า STAR เพื่อทำให้คนรู้จักกับผู้สมัครงานได้ง่ายขึ้น และเช็คดูว่าผู้สมัครเหล่านี้เป็นคนที่เขาคิดว่าเหมาะสมกับตำแหน่งอยู่หรือไม่
เทคนิค STAR คือ?
เทคนิค STAR คือรูปแบบที่ใช้ในการตอบคำถามกับการสัมภาษณ์ประเภทคำถามที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ซึ่งเป็นคำถามที่ถามเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ในอดีตหรือประสบการณ์ต่างๆ เพื่อเช็กดูว่าผู้สมัครท่านนี้ทำงานร่วมกับบริษัทเราแล้ว เขาจะสามารถจัดการหรือแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่
ตัวอย่างรูปแบบประโยคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม มักจะขึ้นด้วยประโยคที่ว่า...
ช่วยเล่าเหตุการณ์ตอนที่เจอ….
คุณจะทำอย่างไรเมื่อ….
คุณเคยทำ….ไหม
ช่วยยกตัวอย่าง…
เวลาเราเจอคำถามแบบนี้ ถ้าไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนแล้วตอบสั้นๆ ไม่สามารถจับใจความใดๆ ได้ หรือฟังแล้วยืดยาวไปก็น่าเบื่อ มันเลยมีการนำ STAR มาใช้ ทำให้เราเล่าเรื่องได้กระชับมากขึ้นและตรงตามเวลาต้องการของผู้สัมภาษณ์
เทคนิค STAR ย่อมาจากอะไร?
  • S-ituation (สถานการณ์) = เล่าถึงสถานการณ์รอบๆ ที่สำคัญๆ เท่านั้น
  • T-ask (เป้าหมาย) = เล่าและอธิบายหน้าที่ที่เราต้องทำ
  • A-ction (การกระทำ) = ทำตามขั้นตอนให้ได้ บรรลุเป้าหมายที่สำเร็จ
  • R-esult (ผลลัพธ์) = จบด้วยบทสรุปหรือผลลัพธ์ของสิ่งนั้น
นำไปใช้อย่างไร?
อย่างแรกเลยคือ
1. เลือกสถานการณ์ (Situation) ให้เหมาะสมและน่าสนใจ
สิ่งแรกที่ควรทำเลย คือ ลิสต์เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับสายงานทั้งทางตรงและทางอ้อมไว้บนกระดาษ และหลังจากนั้นก็เลือกเหตุการณ์ที่เหมาะสมกับคำถาม ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าเราจะลืมเรื่องที่เล่าเพราะอย่างน้อยเรามีเวลาได้ทบทวน 3 วินาทีระหว่างสัมภาษณ์ และพยายามสรุปให้กระชับ และใช้เวลาเล่าประมาณ 10-15 วินาที
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าการสัมภาษณ์มีการถามถึงสถานการณ์ที่ทำอะไรผิดพลาดกับลูกค้า เราก็ต้องเล่าตั้งแต่การหาลูกค้าเลย แต่เป้าหมายของการเล่าเพื่อเกริ่นในครั้งนี้ ต้องมีการโยงไปสู่ผลลัพธ์ในตอนท้ายที่ดูน่าสนใจ
  • ในช่วงที่ผมทำงานกับบริษัทเก่า ผมเคยได้รับมอบหมายงาน 20 ล้านบาท และลูกค้าตกลงจบงานที่ 3 เดือน แต่พอหลังจากนั้น 3 วัน อยู่ๆ ลูกค้าก็เกิดเปลี่ยนใจ อยากได้งานเร็วขึ้นอีก 1 เดือน
2. เป้าหมาย (Task)
ก่อนที่เราจะเล่าสิ่งที่เราจะทำต่อไป ให้เน้นไปที่เป้าหมาย ตรงหน้าที่ในสถานการณ์นั้นๆ ตลอดไปจนถึงวัตถุประสงค์
ตัวอย่างเช่น :
  • ในตอนที่ผมทำงานในตำแหน่งผู้จัดการการตลาด เป้าหมายก็คือการเพิ่มรายชื่ออีเมลลูกค้าอย่างน้อย 50% ในเวลาเพียง 4 เดือน สิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็คือการหาทางออกให้กับบริษัทก่อนที่บริษัทจะเสียลูกค้า หรือขาดทุนเพราะลูกค้ายกเลิก order
3. แบ่งเป็นวิธีแก้ปัญหา (Action)
เป็นส่วนที่ต้องอธิบายสิ่งที่เราทำ และวิธีที่เลือกใช้แก้ปัญหา ซึ่งสามารถเป็นโอกาสที่จะแสดงศักยภาพของตัวเราเองได้เด่นชัด ฉะนั้นเรื่องราวควรประกอบไปด้วยข้อมูลเพียงพอกับวิธีการแก้ปัญหา อย่างเช่น
เราทำงานเป็นทีมไหม?
ใช้ Software อะไรอยู่บ้างในปัจจุบัน
เราวางแผนอย่างไรบ้าง?
ตัวอย่างสถานการณ์ ประโยคสิ่งที่ทำ (Action) :
  • ผมลองย้อนกลับไปดูเนื้อหาในบล็อกเก่าและตัดสินใจพัฒนาเนื้อหาให้จูงใจลูกค้า จนรู้สึกว่าอยากจะสมัครรับอีเมลมากขึ้น มันทำให้เว็บไซต์เราเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นทันที และหลังจากนั้นก็ทำงานร่วมกับทีมการตลาดเพื่อวางแผนและจัดการสัมภาษณ์ผ่านเว็บไซต์ที่ต้องใช้ที่อยู่อีเมลในการลงทะเบียน ซึ่งดูน่าดึงดูดลูกค้าเป็นอย่างมาก
4. กระจายผลลัพธ์ (Result)
ในส่วนสุดท้ายของการดำเนินการก็คือ การเล่าถึงผลลัพธ์ที่มาจากการกระทำของเราและมันคือผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ไม่ลืมที่จะดึงความสนใจจากผู้สมัครด้วยการเล่าสิ่งที่เราเรียนรู้จากการแก้ไขปัญหาในตอนจบ จะต้องทำให้ผู้สัมภาษณ์สนใจผลลัพธ์ที่มาพร้อมเหตุผลประกอบที่ดี
ตัวอย่างเช่น :
  • หลังจากที่เราได้มีการเพิ่มกลยุทธ์อีเมล เราสามารถเพิ่มรายชื่อสมาชิกขึ้นมาได้เป็น 1 เท่าตัวภายในสามเดือน มันเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
  • ท้ายนี้ผมอยากดูแลจัดการสิ่งนี้โดยไม่ต้องเสียลูกค้า และยังได้รับคำชื่นชมยินดีจนออร์เดอร์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายใน 4 เดือน มันทำให้สร้างรายได้กับบริษัทอย่างมหาศาลมากถึง 100 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการสัมภาษณ์งาน
1. คนเราผิดพลาดกันได้
การสัมภาษณ์ในทุกๆ ครั้ง มันไม่มีครั้งไหนที่จะเหมือนกันเลยสักครั้ง เพราะไม่ว่าจะทั้งสถานการณ์การให้สัมภาษณ์ ทั้งถามคำถามยากง่าย ทั้งบุคลิกคนถามที่ต่างออกไป แม้จะอ่านคู่มือมาแล้ว แต่พอเวลาผู้สัมภาษณ์อยู่ซึ่งๆ หน้า ความกดดันมันก็ถาโถมเข้ามา จนไม่เป็นตัวเองและตอบคำถามโดยที่ไม่เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด
พอเราสัมภาษณ์เสร็จก็จะรู้สึกแย่ คิดว่าไม่ได้งาน ราวกับว่าโอกาสนี้ได้หลุดลอยไปและจะไม่มีโอกาสที่จะได้ทำมันอีก คิดว่าตัวเองไม่สมควรค่าพอ แต่จริงๆ แล้ว เรายังมีโอกาสดีๆ ที่จะเข้ามาหาเราเสมอ ถือว่าเราผิดพลาดกันได้
2. ครั้งนี้ทำได้ไม่ดี ครั้งหน้าเราจะทำให้ดีกว่าเดิม
เวลาเราสัมภาษณ์ไปสักพักเราจะเจอข้อเสียของตัวเอง เช่น การตอบในเชิงสร้างสรรค์ที่ไม่ได้มาพร้อม passion หรือความมั่นใจ เราจะรู้ว่าเราผิดพลากตรงไหน แล้วก็จะต้องยอมรับในจุดที่จะต้องปรับปรุง เพราะเมื่อเราผ่านไปจุดหนึ่งแล้วเราจะรู้ข้อเสีย ข้อดี จนปรับมันให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น มองโลกในแง่ดีเสมอ ไม่จมกับความคิดในการสัมภาษณ์ครั้งก่อนที่เราพลาด โฟกัสกับครั้งถัดไปให้ดี
3. สนุกสนานไปกับมัน
สิ่งที่จะต้องรู้สึกในการสัมภาษณ์เลย อย่างแรกก็คือ การทำให้ตัวเองนั้นสนุกกับการสัมภาษณ์ก่อน เหมือนกับการเล่นเกมๆ หนึ่ง ถ้ามันจบเราก็แค่เริ่มใหม่ หลังจากนั้นเราก็ตอบคำถามได้อย่างฉะฉาน และพร้อมรับคำถามที่จะส่งมาในทุกรูปแบบเหมือนที่เราได้รับกฏใหม่ๆ จากเกม
สุดท้ายนี้แล้วเราขอมอบกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่กำลังเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน และส่งต่อบทความนี้พร้อมเทคนิค STAR ให้เพื่อนๆ ลองนำไปประยุกต์ใช้กันดูได้เลยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.themuse.com/advice/star-interview-method
โฆษณา