26 ก.พ. 2023 เวลา 13:56 • ความคิดเห็น

ระหว่างเดินทางด้วยรถยนต์สาธารณะในยามเช้า

ผมได้สังเกตเห็นพฤติกรรมของคนขับรถบนท้องถนน คือแต่ละคันพยายามที่จะเปลี่ยนเลนของตนเองไปยังเลนด้านข้างที่เร็วกว่า แต่เมื่อเปลี่ยนเลนกลับกลายเป็นว่าเลนที่ตนพึ่งย้ายมานั้นกลับไปได้เร็วกว่า
คำถามที่เกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนเลนไปยังเลนด้านข้างทำให้ไปถึงจุดหมายได้เร็วขึ้นจริงหรือ?
ในกรณี่รถในเลนของเรานั้นติดอยู่และเรามองไปยังเลนด้านข้างปรากฏว่ารถในเลนด้านข้างนั้นเร็วกว่า เราจึงเปลี่ยนเลนไปยังด้านข้าง ในช่วงแรกนั้นอาจเคลื่อนที่ได้เร็วบ้างแต่เมื่อผ่านไปสักพักรถจะติดอีกครั้งและเลนด้านข้างที่เราพึ่งข้ามมาจะเร็วกว่า
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เหตุผลที่เป็นไปได้ คือการที่เราเห็นใช่ว่าคนอื่นจะไม่เห็น คนอื่นนั้นก็เห็นเหมือนเรา เขาจึงตัดสินใจเหมือนเราด้วยการเปลี่ยนเลน จากเลนที่ไปได้จึงกลายเป็นเลนที่ติด
ถ้าเราลองจำรถที่อยู่ด้านข้างที่พยายามเปลี่ยนเลนไปมาเมื่อผ่านไปสักพักเราจะเห็นรถคันนั้นอยู่บริเวณที่ใกล้กับเราอีกครั้ง เป็นเพราะการเปลี่ยนเลนไปมามีช่วงเวลาที่ถูกต้องของการตัดสิน
สมมติว่าเลนที่เราอยู่ติดมาสักพักแล้วคนในเลนของเราก็จะมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไปยังเลนด้านข้างเมื่อใดที่เกิดการตัดสินใจเปลี่ยนเลน รถในเลนที่ตนพึ่งย้ายมานั้นจะว่างส่วนเลนที่ตนย้ายเข้ามานั้นจะติด
เราจึงมักเห็นว่าเมื่อเราเปลี่ยนเลนไปยังด้านข้าง กับกลายเป็นว่าเลนที่พึ่งย้ายมานั้นไปได้เร็ว เสมือนว่าการเปลี่ยนเลนอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดี
สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการตัดสินใจเหมือนกันเป็นจำนวนมากและพร้อมกันในช่วงระยะเวลาที่สั้น
ดังนั้นผมไม่ได้หมายความว่าการเปลี่ยนเลนเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง บางครั้งผมเองก็ขับรถสลับเลนไปมาเหมือนกันและถึงที่หมายเร็วด้วยเป็นบางครั้งแต่ก็แลกมากับความเสี่ยงในการถูกเฉี่ยวชน และอาจจะต้องเสียเวลามากกว่าเดิมซึ่งจะส่งผลต่อผู้ขับขี่คนอื่นๆอีกด้วย
ทางที่ดีที่สุดและปลอดภัยคือการอยู่ในเลนตัวเองและปล่อยให้ผู้คนตัดสินใจกันเองในระหว่างที่เรารอคอยรอบของเลนตนเอง
สุดท้ายนี้ การตัดสินใจที่มีเหตุผลและเราคิดว่าเป็นผลดีต่อตัวเราเองในบางครั้งอาจจะไม่ใช่ผลต่อตัวเราจริงเสมอไปดังเช่นตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น
โฆษณา