27 ก.พ. 2023 เวลา 09:10 • ประวัติศาสตร์

ทำไมไทยถึงใช้ไฟ 220 โวลต์ ?

เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมน้องไทยเราถึงใช้ไฟฟ้าในช่วงแรงดันไฟฟ้า(V)นี้ ผมขอย้อนไปสมัยลุงเอดิสันกันเลยนะครับ แกค้นพบว่าไฟฟ้า 100 โวลต์ มันทำให้ไส้หลอดไฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด (ซึ่งเมื่อก่อนไส้หลอดไฟทำจากคาร์บอน) ก็คือว่ายิ่งใช้ได้นาน ต้นทุนในการผลิตก็ยิ่งลดลง ที่เทคแคร์หลอดไฟกันหนักขนาดนี้เพราะว่าเมื่อก่อนอุปกรณ์ไฟฟ้ามีแค่หลอดไฟเท่านั่นเอง ทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ใช้เมื่อก่อนใช้แรงดันที่ 110 โวลต์
6
รูปที่ 1.1 หลอดไฟหลอดแรกได้สว่างขึ้น 21 ตุลาคม 2544
เอ๊ะ!! ทำไมไม่ใช้ 100 โวลต์น่ะเหรอ ก็เพราะว่ามีการเพิ่มแรงดันไป 10% เพื่อชดเชยแรงดันไฟฟ้าที่สูญหายภายในสายนั่นเอง 100 + (100X10/100) = 110
จึงเป็นที่มาของแรงดันไฟฟ้า 110 โวลต์
3
ประเทศไทยเริ่มใช้ไฟครั้งแรกที่แรงดัน 110 โวลต์ โดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟมาจากประเทศอังกฤษ และได้จ่ายกระแสไฟฟ้าครั้งแรกในวันที่ 20 กันยายน 2427 (ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของรัชกาลที่ ๕)
รูปที่ 1.2 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
หลังจากนั้นเพียงไม่นาน ประเทศเยอรมนีได้ค้นพบแรงดันไฟฟ้าที่ 220 โวลต์ ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่า สามารถคำนวณได้จากสูตร
12
กำลังไฟฟ้า (P) = แรงดันไฟฟ้า (V) x กระแสไฟฟ้า (I)
ก็คือเมื่อแรงดันไฟฟ้า(V) สูงขึ้น จาก 110 เป็น 220 กระแสไฟฟ้า(I) ก็จะต่ำลง
ดังสูตร กระแสไฟฟ้า (I) = กำลังไฟฟ้า (P) / แรงดันไฟฟ้า (V) แรงดันไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทำให้ตัวหารเพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้กระแสไฟฟ้าลดลง
กระแสไฟฟ้าที่ลดลงข้อดีคือ ตัวนำก็เล็กลงตาม คือเราไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งเส้นใหญ่เหมือนเมื่อก่อน (อย่าลืมว่ามันต้องลากสายทั่วประเทศ) ซึ่งต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าในส่วนนี้จึงลดลงนั่นเอง เแถมยังประหยัดต้นทุนเรื่องการปักเสาไฟฟ้าอีกด้วย เพราะเมื่อสายส่งเล็กลง เสาไฟฟ้าก็ไม่จำเป็นต้องปักถี่แบบเมื่อก่อน
คราวนี้เราก็ได้คำตอบแล้วใช่มั้ยครับว่า ทำไมน้องไทยเราถึงใช้ไฟฟ้าที่แรงดัน 220 โวลต์ ซึ่งมีข้อดีมากกว่าแบบเดิม ส่วนประเทศที่ใช้ไฟฟ้าในระบบ 110 โวลต์ คือประเทศที่วางระบบนี้มานานแล้ว จึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก หากเปลี่ยนแปลงระบบ เช่นสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอารเบีย และญี่ปุ่น
7
ขอขอบคุณร้าน PLUG_SHOP แหล่งรวบรวมงานไฟฟ้า และสินค้าไอที
4
โฆษณา