27 ก.พ. 2023 เวลา 17:27 • ปรัชญา

ศีลเสมอกัน เทคนิคในการเลือกเพื่อน และคนรักให้ยั่งยืน

“ศีลเสมอกัน” คำนี้ได้ยินบ่อยมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในการเลือกคบแฟน หรือเพื่อน บางครั้งก็เหมือนกับการเสี่ยงดวง แต่ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากรักษาสัมพันธ์ที่ดีกันให้ยาวนาน ดังนั้นหากเราเอาแนวทางนี้มาใช้ ก็เป็นวิธีที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งเลยในการเลือกคบใคร
พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสไว้ว่า “... ดูก่อนคฤหบดี และคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามี ทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้ ทั้งสองนั้นแลพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยา และสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกัน และกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ...”
หรือปัจจุบัน อาจะสรุปคำว่า “ศีลเสมอกัน” ได้สั้นๆว่า “คนสองคนที่มีมาตรฐานในเรื่องต่าง ๆ เท่า ๆ กัน มีรสนิยม และแนวคิดคล้ายๆกัน มีความคิดเรื่องความดีความชั่วเสมอกัน” เช่น
- มีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งเดียวกัน มีมุมมองในเรื่องต่าง ๆ คล้ายกัน มีความชอบและรสนิยมตรงกัน
- รักษาศีลเสมอกัน ไม่ต่ำไม่สูงไปกว่ากัน
- มีจาคะเสมอกัน เป็นคนใจกว้าง แบ่งปันไม่มากหรือน้อยไปกว่ากัน
- มีความรู้ ปัญญา ความเชี่ยวชาญที่เกื้อหนุนกันและกันได้
1
ในอดีตการเลือกคนที่ศีลเสมอกันเป็นคู่ครอง หรือคบหากัน อาจจะใช้ศีลในการตัดสินใจเลือกคบ เช่น คนที่รักษาศีลจะรู้จักยับยั้งชั่งใจพากันไปสู่สิ่งที่ดีงาม สร้างชีวิตครอบครัวให้มีความสุข หรือถ้าคบหากันก็ชวนกันทำแต่ความดี ชีวิตย่อมเจริญรุ่งเรืองไปด้วยกัน ไม่มีใครคอยฉุดดึงชีวิตอีกฝ่ายให้ต่ำลง
แต่กับคนที่ศีลไม่เสมอกัน เช่นคนหนึ่งชอบทำบุญ รักษาศีล แต่อีกคนไม่รักษาศีล หรือรักษาศีลน้อยกว่า ก็มักจะชวนกันไป เล่นการพนัน นอกใจ กินเหล้าเมาหัวราน้ำ ซึ่งย่อมทำให้มีโอกาสที่จะทะเลาะกัน เนื่องจากทั้งสองคนมีศีลไม่เสมอกันก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่ด้วยกันได้
ถึงแม้บางที่ “ศีลเสมอกัน” อาจจะไม่ใช่แนวทางเดียวในการเลือกคบคน หรือคนรัก อาจจะมีปัจจัยหลายๆอย่างมาเกี่ยวข้องด้วย แต่ทั้งนี้ ข้าพเจ้า ก็คิดว่าแนวทางนี้ก็เป็นอีกแนวทางที่ใช้ได้จริง และเป็นแนวทางทางความคิดที่ดีมากๆอีกแนวทางหนึ่ง
เพ้อเจ้อรอบดึก
อ้ายเคน (Ordinary man) 28 ก.พ. 2566
โฆษณา