1 มี.ค. 2023 เวลา 14:37 • ความคิดเห็น
แนะนำเทคนิคจากหนังสือ เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ เพื่อช่วยให้คุณมีความจำที่ดีขึ้น
1. ทำความเข้าใจ : เวลาในช่วงเช้าตรู่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการเก็บข้อมูลไว้ใช้กับ "การทำความเข้าใจ" อาจใช้วิธีมองภาพใหญ่เพื่อไม่ให้เสียสมาธิไปกับรายละเอียดเล็ก ๆ ที่ไม่สำคัญ ทำให้มองเห็นความเชื่อมโยงได้อย่างรวดเร็วจนนำไปสู่การเกิดความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย และหากอยากจำเรื่องไหนแม่น ๆ ก็ให้คิดว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะสมองของมนุษย์จะเลือกจำแต่ข้อมูลที่สำคัญ
1
2. การจัดระเบียบ (การจดโน๊ต) : เพราะอาวุธที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดการจดจำมากขึ้นก็คือ "การจด" สมุดโน๊ตที่ผ่านการจัดระเบียบมาเป็นอย่างดี ดูสะอาดตา เข้าใจง่าย ตัวหนังสือเป็นระเบียบสวยงาม จะช่วยให้ง่ายต่อการรับข้อมูลเข้าสมอง การหมั่นจดโน๊ตให้เป็นระเบียบก็จะช่วยให้สามารถจำได้ดียิ่งขึ้น
3. การจำ : มีเทคนิคที่ช่วยให้เกิดการจำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากมาย เช่น การจำด้วยการจด การจำด้วยการแก้โจทย์ (ข้อสอบ) การจำด้วยคำพ้องเสียง การฝึกแต่งเรื่องสั้นด้วยหลัก 5W1H การเล่าให้คนอื่นฟัง การสอนคนอื่น การจับกลุ่มติว เป็นต้น โดยช่วงเวลาตอนกลางคืนก่อนเข้านอนจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การจำและการทบทวน แต่ก็ไม่ควรอดนอน หรือโต้รุ่งอ่านหนังสือ เพราะถึงแม้จะอ่านหนังสือจนดึกแต่เหลือเวลานอนเพียง 3-4 ชั่วโมง ก็จะทำให้จำไม่ได้นาน
4. การทบทวน : ความจำจะถูกลบเลือนไปตามกาลเวลา สิ่งเดียวที่จะช่วยรักษาความจำไว้ได้คือการทบทวน โดยหมั่นทบทวนข้อมูล 3 ครั้ง/สัปดาห์ อาจใช้วิธีทบทวนด้วยการจด การเล่า และเวลาที่เราอ่านออกเสียง หูจะถูกกระตุ้นไปพร้อมกับปากที่กำลังอ่าน ซึ่งการใช้อวัยวะหลายส่วนในเวลาเดียวกันจะช่วยให้จำแม่นยิ่งขึ้น
ที่มาจากหนังสือ "เทคนิคจำแบบไม่ต้องจำที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ"
ผู้แต่ง ชิอง, คะบะซะวะ
เลขเรียกหนังสือ 153.124 ช576ท 2563
โฆษณา