6 มี.ค. 2023 เวลา 09:14 • หุ้น & เศรษฐกิจ

🔎[INVESTMENT] ทำไม MEB หุ้น Tech ขนาดเล็กที่พึ่งออก IPO ยังมีโอกาส “เด้ง”?!?

MEB หนึ่งในหุ้นเทค ของไทยที่น่าสนใจและพึ่งเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เมื่อเดือนที่ผ่าน ซึ่งกำหนดราคา IPO ที่ 28.5 บาทต่อหุ้น หลังจากเปิดเทรดวันแรกราคาขึ้นไปถึง 45 บาท, +57.89% และล่าสุดราคาอยู่ที่ 38.25 บาท ณ วันที่ 3 มีนาคม
ด้วยการครองตลาด E-book มากกว่า 60% ของตลาดในปัจจุบัน และ ด้วยจุดแข็งในด้าน Business Model MEB จะมีโอกาสเป็นเสมือน Amazon เมืองไทยหรือไม่? เรามาวิเคราะห์กันครับ
📌จุดเริ่มต้น
MEB ก่อตั้งโดย คุณโก๋ กิตติพงษ์ แซ่ลิ้ม และ คุณไช้ รวิวร มะหะสิทธิ์ ทั้งคู่จบจาก วิศวะ จุฬาฯ พร้อมกับ Passion ในด้านหนังสือวรรณกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ และ ความรู้ด้าน Software โดยทั้งคู่พบ Pain point ของการเขียนหนังสือ ตั้งแต่การผลิตไปจนขาย จึงมาก่อตั้ง MEB platform สำหรับ E-book ด้วยกัน ต่อมา มี Partner เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจให้ขยายและเติบโต คือ กลุ่ม บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ CRC
 
📌 ลักษณะธุรกิจ
MEB ดำเนินธุรกิจ E-Book ผ่านแพลตฟอร์ม MEB, readAwrite และ Hytexts โดย
1. MEB เป็น Platform สำหรับ “สำนักพิมพ์และเจ้าของผลงานอิสระ” ที่นำวรรณกรรมมาจำหน่ายผ่าน platform คล้ายกับการเป็นร้านหนังสือตามปกติแบบดั้งเดิม
2. readAwrite เป็น UGC Platform สำหรับ “นักอ่านและนักเขียน” เพื่อโพสต์คอนเทนต์หรือเนื้อหาต่างๆ ในชุมชน
3. Hytexts เป็นการขาย E-reader ผ่านช่องทางต่างๆ และ ให้บริการ E-library (ห้องสมุดออนไลน์) สำหรับองค์กร
📌 Business Model
บริษัทนี้มี Business model ในลักษณะของ Platform Business Model ซึ่ง MEB จะเป็น ตัวกลางในการดึงนักเขียนให้เข้ามาใน Platform ซึ่งเป็นการสร้าง Supply ผ่านการสร้าง Content ต่างๆ และเมื่อ Content ดีๆ แทบทั้งหมดอยู่ที่ Platform ของ MEB จะนำไปสู่การดึงให้ ผู้อ่าน ซึ่งเป็น Demand นั้นเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดการเพิ่มขึ้นของทั้ง Supply และ Demand จะทำให้ เกิด Network effect ที่แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ของ Platform
1
📌 จุดเด่นของ MEB
✅หนังสือขายดีหลักๆคือ ”นิยาย” ซึ่งต่างจากของคู่แข่งที่เน้นไปทาง หนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร โดยนิยายนั้นมีข้อดี คือคนจะอ่านเป็นชุดและสามารถขายได้ตลอดเวลา หากเวลาผ่านไป สามารถเปลี่ยนหน้าปกมาขายซ้ำได้ แต่ หนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร นั้นต่างออกไป
✅ประกอบกับการที่ MEB มี UX UI ที่ลื่นและใช้ง่าย และ เมื่อพบเจอปัญหาการอ่าน MEB จะมี Admin ที่ให้บริการได้อย่างรวดเร็วและทันที เช่นเดียวกันกับในฝั่งนักเขียน MEB จะมีระบบที่คอยช่วยเช่น Back up ข้อมูลต่างๆ
✅ ยิ่งไปกว่านั้น การมี Partner ที่ยอดเยี่ยมอย่าง COL ที่ตั้งแต่เข้ามา ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตแบบก้าวกระโดด
📌 รูปแบบรายได้ (Revenue Model)
MEB จะหาเงินด้วยวิธีการที่เรียกว่า Revenue Sharing ครับ ขอยกตัวอย่างคือ ราคาขายหนังสือ 1 เล่มที่ราคา 100 บาท หักค่าธรรมเนียมตัวกลางชำระเงินผ่านระบบ 4 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งให้กับ Publisher/Writer ที่ 70% และ Platform MEB ที่ 30% แต่หากเป็นในกรณีของ donate จะเป็น Publisher/Writer ที่ 90% และ Platform MEB ที่ 10%
📌 ขนาดตลาดเป็นอย่างไร ?
ขนาดตลาด E-book ในประเทศไทยจากข้อมูลของ Statista ในปี 2017- 2022 คือ 2,438 / 2,732 / 3,399 / 3,453 / 3,634 / 4,166 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นการเติบโตทบต้น (CAGR) ที่ 11.31% และ ช่วงที่สองตั้งแต่ปี 2023 – 2027 คือ 4,620 / 4,916 / 5,149 / 5,310 / 5,434 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นการเติบโตทบต้น (CAGR) ที่ 4.14%
หากแบ่งออกเป็นสองช่วงจะพบว่าช่วงก่อนที่มีการเข้า IPO นั้นตลาดโตได้ค่อนข้างแรง แต่หลังจากนี้การเติบโตลดลงไปราว 60% ซึ่งเกิดมาจากฐานที่สูงในช่วง COVID
ในอนาคตคาดว่าตลาดจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะ ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทุกคนมี Smartphone กันแทบ 100% และ E-book Penetration เพียง 12% ห่างกับผู้นำอย่างจีนที่ 25% จึงยังมี Runway ให้เติบโตได้อีก
1
📌 MEB จะเติบโตได้อย่างไรในอนาคต
MEB จะเติบโตผ่านการมี New Product and Market:
1) New Product: การนำวรรณกรรมจากต่างประเทศ (แปล) และ การนำการ์ตูน Webtoon มาจำหน่าย เพื่อเป็นการเปิดตลาดใหม่
2) New Market: การนำ Platform ไปขยายในต่างประเทศ และ การนำ Existing Product ไปทำเป็น English Version เพื่อขายในต่างประเทศ
📌วิเคราะห์คู่แข่ง
ในตลาด E-book นอกจาก MEB แล้วก็ยังมีเจ้าอื่นๆเช่น Ookbee แต่สาเหตุที่ทำให้ MEB ครองตลาดได้มากที่สุด น่าจะเป็นเพราะ
1) UX/UI ทีดี ใช้งานง่าย
2) ระบบหลังบ้านที่ยอดเยี่ยม ซึ่งคอย Support User ได้รวดเร็วเมื่อพบปัญหา
3) ความโดดเด่นในด้านสินค้าอย่าง “นิยาย” ซึ่งยากที่จะแข่งด้วย
4) การ Monetization ซึ่งดูได้จากรายได้ต่อผู้เข้าชม ที่ MEB ทำได้ถึง 78 บาท ในขณะที่เจ้าอื่นทำได้ต่ำกว่ามาก
📌 สรุป
หากมองในทุกมุม MEB เป็นธุรกิจที่ยอดเยี่ยม ในแบบที่มี ต้นทุน Fixed cost จำกัด รายได้หลังจากนี้แทบทั้งหมดจะลงสู่ Bottom line ทำให้ NP Margin % จะเติบโตเร่งตัวขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมๆกับรายได้ และการเติบโตของอุตสาหกรรม รวมถึงการกิน Market share ของคู่แข่ง ประกอบกับฐานะการเงินที่แข็งแรง กระแสเงินสดดี ไม่มีหนี้ และมี Cash cycle -28 วัน คือโตแบบไม่มีหนี้
สุดท้ายหากมองในมุมว่าจะเป็นหุ้นเด้งไหม ขอมองในมุมที่ว่า อุตสาหกรรมในปี 2027 ของตลาด E-Book คาดว่ามีมูลค่าราว 5,400 ล้าน หากคิดว่า บริษัทมี Market share ที่ราว 70% ก็มองได้ที่ 3,780 ล้านบาท และมีรายได้ที่ 30% คิดเป็น 1,134 ล้านบาท ส่งผลให้ กำไรสุทธิที่ 25% คือ 280 ล้านบาท หลังจากนี้คงต้องดูว่าตลาดจะให้ ความ Premium ของตัวนี้สำรับ PE กี่เท่า ก็จะคำนวน Upside ได้ครับ
#TraderKP
#เพื่อไม่ให้พลาดทุกสาระที่ทันโลก แนะนำให้ทุกท่านเปิดกระดิ่งตั้งค่า "รายการโปรด" หรือ "Favourite" ไว้บนเพจได้เลยครับ (เพื่อจะได้ไม่โดนการปิดกั้นการมองเห็นจากทาง Facebook)
🔈 ติดตามทุกข่าวสาร + สาระการลงทุนที่ “ทันโลก” กับทีม Trader KP ได้ทุกช่องทางผ่าน
โฆษณา