7 มี.ค. 2023 เวลา 08:53 • สิ่งแวดล้อม

“น้ำ” ไม่มีวันหมดไปจากโลกจริงหรือ?

ถึงแม้พื้นที่บนโลกของเราจะประกอบไปด้วยน้ำมากถึง 3 ใน 4 ส่วน แต่ไม่ใช่น้ำทั้งหมดที่เราจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะ 97% ของปริมาณน้ำที่มีเป็นน้ำเค็มที่อยู่ในทะเลและมหาสมุทร มีเพียง 3% เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นน้ำใต้ดินและน้ำจืดที่อยู่ในรูปน้ำแข็งและหิมะ เช่น ภูเขาขั้วโลกและธารน้ำแข็ง ดังนั้นน้ำจืดที่มนุษย์จะสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้จึงมีเพียงแค่ 1% ซึ่งก็คือแหล่งน้ำบนดินอย่างแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร เท่านั้น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเศรษฐกิจโลกก็ขยายตัวมากขึ้น ทำให้อัตราความต้องการใช้น้ำในทุกภาคส่วนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ (UN Water) ออกมาให้ข้อมูลว่าภายในปี 2568 จะมีประชากรราว 4,000 ล้านคน ใน 48 ประเทศต้องเผชิญกับสภาวะขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง และคาดว่าประชากรที่ประสบกับปัญหานี้จะทวีจำนวนขึ้นเป็น 5,700 ล้านคนภายในปี 2593
สองปัจจัยหลักๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำก็คือการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สมดุลวัฏจักรของน้ำเกิดการแปรปรวน ส่งผลให้พื้นที่ในเขตมรสุมเกิดพายุฝนรุนแรงกว่าเดิมและเกิดน้ำท่วมหนักขึ้น ส่วนพื้นที่เขตน้ำน้อยก็จะยิ่งเกิดภัยแล้งและขาดแคลนน้ำรุนแรงมากขึ้น
ส่วนอีกสาเหตุก็มาจากปัญหามลพิษในแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งเน่าเสียจากความมักง่ายของมนุษย์ที่ทิ้งขยะลงน้ำ การปนเปื้อนของสารเคมีที่เกิดจากการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงการปล่อยน้ำเสียจากภาคอุตสาหกรรมลงแหล่งน้ำโดยไม่ผ่านการบำบัด ทำให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำทั้งบนบกและใต้ดิน
เมื่อแหล่งน้ำจืดที่ใช้หล่อเลี้ยงระบบนิเวศและประชากรเน่าเสียก็เท่ากับว่าปริมาณน้ำสะอาดที่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้มีจำนวนลดลง เมื่อปริมาณน้ำสะอาดมีน้อยลงไม่สมดุลกับความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากขึ้นจึงทำให้หลายประเทศต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนน้ำ
วิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำที่เริ่มจะส่งผลกระทบในวงกว้างนี้ทำให้บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะเดินหน้าส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำตลอดกระบวนการผลิตให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และตั้งเป้าหมายในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลงให้ได้ 50% ภายในปี 2573 โดยชูแนวคิดการบริหารจัดการน้ำด้วยหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ขับเคลื่อนผ่านทุกกิจกรรมทางธุรกิจในทุกโรงงานและสถานประกอบการ มุ่งสู่การเป็น “โรงงานสีเขียว” ที่มีส่วนร่วมรักษาทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โดยบริษัทฯ สามารถลดปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิตลงได้กว่า 91% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 และบริษัทยังได้นำเอาเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงเข้ามาใช้ในการบำบัดน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดก่อนจะปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงการนำมาหมุนเวียนใช้ในโรงงานอีกด้วย
ท้ายที่สุดแล้วการจะประสบความสำเร็จในการสร้างความยั่งยืนให้ทรัพยากรน้ำได้จริงๆ ไม่เฉพาะแค่ภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ทุกภาคส่วนต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพราะแม้ว่าน้ำจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก แต่หากเรายังใช้แบบฟุ่มเฟือยและปล่อยให้ปริมาณน้ำเน่าเสียเพิ่มมากขึ้นโดยไม่แก้ไขหรือดูแลรักษา อีกไม่นานทรัพยากรที่มีค่ามหาศาลอย่างน้ำก็จะมีแต่เน่าเสียเสื่อมสภาพจนไม่เหลือแหล่งน้ำสะอาดให้มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป
ติดตามรายละเอียดกิจกรรมดีๆ ของอายิโนะโมะโต๊ะเพิ่มเติมได้ที่ www.ajinomoto.co.th
แหล่งข้อมูล
2. สถานการณ์น้ำจืดของโลกและประเทศไทย: https://www.wwf.or.th/what_we_do/wetlands_and_production_landscape/freshwater/
3. สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: https://shorturl.asia/Tx2Oa
4. สถานการณ์น้ำในวิกฤตโลกร้อน: https://www.greenpeace.org/thailand/story/11595/climate-coal-world-water-day-2020/
โฆษณา