8 มี.ค. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

คนไทย เสียชีวิตหลักหมื่น จาก PM 2.5

พอเข้าสู่ช่วงต้นปี ปัญหาหลัก ๆ ด้านสภาพอากาศที่คนไทยต้องเจอเลย คือ ปัญหา PM 2.5
ที่เกินมาตรฐาน และอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยเมืองหลัก ๆ อย่างกรุงเทพ และ เชียงใหม่ ติดอันดับต้น ๆ เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก
8
ซึ่งปัญหาฝุ่นพิษนี้ นอกจากจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว
ในระยะยาวนั้นสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ ปัญหาสุขภาพของคนไทยในระยะยาวอีกด้วย
2
เนื่องจาก มลพิษทางอากาศเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลายชนิด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมะเร็งปอด
📌 มีเพียง 1% บนโลกเท่านั้น ที่จะได้สูดอากาศปนเปื้อนมลพิษน้อยกว่ามาตรฐาน
จากวารสาร Lancet Planetary Health พบว่า ทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาฝุ่นควันและมลพิษที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1
โดยพื้นที่กว่า 99.82%บนโลกนั้นต้องสัมผัสกับระดับของฝุ่นละออง PM2.5
ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กในอากาศที่มีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งปอดและโรคหัวใจ สูงกว่าค่ามาตรฐานที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (Word Health Organization)
และมีเพียง 0.001% ของประชากรโลกเท่านั้นที่ได้หายใจเอาอากาศที่ปนเปื้อนมลพิษในระดับที่ยอมรับได้
นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลีย และ จีน พบว่าในปี 2019 พื้นที่กว่า 70% ของโลกมีปริมาณ PM 2.5 รายวันเกิน 15 ไมโครกรัม ต่อ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นระดับค่ามาตรฐานของ WHO
1
ปัญหาระดับฝุ่นพิษที่น่ากังวลส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโซน เอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออก
ซึ่งมากกว่า 90% ของวันจะเผชิญกับความเข้มข้นของ PM2.5 สูงกว่าเกณฑ์ 15 ไมโครกรัม
1
โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า การสัมผัส PM2.5 ในระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
โดยมลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คน 6.7 ล้านคนต่อปี
โดยเกือบ 2 ใน 3 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก
2
นักวิทยาศาสตร์ได้วัดค่ามลพิษทางอากาศที่รวบรวมจากสถานีตรวจวัดกว่า 5,000 แห่งทั่วโลกด้วยและใช้วิธีการศึกษาและปัจจัยต่าง ๆ เพื่อประเมินความเข้มข้นของ PM2.5 รายวันทั่วโลก
1
โดย นักวิจัยพบว่า ความเข้มข้นสูงสุดเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออก (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) รองลงมาคือเอเชียใต้ (37 ไมโครกรัม) และแอฟริกาตอนเหนือ (30 ไมโครกรัม)
2
ในขณะที่ผู้อยู่อาศัยในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เผชิญกับภัยคุกคามจากฝุ่นละอองขนาดเล็กน้อยที่สุด
📌 ต้นทุนของปัญหา PM 2.5
ในปี 2020 มลพิษทางอากาศได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 160,000 ราย ใน 5 เมืองใหญ่
และยังสร้างความเสียหายจากผลิตภาพที่ลดลงประมาณ 85,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพื่อตอบสนองปัญหาที่เกิดขึ้น Greenpeace Southeast Asia ร่วมมือกับ IQAir
เพื่อสร้างเครื่องมือประมาณการต้นทุนมลพิษทางอากาศ
2
จากฐานข้อมูลคุณภาพอากาศของ IQAir ซึ่งดึงมาจากเซ็นเซอร์กว่า 80,000 ตัวทั่วโลก
โดยจะคำนวณการเสียชีวิตและต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในบางเมืองในช่วงปี 2020
1
ตัวอย่าง ผลกระทบของมลพิษทางอากาศเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะใน 5 เมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้แก่
1
  • 1.
    โตเกียว ประเทศ ญี่ปุ่น : เสียชีวิต 40,000 มูลค่าความเสียหาย 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • 2.
    เดลี ประเทศ อินเดีย : เสียชีวิต 54,000 มูลค่าความเสียหาย 8,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • 3.
    เซี่ยงไฮ้ ประเทศ จีน : เสียชีวิต 39,000 มูลค่าความเสียหาย 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • 4.
    เม็กซิโกซิตี ประเทศ เม็กซิโก : เสียชีวิต 15,000 มูลค่าความเสียหาย 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • 5.
    เซาเปาโล ประเทศ บราซิล : เสียชีวิต 15,000 มูลค่าความเสียหาย 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รวมผู้เสียชีวิต 163,000 ราย
มูลค่าความเสียหายมั้งหมด 85,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในส่วนประเทศไทย ผู้คนกว่า 15.2 ล้านคนใน 6 เมืองได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมลพิษทางอากาศ และมีผู้เสียชีวิตกว่า 13,000 คน และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ
1
จากข้อมูลของ WHO ประเทศไทย พบว่า ในเดือนเมษายน 2022
ความเข้มข้นของ PM2.5 ในอากาศของประเทศไทยสูงกว่าค่าแนวทางคุณภาพอากาศประจำปีขององค์การอนามัยโลกถึง 4 เท่า
ซึ่งหมายถึงประชากรไทยหายใจเอาอากาศที่เป็นมลพิษเข้าไปด้วย และจะส่งผลต่อสุขภาพ ในปี 2016 โดยมีการประมาณการว่าไทยจะมีผู้เสียชีวิตกว่า 33,000 ราย
โดยมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ
1
และจากงานวิจัยที่จัดทำโดย รองศาสตราจารย์วิษณุ อรรถวานิช นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประมาณการว่าต้นทุนทางสังคมที่เกิดจาก PM2.5 ทั่วประเทศในปี 2019 เท่ากับ 2.17 ล้านล้านบาทต่อปี คิดเป็นเกือบ 11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปีนั้น
เพราะปัญหา PM 2.5 ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ
เราควรตระหนักถึงผลที่จะตามมาทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และปัญหาสุขภาพของประชาชนอย่างจริงจังกันเสียทีก่อนที่มูลค่าความเสียหายจะมากกว่านี้
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
โฆษณา