9 มี.ค. 2023 เวลา 02:49 • ข่าวรอบโลก

ประท้วงครั้งใหญ่ใน “จอร์เจีย” “เกิดอะไรขึ้น?” “ความเป็นมา?”

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศ “จอร์เจีย” แบบคร่าวๆก่อน จะได้เข้าใจข่าวนี้ครับ
  • “จอร์เจีย” มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี และภาษาจอร์เจียก็เป็นหนึ่งในภาษาเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีการใช้อยู่
1
  • ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 18 นับเป็นเวลา 11 ศตวรรษ “จอร์เจีย” ถูกปกครองโดยเผ่าต่างๆ พื้นที่ส่วนใหญ่ของจอร์เจียถูกยึดครองโดยเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับและมองโกล
  • ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 12 “จอร์เจีย” ได้รับการคุ้มครองจากรัสเซีย ซึ่งในที่สุดรัสเซียก็ได้ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเนรเทศราชวงศ์จอร์เจียในปี ค.ศ. 1801 อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนจอร์เจียจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านการปกครองของรัสเซียเมื่อระบอบซาร์ของรัสเซียถูกโค่นลง
  • “สาธารณรัฐจอร์เจีย” ได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 และภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 กองทัพแดงของ “สหภาพโซเวียต” ก็ได้เข้ายึดครองจอร์เจียอีกครั้งหนึ่ง ทำให้จอร์เจียเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต
  • ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1991 สภาสูงสุดของสาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต
  • “จอร์เจีย” ประสบปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติตั้งแต่ประกาศเอกราช และเพิ่งเริ่มมีเสถียรภาพในปี ค.ศ. 1995 อย่างไรก็ตามปัญหาคนพลัดถิ่นภายในกว่า 230,000 คน ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความขัดแย้งใน Abkhazia และ South Ossetia ซึ่งต้องการแยกตัวออกจากจอร์เจียยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ยังคงต้องอาศัยกองกำลังสันติภาพของรัสเซีย และองค์การระหว่างประเทศในการรักษาสันติภาพ ซึ่งต้องมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง
  • สรุปคือ “รัสเซีย” ยังเข้ามามีอิทธิพลในด้านดินแดนของ “จอร์เจีย” อยู่จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะแยกตัวออกมาจากโซเวียต (สมัยนั้น) กว่า 30 ปีแล้ว
  • “จอร์เจีย” เป็นดินแดนปลายสุดด้านตะวันตกของทวีปเอเชีย ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรป และเอเชีย มีเมืองหลวงชื่อ ทบิลิซี (Tbilis) มีประชากรทั้งประเทศประมาณ 5 ล้านคน ใช้ภาษาจอร์เจียนเป็นภาษาราชการ รองลงมาก็เป็นภาษารัสเซีย ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ออโธด็อกซ์มากกว่า 80%
3
อ้างอิงข้อมูล: กระทรวงต่างประเทศของไทย - https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2215e39c306000a24b
เครดิตภาพ: Pixabay
  • ความเป็นมาของการประท้วงครั้งใหญ่ใน “จอร์เจีย”
7 มีนาคม พ.ศ. 2566: รัฐสภาของจอร์เจียผ่านร่างกฎหมายเป็นครั้งแรกเพื่อจัดตั้งสำนักทะเบียน “ตัวแทนต่างชาติ” ร่างกฎหมายนี้ใจความหลัก “ว่าด้วยความโปร่งใสของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลในประเทศ” ได้รับคะแนนเสียงจากเจ้าหน้าที่ 76 คน และถูกคัดค้านโดย 13 คน ตามรายงานของเว็บไซต์ข่าวท้องถิ่นของจอร์เจีย Novosti-Gruzia
  • ร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ที่เสนอ จะกำหนดให้นิติบุคคลและหน่วยงานสื่อซึ่งไม่ได้จดทะเบียนแบบเชิงพาณิชย์ทั้งหมดที่ได้รับเงินทุนมากกว่า 20% จากต่างประเทศต้องลงทะเบียนเป็น “ตัวแทนต่างชาติ” >> อีกนัยยะคือเหมือนเป็นการควบคุมพวก NGO ที่ได้เงินทุนจากนอกประเทศ
ฝ่ายนิติบัญญัติของ “จอร์เจีย” จะลงมติในร่างกฎหมายฉบับที่สองในวันที่ 9 มีนาคม ภายใต้ร่างฉบับนี้ซึ่งมีชื่อหัวข้อว่า “ในการจดทะเบียนตัวแทนต่างชาติ” บุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ ที่ได้รับเงินทุนจากต่างประเทศจะถูกได้เรียกได้ว่าเป็น “ตัวแทนที่มีอิทธิพลจากต่างประเทศ”
1
  • หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านและถูกออกบังคับใช้เป็นกฎหมาย “จอร์เจีย” อาจสูญเสียโอกาสในการได้รับสถานะผู้สมัคร EU และเข้าร่วม NATO - อ้างอิง: Meduza
เมื่อมีนาคมปีก่อน 2022 “จอร์เจีย” ได้ยื่นใบสมัครขอเข้าเป็นสมาชิก EU (พร้อมมอลโดวา) หลังเกิดสงครามในยูเครน ซึ่งก่อนกำหนดที่ตอนแรกคาดว่าจะยื่นในปี 2024 >> สงครามในยูเครนของรัสเซียเป็นตัวเร่งให้รีบตัดสินใจ – อ้างอิง: Radio Free Europe/Radio Liberty
ผู้ประท้วงด้านหน้ารัฐสภาจอร์เจียในกรุงทบิลิซี คัดค้านร่างกฎหมายตัวแทนต่างชาติ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2566 (ก่อนร่างผ่าน) เครดิตภาพ: Irakli Gedenidze / Reuters / Scanpix / LETA
  • 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 มีการประท้วงรอบแรกนอกรัฐสภาจอร์เจีย ตำรวจสามารถสลายการจลาจลเมื่อเย็นวันอังคาร โดยจับกุมผู้ประท้วงกว่า 60 คน จากพฤติกรรมก่อความวุ่นวาย วันรุ่งขึ้นเมื่อวันพุธ (8 มีนาคม) ฝ่ายค้านยื่นคำขาดเรียกร้องให้ปล่อยตัวและถอนกฎหมายตัวแทนต่างชาติออกจากการพิจารณา
1
  • 8 มีนาคม พ.ศ. 2566 ช่วงเย็นถึงดึก ผู้ประท้วงหลายพันคนรวมตัวกันนอกอาคารรัฐสภาของจอร์เจียเพื่อประท้วงกฎหมาย “อิทธิพลจากต่างชาติ” ผู้สื่อข่าวในที่เกิดเหตุกล่าวว่า ตำรวจปราบจลาจลในทบิลิซีได้ยิงแก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสลายผู้ประท้วง ส่วนกลุ่มผู้ประท้วงก็โยนขวด พลุ ระเบิดขวด (Molotov cocktail) ใส่เจ้าหน้าที่ตอบโต้
หลังเที่ยงคืนตามเวลาทบิลิซี ผู้ประท้วงพยายามบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาจอร์เจีย ตามข้อมูลเบื้องต้นจากกระทรวงมหาดไทยจอร์เจีย มีผู้ถูกจับกุม 6 คน - อ้างอิงสื่อท้องถิ่นของจอร์เจีย Rustavi 2 News
กลุ่มผู้ประท้วงบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาจอร์เจีย หลังเที่ยงคืนวันที่ 8 มีนาคม ตามเวลาทบิลิซี เครดิตภาพ: Zurab Tsertsvadze / AP / Scanpix / LETA
ชมภาพและคลิปเหตุการณ์ประท้วงในเมืองหลวงจอร์เจีย ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
  • Salome Zourabichvili ประธานาธิบดีจอร์เจีย ซึ่งเธออยู่ระหว่างการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ในตอนเย็นของวันที่ 7 มีนาคม ตามเวลาในอเมริกา เธอได้อัดวิดีโอคำปราศรัยที่สนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงส่งตรงจากนิวยอร์ก โดยเธอสาบานว่าจะยับยั้งกฎหมาย “ตัวแทนต่างชาติ” โหวตโดยรัฐสภา “สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นในวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่ร่างกฎหมายนี้ควรถูกล้ม [โดยกระบวนการทางรัฐสภา]”
1
เธอเป็นอดีตทูตใหญ่ของฝรั่งเศสประจำจอร์เจีย ต่อมาผันตัวกลายเป็นพลเมืองจอร์เจีย และขยับเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ หลังจาก “การปฏิวัติกุหลาบ” (Rose Revolution) ที่อเมริกาหนุนหลังในปี 2003
Salome Zourabichvili ประธานาธิบดีจอร์เจีย (ชุดแดง) เครดิตภาพ: interpressnews.ge
  • สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงทบิลิซีเรียกวันดังกล่าวว่า “เป็นวันที่มืดมนสำหรับระบอบประชาธิปไตยของจอร์เจีย” - อ้างอิง: Facebook, US Embassy Tbilisi, Georgia
แน่นอนมาแล้ว “อเมริกา” ออกมาสนับสนุนผู้ประท้วงชาวจอร์เจีย โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงทบิลิซี ประณามกฎหมายดังกล่าวว่าเป็น “วันมืดมนสำหรับประชาธิปไตย” ในจอร์เจีย กระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าวอชิงตันอาจกำหนดบทลงโทษต่อรัฐบาลจอร์เจียในการปราบปรามผู้ประท้วงครั้งนี้
1
นักวิจารณ์ด้านกฎหมายออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วย โดยระบุว่าฝ่ายค้านทำให้พวกเราทุกคนเสื่อมเสียโดยถูกตีตราว่าเป็น “พวกรัสเซีย” โดยเสริมว่าอย่างไรก็ตามร่างกฎหมายนี้ก็ผ่านจนได้ โดยอาศัยวิธีที่ผ่านแรงกดดันน้อยกว่าทางเลือกอื่น ซึ่งมีรูปแบบคล้ายพระราชบัญญัติการลงทะเบียนตัวแทนต่างชาติที่ประกาศใช้โดยสหรัฐอเมริกาในปี 1938
1
ชุดประจำชาติผู้หญิงจอร์เจีย เครดิตภาพ: Sputnik / Alexander Imedashvily
เรียบเรียงโดย Right SaRa
9th Mar 2023
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
Rustavi 2 News, Georgia - https://rustavi2.ge/ka/news/250563
  • เครดิตภาพปก:
บน – Al Jazeera
ล่าง - Irakli Gedenidze / Reuters / Scanpix / LETA
โฆษณา