12 มี.ค. 2023 เวลา 09:56 • สุขภาพ

Lecithin (เลซิติน) คืออะไร ข้อดี-ข้อเสีย และผลข้างเคียงที่ควรทราบ!

เลซิติน (Lecithin) คือ สารประกอบของไขมันที่พบได้ในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ โดยองค์ประกอบทางเคมีของเลซิตินจะประกอบด้วยโมเลกุลไขมันกลุ่มฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) หลายชนิด ได้แก่ Phosphatidylcholine, Phosphatidylethanolamine, Phosphatidylinositol, Phosphatidylserine และ Phosphatidic acid
ประโยชน์ของเลซิตินต่อร่างกาย
เป็นส่วนประกอบของร่างกาย
ไขมันกลุ่มฟอสโฟลิปิด เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ในสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ดังนั้น เราสามารถพบเลซิตินได้เกือบทั่วทั้งร่างกาย เรียกได้ว่าร่างกายของมนุษย์นั้นหากปราศจากเลซิติน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ทุกระบบอวัยวะได้
ช่วยย่อยสลายไขมัน
นอกจากนี้ เลซิตินยังมีบทบาทในกระบวนการย่อยสลายไขมันในระบบทางเดินอาหาร เพราะปกติแล้วไขมันและน้ำมันเป็นสารที่ไม่ละลายในน้ำ ทว่า ในร่างกายของมนุษย์แม้กระทั่งเลือด จะมีส่วนประกอบของน้ำเป็นสำคัญ ดังนั้น การลำเลียงไขมันเพื่อนำเข้าสู่เซลล์จึงต้องอาศัยโมเลกุลที่สามารถทำให้ไขมัน “ละลายน้ำได้”
สำหรับเลซินตินไม่ได้มีข้อกำหนดปริมาณแนะนำต่อวันที่ชัดเจน โดยเฉลี่ยร่างกายของมนุษย์จะได้รับเลซิตินประมาณ 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และไม่ควรเกิน 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน
เลซิตินไม่มีข้อควรระวังในการรับประทานที่บ่งชี้ได้ชัดเจน เนื่องจากตามธรรมชาติร่างกายของมนุษย์มีเลซิตินเป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว ทั้งนี้ ข้อควรระวังดังกล่าวอาจหมายถึงการเลือกรับประทานเลซิตินจากแหล่งอาหารต่าง ๆ เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้จากอาหารที่รับประทานได้ เช่น แพ้ผลิตภัณฑ์จากนม หรือแพ้ถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงไปรับประทานเลซิตินจากแหล่งอาหารอื่น ๆ แทน
โฆษณา