13 มี.ค. 2023 เวลา 10:39 • ปรัชญา
ด้วยความแตกต่างกันมาก ทั้งการหล่อหลอมกล่อมเกลา ทางชนชั้นวัฒนธรรม
ความเชื่อ รุ่นบรรพบุรุษ รุ่นเก่า การเรียนรู้การหล่อหลอมสั่งสอนให้เข้าใจ
สมัยสิ่งเร้าทางเทคโนโลยีเป็น(0)
ข้อมูลความเชื่อเข้าไปในใจ แบบกระแสตรงไม่ซับซ้อน นิ่งมั่นคงมีสติ
สมัยก่อน ก่อนพุทธกาลหรือ ยุคโบราณ เลื่อมใส เพราะมีความขลัง
จากบารมี ทาน การปฎิบัติ
ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อผู้นำศาสนาแรงกล้า ถือเป็นที่พึ่งทางใจใน
การดำเนินชีวิตทั้งการเรียนรู้ตั้งมั่นปฏิบัติอย่างต่อเนื่องกันมาเพราะการดำเนินชีวิตเรียบง่ายไม่แข่งขัน ไม่แย่งชิง ไม่ปรื๊ดปร๊าดรวดเร็ว จึงสามารถบรรจงสั่งสอน
สั่งสมความเชื่อในยุคอดีตกาล จนถึงขั้นเชื่อขั้นอิทธิปาฐิหารย์ความศักดิ์สิทธิ์
มาหมด
"สมัยนี้" คนสมัยใหม่ เวลาจะกินจะนอน เวลาจะ...ทุกเวลา
มันต้องFast & Serious ตาหลอด จะกินยังไม่ค่อยมีเวลาจะเคี้ยวเลย ลูกตัวๆเล็กก็เรียนรู้เรื่อง Fast แล้ว Fast Foods Fast Learn Fast Fight Fast Train....Fast Talk
พ่อแม่ลูกคุยกันด้วย Fast Line...จะอ้าปากพูด ลูกก็ Fast Friend ไปซะแล้ว
เอาเวลา
ความเชื่ออยู่ที่สื่อ สื่อผ่านเทคโนโลยี ใช้สื่อกระตุ้นเร้าให้เห็นภาพ
ความงมงาย ความบกพร่อง ความอ่อนด้อยจุดอ่อน ของความเชื่อเดิม
การใช้ความสามารถในการแสดงภาพความน่าสนใจออกมาเป็นเครื่องมือ
การสอนการชี้นำ คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักคนรุ่นเก่า ไม่ศึกษาไม่ค้นคว้าตำหรับตำรา
ไม่เปิดสมุดข่อยใบลาน
จนสามารถโน้มน้าว จิตวิญญาน สร้างความเชื่อใหม่ หรือสร้างแรงต่อต้าน
ตั้งลัทธิอิสระเชื่อในตัวเอง ใข้ตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่รู้ผิดหรือถูก เพียงมองว่า
มีสิทธิ์ในชีวิตเลือดเนื้อเสรีภาพของตนเท่านั้น
การวาง กุศโลบาย+ หรือ กลอุบาย -
การเสนอแนวคิด ความเข้าใจว่าคนรุ่นใหม่
ตามที่ผู้ถาม ถามว่า"สมัยนี้" ความเชื่ออยู่ที่การสื่อแบบใหม่
สื่อมีพลังมหาศาล รวดเร็จเร้าใจแบบ GIG. กิ๊กกดเม้าท์ มันเร็วเป็นวินาที
คนรุ่นใหม่ไม่สนใจโบราณนานมา ไม่รู้รู้จักคนรุ่นเก่า ไม่เสาะซึมซับคุณค่า
กับความเก่าไดโน เต่าคลาน ล้านปี ไม่ต้องการศึกษาไม่ค้นคว้าตำหรับตำรา
โบราณ ไม่เข้าห้องสมุดยกเว้นอาจารย์ให้ทำกลุ่มในรั้วสถาบันฯ
ที่ครอบด้วยเกรด
นอกนั้นทุกอย่างดำเนินชีวิตตามข้อมูลในมือถือแทปเล็ต...สิ่งที่อยู่ในมือ...
หน้าเลี่ยมๆ
ไม่ใช่เรื่องผิดแต่ ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ตามไม่ทันความคิดไม่ใช่โง่ไม่รู้ สู้ไม่ได้นะ
แต่ ผู้ใหญ่ทำให้เชื่อกว่า สิ่งในมือไม่ได้ เป็นคนละคลื่น คลื่นคนละลูก
คนละคลื่น คลื่นรับคลื่นส่ง คนละGen.ที่แตกต่างไปคนละทางความเชื่อกันแล้ว
มองดูพิจารณาดูจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ครูบาอาจารย์ของคนสมัยใหม่
เป็นGen.ใหม่ เป็นคนนวตกรรมใหม่กันซะส่วนใหญ่มากกว่า 70-80%แล้ว
ครูอาจารย์คนรุ่นเก่าที่ยังอยู่ องค์ความรู้เก่า การสอนก็สอนจากประสบการณ์ที่องค์ความรู้เดิมๆ
มันล้าสมัย วิชาการบูด Expiredไปแล้ว ในความคิดของคนสมัยนี้ ถ้าจะมีก็วิชา วัฒนธรรม จริยธรรม ศีลธรรม...หรือภาษาไทย
ถ้าผู้ใหญ่รุ่นไดโน ที่รู้ทัน ไหวรู้ ขึ้นไปเป็นนักบริหารและบริหารองค์ความรู้ของวิชาการหลักสูตร ก็ควรจะSynergy องค์ความรู้แบบบูรณาการให้ทุกวิชาพาให้คนในอดีต
โบราณประสานรับรู้คุณค่าแนวคิดกับGen.ใหม่ๆ ให้ทันยุคนวตกรรม
ช่องว่างความคิดที่ห่างกันจะได้ค่อยแคบลงๆจนเกิดความเข้าใจร่วมคุณค่าของ
องค์ความรู้ภูมิปัญญาคนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ที่สำคัญคนโบราณพันธุ์ใหม่
ก็ต้องเรียนรู้ ศึกษาแบบLong Life Education เพื่อวันนี้ วันหน้าวันไหน
ก็จะได้เข้าใจ"คนสมัยนี้"ด้วยไง
ดังนั้นไม่เฉพาะศาสนาหรอกครับ ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปได้ทั้งหมด
ถ้าเราไม่ปรัเปลี่ยนแปลงตามกระแส เพื่อประครองความเข้าใจ ร่วมสร้างสรรค์
ไม่ใช่ปล่อยมือกันจนความสัมพันธ์ศรัทธาเสื่อมห่าง ก่อนถูกถูกกลืนไปเสียก่อน
โฆษณา