15 มี.ค. 2023 เวลา 02:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ดาวหางฮัลเลย์ กับโลกมนุษย์

โดยส่วนใหญ่แล้วดาวหาง มักจะโคจรผ่านโลกต้องใช้วงโคจรระดับ 200 ปีขึ้นไปกว่าจะกลับมาโคจรผ่านโลกอีกครั้ง เป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีดาวห่างอยู่ไม่กี่ดวงที่มีวงโคจรผ่านโลกที่มีรอบวงโคจรน้อยกว่า 100 ปี หนึ่งในดาวหางที่กลับมาก็คือ ดาวหางฮัลเลย์
แต่ถึงแม้ว่า ดาวหางฮัลเลย์ จะโคจรผ่านโลกตามรอบการโคจร ก็ยังใช้เวลาถึงรอบละ 75-76 ปี เรียกได้ว่าช่วงชีวิตคนบ้างคนก็อาจจะไม่มีบุญได้เห็นดาวหางฮัลเลย์ หรือว่าคนโชคดีอาจได้เห็น 2 รอบ และการที่ดาวหางฮัลเลย์มีวงโคจรผ่านโลกทุกๆ 75-76 ปีต่างจากดาวห่างอื่นจึงทำให้ เรื่องราวของดาวหางดวงนี้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์หลายต่อหลายครั้ง
ดางหางฮัลเลย์นั้นประกอบไปด้วยน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่นและแอมโมเนีย เป็นดาวห่างที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเมื่อโคจรผ่านโลก ผมไม่แน่ใจว่าการมองเห็นดางหางฮัลเลย์ในช่วงที่ผ่านโลกจะกินเวลากี่คืนที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้า
แต่ในทางความเชื่อ ดาวหางหากโคจรผ่านโลก มักจะเป็นลางร้าย จะเกิดเรื่องไม่ดีหรือวุ่นวายบนโลก ซึ่งความเชื่อเรียกว่าทุกทั่วมุมโลกในคติความเชื่อต่างๆมักจะไปแนวทางเดียวกันที่เชื่อว่าจะเป็นสิ่งไม่ดี ในประเทศไทยนั้นมีการบันทึก
  • 1.
    แรกสุดเท่าที่มีการบันทึกในสมัยอยุธยา รัชกาล สมเด็จพระนารายณ์ มีการจดบันทึกว่าเห็นดางหาง คาดว่าจะเป็นดาวหางฮัลเลย์ โดยว่ากันว่าหลังจากนั้นไม่นานก็ สมเด็จพระนารายณ์ก็สวรรคต
  • 2.
    สมัยรัชกาลที่ 5 ดาวหางฮัลเลย์ก็โคจรผ่านโลกและมองเห็นในไทยอีกครั้ง หลังจากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็สวรรคต
  • 3.
    10 มีนาคม พ.ศ.2529 ดางห่างฮัลเลน์ก็กลับมาอีกครั้ง ทำให้คนไทยต่างก็หวาดกลัวว่าจะเกิดข่าวการสูญเสียขึ้น แต่สุดท้ายก็ไม่มีข่าวอะไร มีเพียงการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
การเกิดโรคเอดส์ แต่ในปี 2529 นั้นด้วยสภาพบ้านเมืองมีความวุ่นวายอยู่ระดับหนึ่งแล้ว เมื่อเจอความเชื่อเรื่องดาวหาง ก็เลยมีการทำพิธีแก้ดวงเกือบทั่วทั้งประเทศ หรือแม้กระทั่งมีโครงการสร้างศาลหลักเมืองใหม่ในบ้างจังหวัดกันเลยที่เดียว
ส่วนครั้งต่อไปดาวหางดวงนี้จะโคจรผ่านโลกอีกครั้งก็ในปี ค.ศ. 2061 หรือ พ.ศ. 2604 เรียกได้ว่าอีกนานมาก เพราะฉะนั้นดางหางดวงนี้จะมีเพียงรูปเก่าๆภาพนิ่งที่ถูกถ่ายไว้เท่านั้น ยังมีการบันทึกภาพแบบคมชัดให้ดูในโลกออนไลน์ เรียกได้ว่าเป็นดาวหางอีกดวงหนึ่งที่หากมีชีวิตมีโอกาสได้เห็นก็ ควรค่าแกการชมดางหางดวงนี้ เพราะยังไม่มีคลิปวิดีโอให้รับชมกัน
ขอขอบคุณที่มาของภาพ
ดาวหางฮัลเลย์ถ่ายได้ในปี ค.ศ. 1986 ที่มา NASA/National Space Science Data Center
โฆษณา