13 ส.ค. 2023 เวลา 05:00 • สุขภาพ

เปิดพฤติกรรมทำ สมองตาย ยิ่งทำหลายอย่างพร้อมกัน ก็ยิ่งเสี่ยง

เปิดลิสต์พฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะ #สมองเสื่อม และ #สมองตาย หากไม่อยากทำร้ายสมองโดยไม่ตั้งใจ ต้องมาเช็กว่าพฤติกรรมแบบไหนเข้าข่าย พร้อมรู้วิธีป้องกัน!
6
อาการ “สมองเสื่อม” และ “สมองตาย” เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเชิงลบในชีวิตประจำวันของคนเรา ที่เผลอทำซ้ำๆ จนกลายเป็นนิสัย ซึ่งส่งผลให้ทำร้ายสมองโดยไม่รู้ตัว โดยพฤติกรรมเชิงลบนั้น อาจมีได้ตั้งแต่พฤติกรรมการกินอาหารผิดเวลา การทำงานหลายอย่างพร้อมกัน การใส่หูฟังนานๆ หลายชั่วโมงต่อวัน รวมไปถึงเรื่องจิตใจและความเครียด แล้วแบบไหนเข้าข่ายเสี่ยงเป็น #พฤติกรรมทำร้ายสมอง บ้าง?
7
มีข้อมูลจาก ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง บุญเปลื้อง อาจารย์สาขากิจกรรมบำบัดจิตสังคม คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ได้อธิบายถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ผ่านทางช่อง Mahidol Channel ไว้ดังนี้
3
📌กินอาหารผิดเวลา ไม่สอดคล้องกับ “นาฬิกาชีวิต”
โดยทั่วไปสมองของเราจะทำงานตาม “นาฬิกาชีวิต” ในร่างกาย โดยช่วงเวลา ตี 5 - 9 โมงเช้า สมองจะตื่นตัวและต้องการพลังงานเพื่อใช้ทำงาน คนเราจึงควรกินมื้อเช้าไม่เกิน 9 โมงเช้า โดยเน้นอาหารที่มีไฟเบอร์และน้ำตาลน้อย เช่น ข้าวซ้อมมือ ผัก ผลไม้
6
ส่วนช่วงเวลา 10 โมงเป็นต้นไป สมองจะเริ่มอยากพักผ่อน จึงไม่ควรกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงเกินไป เพราะสมองไม่ได้นำมาใช้งาน หากกินอาหารน้ำตาลสูงช่วงเวลานี้ จะเกิดการสะสมในสมอง ส่งผลให้เส้นประสาทอักเสบ, เริ่มง่วงทั้งที่ไม่ควรง่วง, จำอะไรไม่ค่อยได้, เสี่ยงต่อสมองทำงานผิดปกติ เป็นต้น
7
📌มีพฤติกรรม “เนือยนิ่ง” นานเกิน 30 นาที
หากเราอยู่นิ่งๆ โดยไม่ขยับร่างกายเลยเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 30 นาที ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะ “เนือยนิ่ง” เพราะขาดการขยับร่างกาย ทำให้ปอดไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอตามไปด้วย จึงทำให้สมองเกิดความเหนื่อยล้า มีอาการมึน เบลอ คิดไม่ออก ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
3
📌ใช้คอมพิวเตอร์โดยใส่หูฟังเป็นระยะเวลานาน
สมองของคนเรามักจะโฟกัสไปที่เสียง (การฟัง) มากกว่าการมองเห็น เมื่อเราใส่หูฟัง สมองจะทำงานเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ ทำให้เพิ่มความเครียดให้สมอง ส่งผลให้สมองใช้งานหนักเกินไป และเสี่ยงต่ออาการสมองเหนื่อยล้า หากมีพฤติกรรมนี้สะสมนานๆ เข้า ก็อาจลดประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้
11
📌สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ชา กาแฟ มากเกินไป
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อสมองโดยตรง ทำให้เกิดอาการ “สมองมึน” เพราะแอลกอฮอลล์เข้าไปแย่งออกซิเจน แย่งน้ำในเซลล์สมอง ในกรณีร้ายแรงหากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วภายใน 1 ชั่วโมง มีส่วนทำให้เซลล์สมองตายได้ด้วย
3
ขณะที่ควันจากการ “สูบบุหรี่” จะไปกีดกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ทำให้สมองสามารถขาดออกซิเจน ในกรณีรุนแรงอาจถึงขั้นสมองเป็นอัมพาตได้ ส่วน “คาเฟอีน” หากดื่มมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เซลล์ “สมองอักเสบ” ได้มากขึ้น เพราะมีผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองน้อยลง
2
📌การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน (Multi-tasking)
จริงอยู่ที่คนรุ่นใหม่ต้องการทำงานแบบ Multi-tasking เพื่อเพิ่ม Productivity ในการทำงาน แต่จริงๆ เเล้ว การทำงานหลายอย่างพร้อมกัน จะกลายเป็นว่าทำได้ไม่ดีสักอย่าง เพราะสมองจะเกิดอาการเหนื่อยล้า คิดงานไม่ออก สมองช้าลง หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิอ่อนเพลีย มีภาวะเครียดสะสม ความจำแย่ลง การทำงานของสมองลดลง และอาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ (สมองเสื่อม) ก่อนวัยอันควร
16
อย่างไรก็ตาม มีวิธีป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้ในเบื้องต้นนั่นคือ ระหว่างวันช่วงหลังเที่ยงอาจงีบนอนสัก 15 นาที - 1 ชั่วโมง เเต่ทางที่ดีที่สุดคือควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม เเละนอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้สมองสดชื่นแจ่มใส หรือลองฝึกลมหายใจด้วยทฤษฎี 4x4 คือ การวาดนิ้วเป็นรูปสี่เหลี่ยม พร้อมนับ 1-4 ทำทั้งหมด 4 รอบ ช่วยเพิ่มสมาธิ หายใจได้เต็มปอด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนได้เพียงพอ และช่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลได้ด้วย
8
อ้างอิง : Mahidol Channel
โฆษณา