22 มี.ค. 2023 เวลา 12:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ

LTF ใช้ลดหย่อนได้ถึงปี 62 ซึ่งจะครบเงื่อนไขขายคืนได้ทั้งหมดในปี 68

การนับปีของ LTF นับตามปีปฏิทิน ถ้าซื้อก่อนปี 2559 ต้องถือไว้อย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน ถ้าซื้อตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ต้องถือไว้ อย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน ซึ่งปี 2566 เป็นปีแรกที่ LTF ที่ซื้อปี 2560 ครบกำหนดขายได้ตามเงื่อนไข
การนับตามปีปฏิทินตามเงื่อนไขของ LTF มาดูตัวอย่างกัน ถ้าเรามีการซื้อ LTF 3 ครั้งในปี 2560 เช่น เดือนมกราคม เดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม 2560 จะนับทั้งหมดตรงนี้ซื้อในปี 2560 และนับเป็นปีปฏิทินที่ 1 และนับปี 61 เป็นปีที่ 2, ปี 62 เป็นปีที่ 3, ปี 63 เป็นปีที่ 4, ปี 64 เป็นปีที่ 5, ปี 65 เป็นปีที่ 6 และปี 66 เป็นปีที่ 7
และ LTF ที่ซื้อเมื่อปี 62 จะครบกำหนดขายคืนได้ตามเงื่อนไข คือ ปี 2568 แสดงว่า LTF ทั้งหมดจะครบกำหนดขายคืนได้
LTF ถึงแม้จะไม่สามารถลดหย่อนได้แล้ว ก็ยังมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารดูแล LTF ให้นะ
LTF ที่ครบกำหนดแล้ว ถ้าจะถือต่อ ก็สามารถถือต่อไปได้ ไม่ได้ว่าต้องขายทันทีเมื่อครบกำหนด และเมื่อครบกำหนดแล้วจะขายเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งการขาย LTF ควรเลือกขายเป็น “จำนวนหน่วยลงทุน” ไม่ควรเลือก "จำนวนเงิน" เพื่อจะได้ไม่ขายเกินในส่วนที่ยังไม่ครบกำหนด แต่ถ้าถึงปี 68 ทั้งหมดจะครบ จะสั่งขายยังก็ได้
ขายคืน LTF แบบถูกเงื่อนไข ก็ต้องยื่นภาษี ซึ่งไม่มีผลต่อภาษี แต่จะได้ไม่ต้องเสียเวลา ที่อาจถูกพี่สรรพากรตามมาให้แก้ให้ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้นถ้าขายปีนี้ ก็เก็บใบรายละเอียดที่ทาง บลจ. เขาส่งมาให้ไว้กรอกยื่นภาษี ซึ่งปีภาษี 66 ก็จะยื่นตอนต้นปี 67 นะ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมว่า กรอกยังไง ยื่นยังไง ได้จากโพสนี้นะคะ https://www.facebook.com/DoctorWantTime/posts/pfbid0KxcMAoW22jXmjvtzYtvZ7i59qkTZPsyvfuLxgLE8bUhAovxsmm5yvMqQNSHhctBJl
หมอยุ่งอยากมีเวลา พูดคุยเรื่องหุ้นและกองทุน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
ติดตามความรู้ทางการเงินแบบเข้าใจง่าย
ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #กองทุนรวม #LTF #ขายLTF #เงื่อนไขLTF #กองทุนรวมหุ้นระยะยาว #mutualfunds #กองทุนประหยัดภาษี #ยื่นภาษี #ยื่นภาษีออนไลน์
โฆษณา