27 มี.ค. 2023 เวลา 14:46 • การศึกษา

ว่านงาช้าง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์
Sansevieria cylindrical Bojer ex Hook
ชนิดของว่านงาช้าง
โดยว่านงาช้างนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ว่านงาช้างเขียว (หอกสุรกาฬ) คือ ชนิดใบเขียวตลอดใบและมีร่องตามแนวยาวใบ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ ว่านงาช้างลาย(หอกสุรโกฬ) คือ ชนิดที่มีใบเขียวและมีลายสีเขียวอมดำเป็นปล้องๆ ตลอดความยาวใบ
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อท้องถิ่น
ว่านงาช้างนั้นมีถิ่นกำเนิดจากทางแอฟริกาใต้ ในไทยนั้นมีชื่อพื้นเมืองหรือชื่อท้องถิ่นที่ต่างกัน โดยมีชื่อว่า ลิ้นมังกรงาช้าง ว่านงาช้าง ว่านงู หอกสุรกาฬ (ว่านงาช้างเขียว) หอกสุรโกฬ (ว่านงาช้างลาย)
ชื่อวงศ์
มี 2 ชนิดตามแต่ละเว็บไซต์ ( โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าน่าจะต่างกันตรงที่มี 2 ชนิด เลยทำให้ชื่อวงศ์มี 2 ชื่อ ) คือ ASPARAGACEAE วงศ์หน่อไม้ฝรั่ง และ Dracaenaceae วงศ์จันทร์ผา
สรรพคุณ
- ทางด้านยา
สามารถใช้เป็นยาที่ช่วยในการบำรุงโลหิต ช่วยเรื่องการอยู่ไฟของผู้หญิง ช่วยขับปัสสาวะ ลดปัญหาจุดด่างดำบนใบหน้า สามารถช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรงและเงางาม
- ทางด้านตำรายาไทย
ใช้ทั้งต้น จะมีรสเฝื่อนเล็กน้อย แก้คุณอันบุคคลกระทำด้วยผมเนื้อหนัง กระดูก
ใช้ใบ รสเฝื่อนเล็กน้อย ช่วยระบายอุจจาระ แก้ฤดูสตรีพิการ
ใช้ต้น โขลกผสมสุรา แก้เลือดดีขึ้น แก้บาดทะยักปากมดลูกในเรือนไฟ
- ทางด้านความเชื่อ
คนโบราณจะปลูกว่านงาช้างไว้เพราะเชื่อว่าจะสามารถช่วยปกปักรักษาและป้องกันอันตรายจากไสยศาสตร์ที่ไม่ดีและยังช่วยเป็นสิ่งเสริมความเป็นมงคลให้กับผู้ปลูกด้วย
- ทางด้านอื่นๆ
หากปลูกงาช้างไว้จะเป็นการช่วยฟอกอากาศภายในห้องนอนและยังสามารถใช้เป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
ที่มา
โฆษณา