9 เม.ย. 2023 เวลา 06:32 • การศึกษา

ความรุนแรงทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับ LGBT เริ่มต้นจากระบบการศึกษา

บริบทในโรงเรียน นับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องของความรุนแรงทางจิตใจและร่างกายที่เกิดขึ้นกับ LGBTQ.
ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นความรุนแรงที่ทำให้สังคมเกิดความกังวลทั่วโลก แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ และ ได้รับการดูแล แต่ยังพบว่า ความรุนแรงดังกล่าวยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง จากการวิจัยพบว่า นักเรียนกว่า 30% ได้รับผลกระทบต่อความรุนแรงในโรงเรียน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพจิตใจของเหยื่อผู้ถูกกระทำเป็นอย่างมาก
และงานวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือกลุ่ม LGBTQ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ คิดเป็นกว่าร้อยละ 74% ที่ได้รับความรุนแรงจากคำพูด 16% ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางร่างกาย และ เด็กผู้ชายในกลุ่ม LGBTQ ได้รับผลกระทบมากกว่าเด็กผู้หญิง
นักเรียนจะถูกจัดกลุ่มตามเพศสภาพ เมื่ออยู่ในบริบทของโรงเรียน เช่น การให้นักเรียนยืนต่อแถว จะต่อแถวโดยการแบ่งเพศ หรือ แม้แต่การทำกิจกรรมต่าง ๆ สิ่งนี้ทำให้นักเรียนมีทัศนคติในการแบ่งแยก เพศหญิงชาย และมักจะสร้างค่านิยมว่า ผู้ชายต้องเป็นอย่างไร เช่น เรื่องของสี ผุ้ชายต้องเลือกสีทึบ ส่วนผู้หญิงเลือกสีสว่าง เช่น สีชมพู หรือ แดง นักเรียนจะถูกปลูกฝังค่านิยม ทั้งในเรื่องของสี ของเล่น กระเภทกิจกรรม หรือ การสอนเรื่องมายาคติของ การแสดงออกตามเพศ
แต่ เมื่อ นักเรียนคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคน ไม่ดำรงตนเป็นไปตามคติความเชื่อนั้น ๆ ก็จะถูกมองว่า แตกต่าง โดยเฉพาะ นักเรียนในกลุ่ม LGBTQ และ ส่งผลให้ นักเรียนในกลุ่มนี้ ต้องได้รับกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความรุนแรง ที่ถูกปลุกฝังโดยระบบการศึกษาแบบ แบ่งเพศโดยการปลูกฝังคติ ความเชื่อต่าง ๆ ตามเพศภาะ โดยไม่คำนึงถึง เรื่องอื่น ๆ
นักเรียนในกลุ่ม LGBTQ จึงมักจะตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในโรงเรียน และ เมื่อเวลาผ่านไป คนในสังคมก็มองว่า การกระทำบางอย่างนั้น เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เพราะ เขามีความเคยชินกับการกระทำ การแบ่งแยกเหล่านั้น
จากกรณีศึกษาของ คุณไพรวัลย์ และ คู่กรณี นั้น ทำให้เห็นว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้น สำหรับผู้กระทำ ไม่ได้มองว่า เป็นเรื่องที่ผิด หรือไม่เหมาะสม เพราะ เขาอาจจะเคยชินกับความคิด แนวคิด ทัศนคติ ความคึกคะนองเช่นนั้น
กรณีนี้ นับว่าเป็นกรณีน่าศึกษา เพราะ สุดท้ายแล้ว การให้ความบันเทิง ไม่จำเป็นต้องทำแบบที่ตาม ๆ กันมา เช่น การล้อเลียนจุดเ่น ด้อยทางกายภาพ การใช้ถ้อยคำที่อาจจะด้อยค่า หรือ ทำให้อีกฝ่าย เสียใจ และ เจ็บตัว เป็นเรื่องไม่ผิด ทั้ง ๆ ที่ไม่สมควรกระทำ
โรงเรียน ควรปลูกฝังแนวคิด ให้นักเรียนมองนักรเรียนเป็นมนุษย์ อย่างเท่าเทียมกัน ไม่แย่งแยกชายหญิง และ สอนให้ทำตัว ตามมายาคติต่าง ๆ เพราะ ทุกคนเท่ากัน
ภาพจาก /www.identiversity.org
โฆษณา