18 เม.ย. 2023 เวลา 10:05 • ท่องเที่ยว
หอเอนเมืองปิซา

"Leaning Tower of Pisa" ทำไมถึงเป็น "หอเอน" แห่งเมืองปิซา ?

📍 สถานที่
เมือง - Pisa
รัฐ - Tuscany
ประเทศ - Italy 🇮🇹
เชื่อว่าเพื่อน ๆ ที่ชอบไปเที่ยวยุโรป หรือเที่ยวประเทศอิตาลี
นอกจากจะต้องแวะไปกินพาสต้าคาโบนาร่า (สูตรต้นตำรับที่ไม่ใส่ครีม) ที่กรุงโรม ชมแนวต้นสนไซเปรสของแคว้นทัสคานี หรือ ตะลุยช้อปปิ้งที่เมืองมิลานกันแล้ว
ก็น่าจะต้องเคยมาแวะเวียนชมหอเอนปิซา (โดยเฉพาะทำท่า signature เอามือผลักหอเอนหรือไปแบกหอเอนกันเนอะ) หรือถ้าเพื่อน ๆ ที่ไปเที่ยวกับคณะทัวร์ก็จะได้แวะอย่างแน่นอน 🤩
หอเอนเมืองปิซา (Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซาในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) แห่งเมืองปีซา
🧐 ว่าแต่… ทำไมหอแห่งเมืองปิซาแห่งนี้ มันถึงเอนแบบนี้ได้ละ ?
แล้วเจ้าหอนี้เคยเอนจน “ล้ม”บ้างรึเปล่านะ ?
🤓 ตอบก่อนเลยว่า ถึงแม้ว่าหอเอนปิซ่ามันดูท่าทางจะล้มได้ตลอดเวลา
หากแต่ว่า..หอแห่งนี้ “ไม่เคย” เอนล้ม นะคร้าบบ แม้แต่สักครั้งเดียว
แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสนะ.. หลายครั้งหลายคราที่เหมือนจะล้ม ก็มีปิดซ่อมไปเป็นพัก ๆ ให้เห็นอยู่เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันหอเอนปิซาเนี่ย เค้าเอนลงมามากถึง 13 องศาแล้ว (ถือว่าไม่น้อยเลยละ)
หากว่าไม่มีการแก้ไขเนี่ย เขาก็คาดกันว่าน่าจะล้มลงภายในปี 2200 (ก็อีกพักนึง เราคงไม่ทันได้มีชีวิตอยู่เห็น แห่ะ ๆ 😅)
ไม่ต้องรีบลุ้นให้หอคอยที่มีอายุ 900 กว่าปีล้มนะคร้าบ เค้าซ่อมแซมภายใต้หอคอยกันอยู่เรื่อย ๆ เลย (ถ้ามันมีทีท่าว่าจะล้มนะครับ คือเค้าไม่ได้ซ่อมแบบนี้บ่อย ๆ 😊)
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ "หอเอน"
เพราะพื้นดินและฐานที่มีโคลนไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี นั่นเองคร้าบ
แต่อย่างมากมันก็แค่เอนนะ ยังไม่เคยล้ม
นั่นเป็นเพราะจุดศูนย์กลางของความโน้มถ่วง (Center of gravity) ยังอยู่ในบริเวณฐานของหอคอย
คือ หากเราลากเส้นในแนวดิ่งผ่านจุดศูนย์ถ่วงแล้ว เส้นตรงนั้นไม่เกินขอบของฐานที่รองรับน้ำหนักวัตถุ วัตถุก็จะไม่ล้มลงมา
อาจไม่ได้เรียกว่าสมมาตร แต่เรียกได้ว่าเจ้าตัวหอเอนแห่งนี้ยังมีความหนาแน่นกระจายกันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้มันยังไม่ล้ม นั่นเอง
อีกทั้งวัสดุที่ใช้สร้างเจ้าหอคอยแห่งนี้ ก็ประกอบไปด้วยหินอ่อน ที่สามารถทนรับแรงได้ดี
แบบนี้คร้าบบ
แล้วถ้าถามว่าทำไมถึงไม่ต้องในพื้นที่อื่น ที่พื้นดินมันดีและรองรับหอทรงกระบอกสูงได้ดีกว่านี้ละ ?
เรื่องนี้คงต้องเล่าย้อนกลับไปถึงต้นกำเนิดของการสร้างหอเอนแห่งเมืองปิซากันสักนิด
เพราะว่าหอคอยแห่งนี้ ถูดสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1173 ซึ่งในเวลานั้นผู้คนอาจยังไม่ได้มีความรู้เรื่องโครงสร้างของดินมากเท่ากับในสมัยปัจจุบัน
อีกทั้ง ในขณะที่สร้างหอระฆังแห่งนี้เอง ก็ยังไม่ได้มีกำหนดการ ว่าจะสร้างเป็นหอคอยที่มีความสูงกี่ชั้น… เพราะว่ามันสร้างไม่เสร็จในครั้งเดียวนะสิ
[ ใช้เวลาสร้างถึง 3 ครั้ง เกือบ 175 ปี เลยเหรอ ! ฝืนไปไหมนะ…]
ใช้แล้วละเพื่อน ๆ หากไปเทียบกับหอไอเฟลในกรุงปารีส ที่ใช้เวลาสร้างแค่ 2 ปี ก็อาจทำให้เราตกใจกับระยะเวลาการสร้างของหอเอนปิซาได้อยู่ไม่น้อย
🚧 ก่อสร้างครั้งที่ 1 - จำนวน 3 ชั้น ในปี ค.ศ. 1173
ในระหว่างการก่อสร้าง จู่ ๆ เจ้าหอระฆังแห่งนี้ก็เกิดทรุดตัวลง การก่อสร้างเลยต้องหยุดชะงักไปแบบนั้นเลย
🛑
🏗 ก่อสร้างครั้งที่ 2 - จำนวน 4 ชั้น ในช่วงปี ค.ศ. 1274-1284
ความพยายามครั้งที่สองนี้ เริ่มต้นโดยสถาปนิกชื่อว่าคุณ “Giovanni di Simone” ที่พยายามสร้างชั้นต่อไปของหอแห่งนี้ ให้เอนกลับไปอีกข้าง หวังว่าจะทำให้หอระฆังเกิดความสมดุลมากขึ้น
แต่พอมาเกิดสงครามกลางเมืองเข้าให้ จึงทำให้การก่อสร้างหอระฆังแห่งนี้..ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้ง
🛑
👷‍♀สร้างครั้งที่ 3 - จำนวน 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1372
หลังจากจบสงครามไปสักพัก (ประมาณ 100 ปี) หอคอยอีกนี้จึงได้ถูกสร้างจนเสร็จซะที..
แต่ก็เสร็จมันแบบเอน ๆ แบบนี้นี่ละ
ก็คือก่อสร้าง 3 ครั้ง ระยะเวลา 175 ปี ที่ว่าสร้างกันไปแบบเอียง ๆ ก็เป็นแบบนี้ละคร้าบ ปล. จริง ๆ แล้ว มันไม่ได้มีอาถรรพ์สร้างไม่เสร็จอะไรหรอกนะคร้าบ เพียงแค่จังหวะเวลา รวมถึงเทคโนโลยีและความสามารถของคนในสมัยนั้น อาจไม่ได้เอื้ออำนวยเหมือนสมัยนี้
จนมาถึงในปี 1934 ที่เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini) ผู้นำของพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ของอิตาลี พยายามที่จะทำให้เจ้าหอเอน กลับมาไม่เอน
จึงได้ทำการเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่ทว่า… การกระทำครั้งนี้ กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีกเด้ออ 😱
เบนิโต มุสโสลินี (Benito Mussolini)
ก็น่าคิดเล่น ๆ เหมือนกันนะ
หากว่าสถาปนิกหรือวิศวกร พยายามทำให้เจ้าหอระฆังแห่งนี้มันกลายเป็น “หอตรง” แห่งเมืองปิซ่า ขึ้นมาได้… แล้วรัฐบาลอิตาลี เค้าจะยอมให้มันกลับมาตรงรึเปล่านะ 😆😅
โฆษณา