25 เม.ย. 2023 เวลา 05:31 • คริปโทเคอร์เรนซี

Hong Kong ตัดสิน Crypto เป็นทรัพย์สินในกองทรัสต์

ศาลสูงของ Hong Kong ประกาศให้ crypto เป็น “ทรัพย์สิน” ในประเภทการลงทุนแบบ “ทรัสต์” หรือเรียกว่า “Trust Property” นี่เป็นครั้งแรกที่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับประเภทสินทรัพย์และผิดแปลกไปจากนิยามเรื่อง สินค้าโภคภัณฑ์และหลักทรัพย์ของสหรัฐ
นิยามนี้ถูกเผยในการพิจารณาคดีกรณีบังคับชำระหนี้ของกระดานแลกเปลี่ยน Gatecoin ที่ปิดตัวไปแล้ว และการตัดสินว่าคริปโตมีลักษณะเป็น ทรัพย์สินในการลงทุนแบบ ทรัสต์ ทำให้มันสามารถถูกจัดประเภทอยู่ในหมวดการลงทุนเดียวกันกับสินทรัพย์ อย่าง หุ้นและพันธบัตรในสัญญาทรัสต์ที่ถูกเรียกว่าเป็นทรัพย์สินเหมือนกัน
“Trust Property” คืออะไร
“ทรัพย์สินในกองทรัสต์” เป็นประเภทสินทรัพย์รูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจาก สัญญาการลงทุนระหว่างนิติสัมพันธ์ 3 ฝ่าย ไม่ใช่นิติบุคคลแบบหลักทรัพย์ คือ ผู้ก่อตั้งทรัสต์ (Settlor) ผู้ได้รับมอบหมายในการดูแล หรือ ทรัสตี (Trustee) และ ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)
กองทรัสต์สามารถเกิดขึ้นเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ได้มากมาย ไม่เพียงแค่ หลักทรัพย์หุ้น หรือ พันธบัตร แต่อาจเป็น อสังหาริมทรัพย์ (REITs) หุ้นกู้ และ โครงการต่างๆ สินทรัพย์เหล่านี้จะถูกนิยามว่าเป็น “ทรัพย์สินในกองทรัสต์.
ในกรณีล้มละลายทรัพย์สินในกองทรัสต์จะมีลักษณะเฉพาะตัว คือ ทรัสตี ไม่สามารถนำสินทรัพย์มาชำระหนี้ส่วนตัวได้ ทรสตีล้มละลาย เอาไปรวมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายไม่ได้ ทรัสตีชำระบัญชี เอาไปรวมเป็นทรัพย์สินในการชำระบัญชีไม่ได้
เมื่อ คริปโต ถูกมองว่าเป็น ทรัพย์สินในกองทรัสต์ มันจึงมีสถานะเทียบเท่ากับ หลักทรัพย์ เมื่ออยู่ในกองทรัสต์แต่ก็ไม่ใช่หลักทรัพย์ และจะต้องถูกกำกับดูแลโดย “ก.ล.ต.” ที่ปัจจุบันเป็นผู้ออกกฎเกณฑ์การลงทุนลักษณะนี้อยู่
คำตัดสินดังกล่าวได้รับการเปิดเผยโดยสำนักงานกฎหมาย Hogan Lovells จาก London เมื่อต้นสัปดาห์นี้ รายงานระบุว่าผู้พิพากษา Linda Chan ซึ่งเป็นประธานในคดี Gatecoin จากศาลฮ่องกง เผยว่า คริปโต “โดยเนื้อแท้” มีคุณสมบัติทั้งหมดของการเป็น “ทรัพย์สินในกองทรัสต์”
“เช่นเดียวกับเขตอำนาจศาลอื่น ๆ คำจำกัดความของ “ทรัพย์สิน” ของเรานั้นครอบคลุมและตั้งใจให้มีความหมายที่กว้าง” ศาลเห็นว่าเหมาะสมที่จะใช้และปฏิบัติตามแนวเหตุผลที่นำมาใช้ว่า cryptocurrency เป็น “ทรัพย์สิน” ที่สามารถอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายของทรัสต์”
การตัดสินครั้งนี้ใน ฮ่องกงนั้นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับคำนิยามในสหรัฐอเมริกาซึ่งยังคงคลุมเครือ ในขณะที่ ก.ล.ต. มองว่าสินทรัพย์ crypto ส่วนใหญ่ ยกเว้น Bitcoin “อาจ” เป็นหลักทรัพย์ แต่ Commodity Futures and Trading Commission (CFTC) กลับมองว่า ทั้ง Bitcoin, Ethereum, และ USDC เป็นสินค้าโภคภัณฑ์
โฆษณา