ฺBlockchain คืออะไร

Blockchain คือเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Shared Database โดยเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่รับประกันความปลอดภัยว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกไปก่อนหน้านั้น ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขได้ ซึ่งทุกผู้ใช้งานจะได้เห็นข้อมูลชุดเดียวกัน ทั้งหมด โดยใช้หลักการ Cryptography และความสามารถของ Distributed Computing เพื่อสร้างกลไกความน่าเชื่อถือ โดยจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี Blockchain เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2008 เป็นการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้าง Platform ที่สามารถสร้างความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัล
การเชื่อมต่อที่ถึงกัน
ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจ่ายเงิน การทำงานของเทคโนโลยี Blockchain อาศัยการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology) โดยทุกข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบ และเมื่อมีรายการธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นจะต้องมีการประกาศบอกทุกเครื่องในระบบ
หลักการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain
หลักการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain คือ ฐานข้อมูลจะถูกแชร์ให้กับทุก Node ที่อยู่ในเครือข่ายและการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain จะไม่มีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางหรือเครื่องแม่ข่าย ซึ่งการทำงานแบบกระจายศูนย์นี้ จะไม่ถูกควบคุมโดยคนเพียงคนเดียวแต่ทุก Node จะได้รับสำเนาฐานข้อมูลเก็บไว้ และจะมีการอัปเดตฐานข้อมูลแบบอัตโนมัติเมื่อมีข้อมูลใหม่เกิดขึ้น ทั้งนี้สำเนา ฐานข้อมูลของทุกคนในเครือข่ายจะต้องถูกต้อง และตรงกันกับของสมาชิกคนอื่น ในเครือข่าย อีกทั้งการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ Block
Blockchain มีผลต่ออุตสาหกรรมอะไรบ้าง
Blockchain มีผลต่ออุตสาหกรรมอะไรบ้าง
เทคโนโลยี Blockchain สามารถนำมาช่วยในเรื่องของข้อมูลการผลิตในอุตสาหกรรมด้านการเกษตร อุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิตัล และ ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ และการขนส่งสินค้าต่าง ๆ เพื่อความแม่นยำของข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ผลิต ชนิดของวัตถุดิบประเภทต่าง ๆ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เทคโนโลยี Blockchain ถูกนำไปใช้ในภาคธุรกิจหลายด้าน
ดังต่อไปนี้
1.การเงินการธนาคาร ระบบการชำระและโอนเงินโดยไม่ต้องผ่านคนกลางการจัดเก็บข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย
2.ด้านการศึกษา สถาบันการศึกษาที่จัดเก็บข้อมูลผู้เรียน Certificate หรือTranscripts เพื่อความโปร่งใส ประหยัดเวลาในการตรวจสอบ
3.การเข่าและซื้อขายรถโดยเก็บข้อมูลลูกค้าบน Blockchain
4.ธุรกิจเพลงออนไลน์ ใช้ Smart Contract บน Blockchain เพื่อให้ผู้ฟังจ่ายเงินตรงไปยังศิลปินได้
5.ธุรกิจสุขภาพใช้ Blockchain ในการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับระบบดูแล
ทำไมต้อง Blockchain?
หลายคนอาจคิดว่า Blockchain เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว Blockchain คือระบบฐานข้อมูล รูปแบบหนึ่งที่ไม่มีตัวกลาง สามารถจัดเก็บรายละเอียดได้ในเกือบทุกอุตสาหกรรม
Block chain มีผลต่อชีวิตประวันยังไงบ้าง
Block chain มีผลต่อชีวิตประวันยังไงบ้าง
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีBlockchain นั้นได้มีผลต่อการใช้ชีวิตวันประจำวันไปบ้างแล้วเพราะได้มีการพัฒนาควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Music Streaming อุตสาหกรรมแฟชั่นที่ช่วยยืนยันสินค้าแท้ การเลือกตั้ง รวมไปถึงการเงินด้วย อย่างเช่น
1.การขนส่ง – ใช้ในการติดตามข้อมูลและสินค้าต่างๆในสต็อกจากต้นทางมาหน้าร้านได้
2.การเกษตร – สามารถนำมาดูสภาพอากาศ พืชและดินได้ และตรวจสอบเซนเซอร์ได้เรียลทาม
3.การเงิน – ใช้งานในธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมหรือสัญญาเป็นหลักเช่น การเงินการทำประกัน โดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิม
4.ความปลอดภัย – ผู้ใช้งานจำเป็นต้องยืนยันตัวตน Blockchain จะช่วยให้การยืนยันตัวตนเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยต่อการใช้บริการมากขึ้น
5.การโอนเงินระหว่างระเทศ – สามารถโอนเงินได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลางเลย
ดังนั้น Blockchain ไม่ได้มีแค่สกุลเงินดิจิทัล แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์กับสิ่งรอบตัวเราได้ ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การเกษตร การค้า การขนส่ง ความปลอดภัยและอื่นๆอีกมามากหมายในการดำเนินชีวิต และจะมีการพัฒนาเรื่อยๆและเข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้น แบบที่เราไม่รู้ตัว
โฆษณา