10 พ.ค. 2023 เวลา 08:48 • ธุรกิจ

ชะมดอะไรกลิ่นหอมชะมัด ตอบว่าอีเห็น(กระเห็น)ไง

แนวคิดและภูมิปัญญาที่วันนี้ต้องชื่นชมและยอมรับกันในบรรดากลุ่มคนรักกาแฟธรรมชาติโดยเฉพาะภูมิปัญญาที่เกิดจากการสังเกต คิดค้น ทดลองและพัฒนาความคิดชั้นเยี่ยมยอดจนทำให้สัตว์ชนิดนึง จากพระเอกนอกจอ มาเป็นพระเอกระดับอินเตอร์ได้ เห็นร้านมีชะมดนั่งอย่างนี้ใช่เลย ชิมเลย เทสต์เลย ร้านนี้อยู่ในห้างใหญ่มากครับ
ภาพจาก77 ข่าวเด็ด หน้าตาบ่องแบ๊วอย่างนี้ ขี้โลละ 2 แสนนะ
อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม
มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด"
ภาพจากmybest ขี้วงศ์ชะมดแต่เป็นสกุลอีเห็น(กระเห็น)
เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน
ปัจจุบัน อินโดนีเซียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกาแฟชนิดนี้ที่เกาะสุมาตรา  ที่ประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า Kape Almid ประเทศติมอร์เรียกว่า Kafe’-Laku และที่ประเทศเวียตนามเรียก Weasel Coffee
สมัยโบราณ การทำ"น้ำปรุง" เป็นเรื่องยากที่จะสืบค้นสูตรตำรับอธิบายได้ชัดเจน สืบทอดภูมิปัญญาเป็นการบอกเล่าต่อๆ กันมา แต่ละวังแต่ละสำนักก็จะมีหลักยึดถือไม่เหมือนกัน แต่โดยรวมแล้วมีแก่นเหมือนๆ กันคือการร่ำ
โฉมหน้าชะมดเช็ด ที่ผลิตไข จากวงศ์ชะมดที่นำมาทำน้ำปรุง
การลอยดอกไม้ สารพัดหลากหลายชนิด พูดถึงเรื่องการตรึงกลิ่นในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นฟากยุโรปประเทศหรือทางบ้านเรา สารตรึงกลิ่นที่นิยมใช้จะเป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นส่วนใหญ่
เมืองไทยเรานั้นแรกเริ่มเดิมทีจะใช้สารตรึงกลิ่นที่ได้จากชะมดเช็ด เสียมากกว่า
ซึ่งชะมดเช็ดเป็นสัตว์ป่าที่พบได้ทั่วไปตามป่าในประเทศไทย
กลิ่นที่ได้จากไขชะมดเช็ด หอมเย้ายวนเข้ากันได้ดีกับกลิ่นดอกไม้ไทย
หน้าตา ก็น่ารักเนาะวงศ์ชะมด แต่ไม่เชื่องเหมือนแมวนะ
ในโลกนี้พบสัตว์วงศ์ชะมด 4 วงศ์ย่อย 16 สกุล 36 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบเพียง 4 วงศ์ย่อย 9 สกุล 11 ชนิด ถึงแม้ว่าตามธรรมชาติจะมีชะมดอยู่หลากหลายสายพันธุ์แต่ก็มีเพียงชะมดเช็ด(Small Indian Civet Viverricula india) เท่านั้นที่สามารถผลิตไขชะมดได้
โดยชะมดเช็ดที่ผลิตไขได้จะถูกแบ่งย่อยเป็นอีกสองชนิดหลักๆ คือชะมดเช็ดพันธุ์ข้างลายและชะมดเช็ดพันธุ์เครือ
นี่แหละนักผลิตไข  ไม่ใช่ปัสาวะเช็ด คนละท่อกันเลย
คนในปัจจุบันมีความเข้าใจผิด อย่างมากๆ คือเข้าใจว่าชะมดกินกาแฟแล้วเราก็เอาอุจจาระมันมาทำเป็น “กาแฟขี้ชะมด” ซึ่งความจริงแล้วสัตว์ที่กินกาแฟนั้นคือ อีเห็น
หรือกระเห็น เพราะคนเรียกชื่อโดยใช้วงศ์ชะมด เดียวกัน ซึ่งอีเห็น(กระเห็น)
มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกันมาก เพียงต่างสกุลกันเท่านั้น จึงเข้าใจว่าเป็น "ชะมด" ไง
เรามักจะพูดติดปากว่า"กาแฟขี้ชะมด" ทำให้เข้าใจผิดกันตลอดมา อาจจะด้วยว่าสัตว์ทั้งสองมีความละม้ายคล้ายคลึงกันและมีวงศ์สายพันธุ์ใกล้เคียงจึงทำให้มองผ่านๆ นึกว่าตัวเดียวกันก็เป็นได้
ชะมดที่ผลิตไขนั้นเป็นสัตว์กินเนื้อโดยธรรมชาติ ตามฟาร์มมักจะเลี้ยงด้วยเนื้อไก่ร่วมกับอาหารแมว และไม่มีเม็ดกาแฟเป็นอาหารอยู่ในเมนู ดังนั้นเพื่อความเข้าใจใหม่ว่า “ชะมดไม่กินเม็ดกาแฟแต่ผลิตไขทำน้ำปรุงได้ส่วนตัวที่กินเม็ดกาแฟคือ
อีเห็น(กระเห็น) ซึ่งไม่มีต่อมผลิตไข ” เข้าใจแล้วๆ
สนับสนุนภาพอีเห็น(กระเห็น)พระเอกตัวจริง จากpostjung.com
และที่เข้าใจผิดแรงๆอีกเรื่อง ไขชะมดคือการตกผลึกของปัสสาวะชะมดนั้น ผิดถนัดชัดเจนที่จริงๆ แล้ว สำหรับชะมดเช็ดจะมีต่อมผลิตกลิ่นซึ่งเป็นฟีโรโมนอย่างหนึ่งแยกเฉพาะต่างหาก(Perineal Gland)ซึ่งมีทั้งในตัวผู้และตัวเมีย
และอวัยวะที่มีไว้สำหรับพ่นของเหลวนี้จะอยู่ใกล้ๆ ช่องปัสสาวะเรียกว่า Perineal Groove ไม่ได้ใช้ร่วมกับช่องปัสสาวะแต่อย่างใด การเช็ดป้ายของเหลวเหล่านี้ก็เพื่อประกาศอาณาเขต ป้องกันตัว และเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดกลิ่นของ Civet ก็ทำหน้าที่ได้ดีอย่างยิ่ง
กลับมาที่ตัวจริง ความจริงเปิดเผย พระเอกตัวจริงมา อีเห็น หรือ กระเห็น เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดมีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้
อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด"
ภาพจากKข่าว กาแฟหอมขี้อีเห็น(กระเห็น)เข้มข้นหอมกลมกล่อม
เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวานปัจจุบัน อินโดนีเซียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกาแฟชนิดนี้ที่เกาะสุมาตรา  ที่ประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า Kape Almid ประเทศทิมอร์เรียกว่า Kafe’-Laku และที่ประเทศเวียตนามเรียก Weasel Coffee
เอกสารอ้างอิงทางวิชาการบางฉบับ ยังเข้าใจไม่ถูกต้องเลยที่ถูกต้องคือ ต้องเรียกว่ากาแฟอีเห็น เพราะมาจากสัตว์ที่ชื่ออีเห็นอย่างไรก็ดี แม้คนละสกุล แต่วงศ์ชะมด ก็อาจเรียกชื่อวงศ์หลักได้
ภาพจากเรื่องราวกาแฟ "อีเห็น(กระเห็น) เราผลิตเองครับ/ค่ะ
เอาน่า วันหน้าจะไปสั่งกาแฟชะมดแต่นึกถึงอีเห็น(กระเห็น)ก็แล้วกันเนาะ เพราะชะมดไม่กินพืชที่ชื่อกาแฟ จบจริงด้วยความจริงเท่านี้ครับ
โฆษณา