11 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ

ใครเป็นตัวร้าย...ทำลายไตกันแน่

เป็นวิวาทะระหว่างคนไข้กับบุคลากรทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน กับเรื่องความเชื่อของคนไข้ที่ว่า "ที่ไตพังเพราะกินยาเบาหวานนี่แหละ" ทำให้คนไข้เบาหวานหลายคนหยุดกินยาเบาหวานไปดื้อๆ จนทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆตามมา วันนี้เราจึงจะมาหาคำตอบกันว่า สรุปแล้วไตพังเพราะใครกันแน่
1
ก่อนอื่นผมของตัดประเด็นเรื่องปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆที่จะทำให้เกิดภาวะไตวายเรื่องรัง เช่น การใช้ยาแก้ปวด(กลุ่ม NSAIDs) การทานอาหารรสจัด และปัจจัยอื่นๆออกไปก่อนนะครับ วันนี้จะพูดถึงแค่เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างโรคไตเรื้อรังและโรคเบาหวาน โดยโรคเบาหวานทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในกระแสเลือดจำนวนมาก เมื่อน้ำตาลจำนวนมากไหลที่ไต ทำให้กลไกการตรวจจับเกลือแร่ของไตทำงานได้แย่ลง
ประกอบกับเลือดที่เข้ามาที่ไตจำนวนมากจากการที่ไตพยายามขับน้ำตาลออก ทำให้ส่วนที่ทำหน้าที่กรองของไตเกิดความเสียหาย ประกอบกับสารพิษที่เกิดจากตาลต่างๆที่จับกับน้ำตาล ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตแย่ลงตามไปอีก
โดยผู้ที่มีความเสี่่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว พบประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ที่ป่วยเบาหวานเท่านั้น โดยมีกลุ่มที่มีความเสี่ยง ดังนี้1. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 10 ปี และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี2. มีประวัติโรคความดันโลหิตสูงในครอบครัว3. มีพี่น้องเป็นโรคไตจากโรคเบาหวาน4. มีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าเดิมหรือมีภาวะความดันโลหิตสูง(ความดันมีเอี่ยวด้วยอีกแล้ว)
ในส่วนของยาเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีการใช้อย่างแพร่แหลายอย่างยา Metformin(ปัจจุบันไม่ใช่ยาตัวเลือกแรกแล้ว) ตามแนวทางปฏิบัติการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน(ล่าสุด 2560) กำหนดให้ผู้ที่มีค่า eGFR น้อยกว่า 30 ml/min/1.73m2 ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น อีกทั้งยาเบาหวานหลายตัวมีการปรับขนาดยาตามค่าไตอยู่แล้ว จึงไม่เกิดปัญหาต่อไตแต่อย่างใด
ดังนั้น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคไตเรื้อรัง ก็คือการไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ไตทำงานหนักเกินไป การควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์(เกณฑ์น้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นกับหลายปัจจัย) จะทำให้ภาวะแทรกซ้อนที่ไตลดลง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น
ด้วยความห่วงใย
เพจหมอยาเดินไพร
โฆษณา