15 พ.ค. 2023 เวลา 22:01 • สุขภาพ

วิทยาศาสตร์ของอาการ "บวมเบียร์"

ในหมู่คอทองแดงจะมีวลีกึ่งจริงกึ่งล้อในทำนองว่า "บวมเบียร์หรอ ตัวขนาดนี้" เป็นที่สนุกเฮฮาในหมู่เพื่อนที่ดื่มด้วยกัน แต่ในความเป็นจริง เรื่องของอาการ "บวมเบียร์" เกิดขึ้นได้อย่างไร
Ethyl alcohol (Ethanol)
โดยทั่วไปแอลกอฮอล์ที่ถูกรับประทานเข้าไปจะถูกกลไกการย่อยสลายจากร่างกายให้อยู่ในรูป aldehyde และเปลี่ยนเป็น Acetate เพื่อขับออกจากร่างกายต่อไป แต่เมื่อมีปริมาณแอกอฮอล์ในร่างกายมากขึ้น จะทำให้กระบวนการดังกล่าวทำงานมากเกินไป ทำให้เกิดสารตกค้างจากกระบวนการดังกล่าวมากขึ้น
ประกอบกับแอลกอฮอล์เป็นสารอินทรีย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นกรดไขมันได้ ดังนั้นเมื่อมีการบริโภคเข้าไปในปริมาณมาก ร่างกายก็จะเปลี่ยนแอกอฮอล์ให้อยู่ในรูปกรดไขมัน ก่อนจะเปลี่ยนรูปเป็นไปไขมันรูปอื่น(triglyceride)เพื่อเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน
กลไกการเปลี่ยนรูปของแอลกอฮอล์ในร่างกาย
การที่มีเนื้อเยื่อไขมันสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับหากไม่ได้มีการออกกำลังกายหรือบริหารพลังงานอย่างเหมาะสม ก็จะทำให้อ้วน ซึ่งก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หรืออีกหลายโรคตามมา
ดังนั้น การบวมเบียร์ ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการหยอกล้อ แต่ยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ในอนาคต การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงงดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังได้
ด้วยความห่วงใย
โฆษณา