26 พ.ค. 2023 เวลา 00:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไม ‘สนามบินดอนเมือง’ ถึงติดลิสต์สนามบินอันตรายที่สุดในโลก?

แม้ว่า “สนามบินดอนเมือง” หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง จะเป็นหนึ่งในสนามบินที่เก่าแก่และมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยปัจจุบันยังมีนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติใช้บริการเป็นจำนวนมาก แต่สนามบินดอนเมืองกลับถูกจัดอันดับโดยเว็บไซต์ด้านการเดินทางชื่อดัง The BoutiqueAdventurer ให้เป็นหนึ่งในสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก โดยอยู่ในลำดับที่ 26 จากทั้งหมด 29 อันดับที่มีการรายงาน
1
สำหรับรายชื่อสนามบินอันตรายที่ติดโผดังกล่าว ไม่ได้มีแค่สนามบินที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น แต่ยังมีสนามบินในประเทศพัฒนาแล้วด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยสาเหตุและการจัดอันดับความอันตรายของสนามบินจะแบ่งออกตามประเภท เช่น ความยาวของรันเวย์ ที่ตั้งของรันเวย์ ไปจนถึงปัจจัยต่างๆ ทางสังคมในประเทศนั้นๆ
ความอันตรายของ “สนามบิน” แบ่งจากเกณฑ์อะไรบ้าง?
สนามบินแรกที่เว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยวอธิบายถึงความอันตราย ก็คือ “สนามบินนานาชาติคันไซ” ประเทศญี่ปุ่น ด้วยเหตุผลของทำเลที่ตั้งที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหวและลมพายุตามฤดูกาลที่เกิดเป็นประจำทุกปี
2
นอกจากนี้ความอันตรายของสนามบินยังสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1
1. ความอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นได้จาก กระแสลมแรง และได้รับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ สนามบิน Barra International Airport (สกอตแลนด์), Wellington International Airport (นิวซีแลนด์) และ McMurdo Station Airport (ทวีปแอนตาร์กติกา) สำหรับสนามบินที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ได้แก่ Svalbard Airport (นอร์เวย์), Gustaf III Airport (แคริบเบียน), Gisborne Airport (นิวซีแลนด์), Madeira Airport (โปรตุเกส) และ Gibraltar Airport (ยิบรอลตาร์)
1
2. ความอันตรายจากระดับความสูง ได้แก่ Lukla Airport (เนปาล) เนื่องจากอยู่บริเวณเบสแคมป์ในหิมาลัยเทือกเขาสูงที่สุดในโลก, Aspen/Pitkin County Airport (โคโลราโด สหรัฐอเมริกา) และ Telluride Regional Airport ในเมืองโคโลราโดเช่นกัน แต่อยู่บนหุบเขาที่มีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปี และ Courchevel Airport (ฝรั่งเศส) เป็นสนามบินที่อยู่กลางหุบเขาและรีสอร์ตสกี
2
3. ความอันตรายที่เกิดจากสภาพของรันเวย์ โดยปัญหาจากรันเวย์ของแต่ละสนามบินจะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้
Princess Juliana International Airport (เซนต์มาร์ติน) เล็กและแคบกว่าสนามบินทั่วไป
Narsarsuaq Airport (กรีนแลนด์) เสี่ยงมีน้ำแข็งปกคลุมรันเวย์ช่วงอากาศหนาวเย็น
Cleveland Hopkins International Airport (คลีฟแลนด์ สหรัฐอเมริกา) ฝนตกหนักบ่อย และเคยถูกประเมินว่าระบบความปลอดภัยต่ำ
Agatti Airport หรือ Aerodrome (เกาะอากัตติ, Agatti Islands ของอินเดีย มีรันเวย์เล็กและแคบกว่าสนามบินทั่วไป
2
Congonhas-São Paulo Airport (บราซิล) รันเวย์ลื่น เคยมีอุบัติเหตุเครื่องบินไถลออกนอกลู่ จนมีผู้เสียชีวิต 180 ราย ในปี 2007
5
โฆษณา