18 พ.ค. 2023 เวลา 23:45 • ความคิดเห็น

เมื่อ GPT เป็นกระแสทั่วโลก แม้แต่มหาวิทยาลัยในจีน ก็เริ่มสอนและพูดถึง

ตอนนี้กระแส GPT, ChatGPT และ Generative AI (AI มี่ใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ จากชุดข้อมูลที่มี ที่ผ่านการเรียนรู้มาแล้ว) ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องทั่วโลก รวมถึงที่ไทย
และในจีนเอง โดยตอนนี้มหาวิทยาลัยที่จีน ก็มีการพูดถึง Generative AI ตัวอย่างเช่น GPT อย่างแพร่หลาย และในจีนก็มีการวิจัยและพัฒนาของตนเองในลักษณะเดียวกับ GPT และแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วย GPT ยอดฮิตอย่าง ChatGPT
กระแสดังกล่าวนี้ ทำให้ทุกวงการหันมาตระหนักถึง AI ไม่ใช่แค่ในวงการเทคโนโลยีอีกต่อไป
โดยเฉพาะทางสายธุรกิจ เป็นหนึ่งในวงการที่ AI เข้ามามีบทบาทมาก ก็ตื่นตัวมากตามไปด้วย ในมหาวิทยาลัยที่จีน ตอนนี้สายบริหารธุรกิจและสายอื่นๆที่ไม่ได้เป็นสายเทคโนโลยีโดยตรง ได้เริ่มสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ AI โดยสอนให้เข้าใจแนวคิดด้วย
ตัวอ้ายจงเอง ที่มาทั้งจากสายเทคโนโลยี (ปตรีและปโท จบทางด้าน Computer science and engineering) และตอนนี้เป็นอาจารย์การตลาด คณะบริหารธุรกิจ ม.เชียงใหม่ จึงสนใจทางสายนี้เป็นพิเศษเช่นกัน
และผมก็ได้รับโอกาสจากสถาบันการศึกษาหลายแห่งให้บรรยายประเด็น MarTech (Marketing Technology) และ การประยุกต์ใช้ AI มาหลายปีแล้ว
ล่าสุดก็บรรยายประเด็น GPT ครับ
ผมได้เล่าเรื่องพื้นฐานของ AI , Machine Learning (ML) ,Deep learning ,Large Language Model (LLM) Pre-trained model, การ Fine-tuning model เพื่อให้เข้าใจถึงว่า อะไรคือ GPT และมาเป็น ChatGPT ยังไง หลักการทำงานคืออะไร จากนั้นถึงคุยเรื่องการประยุกต์ใช้ในสายธุรกิจและการตลาด เฉพาะเจาะจงลงไป
เพราะส่วนใหญ่ เราจะจะเน้นการใช้งานเลย แต่อาจจะไม่รู้ที่มาที่ไป ในการเล่าของผม ไม่ได้ลงลึก technical เพราะบรรยายในสายธุรกิจมากกว่าเทคโนโลยีจ๋าๆ เอาให้พอเข้าใจที่มาที่ไป ผ่านตัวอย่างจริง
Prompt engineering ที่ตอนนี้ได้รับความสนใจมาก เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ผมเล่าเช่นกัน
นับตั้งแต่มีการนำ AI มาประยุกต์ใช้แพร่หลาย ไม่ใช่จำกัดแค่ในแวดวงเทคโนโลยี โดยกล่าวโดยคร่าวๆ ผู้ที่ทำงานในสาย Prompt engineering จะทำหน้าที่สื่อสารกับ AI ให้ทำงานตามเป้าที่เราต้องการให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นตัว prompt หรือคำสั่งที่เราใช้ในการสื่อสาร จะต้องสามารถทำให้ AI เข้าใจเป้าหมายและบริบทสิ่งที่ต้องทำงานได้
ผู้ที่ป้อน prompt จึงต้องเข้าใจหลักการทำงานของ AI และเข้าใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เช่น ถ้าเอามาใช้ในสายงาน Supply chain ก็ต้องมีความรู้ทางสายนั้น เพื่อสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่า สิ่งที่ AI ประมวลผลให้เรา ถูกหรือไม่?
อย่างไรก็ตาม ขอฝากประเด็นถึงการใช้ Generative AI อย่างเช่น ChatGPT ควรคำนึงถึงประเด็น Ethics และ Plagiarism การคัดลอกทำซ้ำข้อมูลด้วย โดยเฉพาะทางวิชาการ
หากใครจะมาเรียน มาทำงาน หรือมาใช้ชีวิตในจีน อย่าลืมสมัครและติดตั้งตัวช่วยที่จะทำให้ใช้บริการออนไลน์ได้ครบถ้วนราบรื่นเหมือนอยู่ไทยนะครับ ดูข้อมูลได้ที่ https://www.bullvpn.com
เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมได้ตรวจเปเปอร์งานวิจัย งานหนึ่ง พบว่า มีแนวโน้มใช้ ChatGPT ช่วยเขียนเนื้อหาหลายส่วน แม้แต่ Abstract และ Discussion (Conclusion) (โดยผมตรวจทั้งจาก zerogpt.com และถาม ChatGPTเอง ตัวระบบตอบว่า generated โดยเก๊าเอง 😀 )
1
ผมมองในแง่ดีว่า เขาคงไม่ได้ตัังใจจะใช้ความคิด AI generateให้มาใส่ในงานของตน แต่คงจะใช้เพื่อแก้ไขไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตามในมุมผม ผมก็มองว่า มันก็คือการคัดลอกจาก AI นะ เพราะตามหลักของ ChatGPT มันไม่ได้แค่แก้ในสิ่งที่เราคิดเราเขียน แต่สร้างใหม่ในแบบที่ระบบต้องการและแสดงออกมา โดยเอาจากที่มีใน datasetขนาดใหญ่มา generate
ดังนั้นควรใช้ ChatGPT ใช้ AI อย่างระวัง รวมทั้งในงานวิชาการ สำหรับเปเปอร์วิจัยชิ้นนั้นที่ผมตรวจ ผมคิดว่าสิ่งนี้เข้าข่าย Plagiarism จึงให้กลับไปแก้ไขตามระเบียบ
หากใครสนใจด้านนี้ ร่วมพูดคุยกันได้นะครับ
ถ้าใครเดินทางไปใช้ชีวิตในจีน อยากใช้บริการ Internet บริการออนไลน์ได้ราบรื่นเหมือนอยู่ไทย เพราะยังมีความจำเป็นต้องติดต่อครอบครัว ติดต่องาน ทำให้หลายคนเริ่มได้ยินเกี่ยวกับ VPN และถามเข้ามาว่าคืออะไร เห็นได้ยินว่า ลองเข้าไปดูรายละเอียดกันได้ที่นี่นะครับ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการของไทย
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
โฆษณา