21 พ.ค. 2023 เวลา 12:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เราจะปกป้องเด็ก ๆ จากภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างไร?

อายุเฉลี่ยของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์มือถือมีอายุน้อยลงไปเรื่อย ๆ ข้อมูลงานวิจัยที่ถูกเปิดเผยออกมาพบว่า 33% ของเด็กอายุ 12 ปีในสหรัฐอเมริกามีโทรศัพท์ใช้งานกันอยู่แล้ว
2
ยิ่งไปกว่านั้น 12% ของเด็กวัยหัดเดิน ซึ่งมีอายุเพียงแค่ 1-2 ขวบนั้น ก็ยังมีโทรศัพท์ใช้งานแล้ว มันได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิตมนุษย์ไปเสียแล้ว และมันได้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือที่เปรียบเสมือน “พี่เลี้ยงเด็ก” ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเหล่าผู้ปกครองที่มีงานยุ่งมากมายในทุกวันนี้
3
กฎหมายของรัฐบาลเพื่อปกป้องเด็กออนไลน์
เพื่อต่อสู้กับปัญหาที่กำลังกลายเป็นประเด็นทางสังคมที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยทางด้านออนไลน์ การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying)
หน่วยงานรัฐจากทั่วโลกจำนวนมากกำลังควบคุมเว็บไซต์และแอปที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเหล่านี้ มีแอปมากมายที่ พ่อแม่ นักการศึกษา และสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกา ทำการแบนอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ดี การแบนนั้นอาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะเราจำเป็นต้องทำให้สิ่งที่มีอยู่นั้นปลอดภัยต่อการใช้งาน
2
ในสหรัฐอเมริกามีตัวอย่างที่น่าสนใจ Gavin Newsom ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ลงนามในร่างกฎหมายฉบับแรกในประเทศเพื่อคุ้มครองข้อมูลออนไลน์ของเด็ก
1
หน่วยงานรัฐกำลังพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ในกรณีที่ Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook ได้ซ่อนงานวิจัยที่พิสูจน์ถึงอันตรายทางจิตใจและอารมณ์ที่ Instagram มีต่อเด็ก ๆ
1
Gavin Newsom ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ลงนามในร่างกฎหมายฉบับแรกในประเทศเพื่อคุ้มครองข้อมูลออนไลน์ของเด็ก (CR:Los Angeles Times)
ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเริ่มออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กออนไลน์ และกำหนดให้บริษัทสื่อสังคมออนไลน์รับผิดชอบต่อเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของพวกเขา
1
แต่ดูเหมือนมันจะยังไม่เพียงพอ เพราะตอนนี้ยังมีข่าวพาดหัวรายวัน เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต การฆ่าตัวตาย และแนวโน้มอันตรายที่เกิดขึ้นต่อเด็ก แม้กระทั่งในประเทศไทย เด็ก ๆ ก็เป็นเหยื่อของสิ่งเหล่านี้มากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการเมือง
2
การศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยออนไลน์
กลุ่มคนรุ่นใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งในทุก ๆ ช่วงวัยก็ตาม ต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต และ การใช้งานที่เหมาะสมก่อนที่จะเริ่มใช้งาน
ต้องมีการตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นอัตรายใด ๆ เช่น เหล่าคนแปลกหน้าหรืออาชญากรที่เข้ามาหลอกลวงเด็กผ่านเครื่องมือออนไล์ การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะเรื่องภาพลักษณ์อันสวยหรูของร่างกายที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์
ในบางบริษัทและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรได้เริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความเสี่ยงเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม Be Internet Awesome ของ Google หรือ NPO ของ Cyber Angels เป็นตัวอย่างที่ดีของสิ่งเหล่านี้
2
มันแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการควบคุมโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นในเดสก์ท็อปหรืออุปกรณ์พกพา กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก
นอกจากนี้ บริษัทที่ผลิตแอปบางแห่งยังได้จัดการด้วยตัวเอง TikTok ประกาศว่า กำลังสร้างเครื่องมือเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถบล็อกบุตรหลานไม่ให้เข้าถึงเนื้อหาด้วยแฮชเแท็กหรือคีย์เวิร์ดเฉพาะ ในขณะที่ Instagram ได้เพิ่มฟีเจอร์การควบคุมโดยผู้ปกครอง เช่น “Quiet Mode” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้หยุดพักจากหน้าจอไปทำอย่างอื่น
2
TikTok ที่เพิ่มเครื่องมือการควบคุมของผู้ปกครอง (CR:Lifewire)
แอปที่ควบคุมโดยผู้ปกครอง
แอปที่ควบคุมโดยผู้ปกครองโดยตรงนั้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือความปลอดภัยทางออนไลน์ที่ดีที่สุดสำหรับเยาวชน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นอนุญาตให้มีการบล็อกผู้ติดต่อที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าถึงบุตรหลานของคุณได้
แอปสามารถที่จะตรวจสอบได้ว่ามีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ เช่น แอปควบคุมโดยผู้ปกครองของ FamilyKeeper ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เช่นกัน
2
แนวคิดเบื้องหลังของแอปเหล่านี้คือมอบเครื่องมือแก่ผู้ปกครองเพื่อให้เด็ก ๆ ได้สำรวจโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัย หลัก ๆ คือการให้ลูก ๆ ของคุณสามารถเรียนรู้สิ่งที่ยอมรับได้ทางออนไลน์ ไม่ว่าจะในแง่ของคำพูด พฤติกรรม มารยาท และกิจกรรมต่างๆ จนกว่าพวกเขาจะมีประสบการณ์มากพอที่จะจัดการได้โดยไม่ต้องมีเครื่องมือเหล่านี้
2
ความต้องการของเด็กแต่ละช่วงวัยนั้นมีความแตกต่างกัน เด็กในช่วงหัดเดินก็ไม่เหมือนกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การตรวจสอบเวลาที่อยู่กับหน้าจอ การแจ้งเตือนถึงตำแหน่งผู้ใช้ และการบล็อกแอป ทั้งหมดนี้สามารถปรับให้เข้ากับอายุของบตรหลานและความต้องการของบุตรหลานในแต่ละช่วงวัยได้
บทสรุป
เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ๆ ของรัฐบาลทั่วโลก แม้กระทั่งรัฐบาลไทยเอง หน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่่น ๆ ควรที่จะมีปฏิรูปในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
มันน่าสนใจนะครบ ประเด็นที่สำคัญมาก ๆ เช่นนี้ กลับมีการยกขึ้นมาถกเถียงหรือมีการพูดถึงในนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ น้อยมาก ทั้งที่เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ กับเยาวชนในประเทศ และอนาคตของประเทศเรา
มันกลายเป็นเรื่องราวดังกล่าวถูกผลักภาระไปให้กับผู้ปกครอง ซึ่ง แน่นอนว่ามีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันตามกำลังทรัพย์ หรือ วิธีการเลี้ยงดูของแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันไป
ซึ่งผมมองว่า มันควรถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐาน หรือผลักดันให้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเสียด้วยซ้ำ ที่แทบไม่ต่างจากนโยบายในการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศ เพราะเรื่องราวเหล่านี้ มีผลอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศเราโดยเฉพาะกับบุตรหลานของพวกเราในอนาคตนั่นเองครับผม
3
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา