22 พ.ค. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สภามินนิโซตาผ่านกฎหมายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้คนขับ Uber และ Lyft

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา วุฒิสภาของรัฐมินเนโซต้าได้ผ่านกฎหมายสำคัญในการการันตีค่าแรงขั้นต่ำให้กับแรงงานในกลุ่ม gig workers โดยมีบริษัทชื่อดังอย่าง Uber และ Lyft ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
โดยผลโหวตที่ออกมาจากวุฒิสภา โหวตผ่านกฎหมายไปแบบฉิวเฉียดเท่านั้นด้วยคะแนน 35-32
ก่อนหน้านี้คะแนนในสภาผู้แทน (สภาล่าง) ก็มีคะแนนที่สูสีกันที่ 69-61
แสดงให้เห็นว่า กฎหมายฉบับนี้ผ่านการถกเถียงมาอย่างหนักและมีความใกล้เคียงอย่างมากในจำนวนผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ตอนนี้ขั้นตอนสุดท้ายเหลือแค่การลงนามผู้ว่าการรัฐทิม วอลซ์ (Tim Walz) เท่านั้น
หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านออกมาจริง จะส่งผลให้แรงงานทั้งจาก Uber และ Lyft ได้รับค่าจ้างจากการขับ 1.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อไมล์ และก็ยังจะได้เพิ่มอีก 0.34 ดอลลาร์สหรัฐต่อทุกนาทีที่ทำงาน
นอกจากเงินค่าตอบแทนที่ปรับขึ้น สตาร์ทอัพเหล่านี้ยังต้องจัดการประกันสุขภาพให้กับคนขับของพวกเขาด้วย
📌 การคัดค้านจากฝั่งผู้ประกอบการ
การประกาศผ่านกฎหมายโดยสภาสูงของรัฐมินิโซตาทำให้แรงงานและนักการเมืองฝ่ายที่สนับสนุนออกมาโห่ร้องแสดงความดีใจร่วมกันข้างหน้ารัฐสภา
1
แต่ฝ่าย Lyft และ Uber ก็ออกมาแสดงความกังวลใจ และกล่าวว่ากฎหมายครั้งนี้จะกระทบกับการดำเนินงานของบริษัทของพวกเขา
โดยทั้งสองแสดงความเห็นว่า “คนขับของพวกเขาจำนวนมากต้องการสัญญาแบบเป็นสัญญาจ้างชั่วคราวมากกว่าที่จะเป็นสัญญาจ้างงานเต็มตัว” เนื่องจากต้องการความยืดหยุ่นในการเลือกเวลาในการทำงานได้
Uber ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมแสดงความผิดหวังอีกว่า “พวกเขาใช้เวลาหลายเดือนพยายามที่จะให้ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐทำงานร่วมกับพวกเขา เพื่อที่จะได้ประนีประนอมอัตราค่าจ้างที่จะไม่ทำร้ายคนขับทีหลัง”
1
ซึ่งตอนนี้ความกดดันตกไปอยู่กับตัวผู้ว่าการรัฐมินนิโซตาแทนว่าจะรับร่างกฎหมายนี้ไหม
การเคลื่อนไหวเพื่อขอขึ้นค่าแรงงานของเหล่า gig workers แพร่ขยายไปทั่วสหรัฐอเมริกาท่ามกลางสถานการณ์อัตราค่าครองชีพที่สูงสุดในรอบหลายสิบปี
📌 รัฐมนตรีแรงงานออสเตรเลียกับประเด็นการขึ้นค่าแรง
ประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำยังถูกกล่าวถึงที่ออสเตรเลียด้วย
โดยทาง Employment Minister คุณโทนี่ เบิร์ค (Tony Burke) ก็ออกมาสนับสนุนอย่างเข้มข้นว่า ควรมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ “แต่ขึ้นไปในลักษณะที่สอดคล้องไปกับอัตราเงินเฟ้อ”
และก็ยังออกมาแสดงความเห็นว่า การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำที่สอดคล้องกับเงินเฟ้อนี้จะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในวงกว้าง (wage-price spiral)
เพราะในปัจจุบันอัตราค่าจ้างยังไม่มีสัญญาณที่จะส่งต่อไปยังอัตราเงินเฟ้อเลย
ทางคุณเบิร์คยังออกมาแสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ทางภาครัฐต้องการให้ค่าจ้างแรงงานขึ้นมาในอัตราที่แซงหน้าอัตราเงินเฟ้ออีกครั้ง เพื่อที่จะทำให้คนเหล่านี้เริ่มเดินหน้าไปได้ (start to get ahead) อีกครั้ง
โดยตอนนี้ ตัวเลขที่มีการพูดถึงออกมาคือ การขึ้นค่าจ้าง 7% ซึ่งก็สอดคล้องไปกับอัตราเงินเฟ้อที่ขึ้นไปสูงสุดอยู่ราว 7.8% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน
อย่างไรก็ดี ยังมีเวลาให้ทางภาครัฐติดตามตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนต่อๆ ไปก่อน และก็ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาฝั่งผู้ประกอบการเอกชนด้วยว่าค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันแค่ไหน
 
ทั้งหมดก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ภาครัฐตัดสินใจได้ว่าจริงๆ ว่าอัตราการขึ้นค่าจ้างที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด…
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References:
โฆษณา