23 พ.ค. 2023 เวลา 15:43 • ท่องเที่ยว
ฮาวามาฮาล

"Hawa Mahal" พระราชวังรังผึ้งสีชมพูแห่งอินเดีย 🇮🇳

📍 สถานที่เมือง - Jaipurรัฐ - Rajastanประเทศ - India 🇮🇳
👑🐝พระราชวังที่หน้าตาคล้ายกับรังผึ้งสีชมพูแห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย สร้างในปีค.ศ. 1799 โดยมหาราชาสะหวาย ประธาป สิงห์ (Maharaja Sawai Pratap Singh) สร้างโดยหินทรายสีชมพู และสีแดง
Maharaja Sawai Pratap Singh
มีหน้าตาคล้ายรังผึ้ง แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับรังผึ้งนะคร้าบ…
สถาปนิกผู้ออกแบบพระราชวังแห่งนี้ คือ คุณลาล ชันด์ อุสถัด (Lal Chand Ustad) โดยได้แรงบันดาลใจการสร้างพระราชวังแห่งนี้มาจาก รูปทรงมงกุฎของพระนารายณ์ ตกแต่งด้วยหน้าต่างขนาดเล็กที่แกะสลักอย่างสวยงาม
สาเหตุที่หน้าต่างของพระราชวังแห่งนี้ มันถึงมีเยอะมากมายถึง 953 ช่อง ขนาดนี้ ก็เพราะว่า พระราชวังแห่งนี้เป็นส่วนขยายของพระราชวังเดิม ( City Palace ) ในบริเวณใกล้เคียงกัน
ด้วยความประสงค์ของพระราชาคือ ไม่ต้องการให้นางในวังออกไปเดินในที่สาธารณะ ตัวของพระราชวังจึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีหน้าต่างที่เยอะมาก เพื่อให้นางในวังได้เห็นโลกภายนอกจากพระราชวัง และทำให้พวกนางพึงพอใจและไม่อยากแอบหนีออกไปเดินข้างนอกวัง
อีกทั้งการออกแบบหน้าต่างที่สลักลวดลายเอาไว้ ยังช่วยพลางสายตา จากการแอบมองของคนภายนอกเข้ามา ทำให้นางในวังได้สามารถทำกิจกรรมข้างในได้โดยไม่ถูกจับตามอง นั่นเองคร้าบ
และอีกหนึ่งประโยชน์ที่เป็นผลพลอยได้คือ ภายในตัวของพระราชวังก็จะมีอากาศที่ถ่ายเท มีลมพัดอยู่ตลอดเวลา
💡ถึงแม้จะมีหน้าตาชวนจินตาการว่าคล้ายรังผึ้ง…
หากแต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว พระราชวังแห่งนี้ไม่ได้มีฉายาว่าพระราชวังรังผึ้งนะ… แต่กลับเป็น “พระราชวังแห่งสายลม” นะคร้าบบ
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย :
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า สถาปัตยกรรมมากถึง 2 แบบ ในแห่งเดียว !นั่นคือ การผสมผสานระหว่าง “สถาปัตยกรรมราชปุต (Rajput)” และ “สถาปัตยกรรมโมกุล (Mughul)” โดยที่ลักษณะแบบราชปุตพบได้ในงานออกแบบโดม, เสา และลวดลายดอกบัวกับดอกไม้
สถาปัตยกรรมโมกุล (Mughal Architecture) เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม (Indo-Islamic architecture) ซึ่งพัฒนาขึ้นในสมัยโมกุล ราวคริสต์ศตวรรศที่ 16 ถึง 18
สถาปัตยกรรมราชปุต (Rajput)
สถาปัตยกรรมโมกุล (Mughal Architecture)
ลักษณะเด่น ๆ ของเค้าเลยก็คือ ทรวดทรงของพระราชวังหรือโบสถ์จะเป็นโค้งเว้า โดม นิยมใช้หินอ่อนในการก่อสร้าง
ในขณะที่สถาปัตยกรรมราชปุต (Rajput) เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมของฮินดู เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้แผนผังค่อนข้างเยอะ รวมไปถึงการใช้ลวดลายของสถาปัตยกรรมที่เด่นและซับซ้อน
ถ้าเพื่อน ๆ ท่านไหนที่เคยไปชมสถานที่จริงมาแล้ว (หรือลองเสิร์ชภาพ) ก็คงจะเห็นความผสมผสานของ 2 รูปแบบสถาปัตยกรรมได้อย่างลงตัว 😊
โฆษณา