25 พ.ค. 2023 เวลา 03:14 • การเมือง
การจัดทำงบประมาณประจำปีเดิมที่เคยปฏิบัติของภาครัฐ ไม่ค่อยต่างจากภาคเอกชนใหญ่ๆ เท่าใดนักค่ะ วิธีการก็คือการเอางบประมาณเดิมปีก่อนที่เคยตั้ง มาเทียบการใช้จริง แล้วจึงบวก/หรือลบ ราวร้อยละ 10 โดยเฉลี่ย จากนั้น Big ด้านงบฯ ขององค์กร ก็จะดูงบภาพรวมว่ามันสวยไหม ถ้าไม่สวยก็จะเลือกบีบหน่วยงานที่คิดว่าจะบีบได้ จึงค่อยส่ง Big สุดขององค์กร อนุมัติเพื่อเสนอต่อไป
ปัญหาของวิธีที่ปฏิบัติกันอยู่ ที่มีการถกกันมากก็คือ เมื่อหน่วยงานใช้ไปจริงตามจำเป็นแล้วใช้ไม่หมด ก็มักจะหาวิธีละลายรีบใช้ให้หมดเสีย เพราะเกรงว่าหากปรากฎมีงบเหลืออยู่มาก การของบปีต่อไปก็จะถูกตัดงบลง ซึ่งอาจกระทบกับการใช้เงินตามความจำเป็นในปีถัดไปได้ และตรงคำว่า "วิธีละลาย" นี่เองที่เป็นที่มาของการถกกันว่าเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตได้
มาว่าถึงงบประมาณฐานศูนย์ (Zero-based budgeting) คนแรกที่พัฒนาแนวคิดนี้ได้สำเร็จ เป็นเพียงผู้จัดการตัวเล็กๆ ในร้านขายอุปกรณ์!!! ที่เท็กซัสเมกา นามว่า Peter Pyhrr จากนั้นเขาก็เขียนบทความเรื่องนี้ลงหนังสือ Harvard Business Review (ตั้งแต่เรายังไม่เกิดเล้ย!) นิยามภาษาบ้านๆ ก็คือ "ตั้งงบประมาณแบบเถ้าแก่ คือ ลื้อต้องทำอะไร ไม่ทำได้ป่ะ ถ้าทำจะได้อะไรฟระ บนประสิทธิภาพแล้วแน่นะ ไหนเอามาดูจิ โอเค ให้แค่นี้พอ!" เราว่าแนวคิดนี้มันคล้ายเผด็จการเถ้าแก่เสียมากกว่า (อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะคะ)
หากคุณพอได้ภาษาอังกฤษ เราแนะนำให้คุณอ่านบทวิคราะห์ของ Deloitte บทวิเคราะห์ชื่อ Zero-based budgeting, Zero or hero? ถ้าเราถอดแปลสรุปมาให้เกรงจะถูกครหาว่า Bias แนวคิดนี้ ลองอ่านข้อเสียของมัน ในทางปฏิบัติจะปวดหัวขนาดไหน แค่เตรียมข้อมูล defensive ก็ไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันแล้ว เราก็อยากรอดูฝีมือพรรคร้าบาลใหม่อยู่เหมือนกันค่ะ
โฆษณา