26 พ.ค. 2023 เวลา 23:22 • ครอบครัว & เด็ก

เชื่อเถอะ พังแล้วซ่อมมันยาก.....

ลูกจะรื้อของ
ลูกจะร้องกวน
ลูกจะอยู่ไม่นิ่ง
ทุกอย่างคือพัฒนาการตามวัยของเด็กทั่วไป
อย่าหยุดพัฒนาการของลูก ด้วยหน้าจอ
เจอเคสเยอะมาก ของเสียไปแล้วมาตามแก้นี่เหนื่อย แก้แล้วบางทีก็ไม่กลับมาเหมือนเดิม
เขากำลังเจออยู่... ปีต้นๆ สมาธิสั้นและไม่ชอบสังคม เจอกันจริงๆชอบคุยจอ
จากภาพความเห็นจากเพื่อนของตัวเองค่ะ
ความเห็นหนึ่งของคุณหมอพัฒนาการเด็ก
อีกความเห็นหนึ่ง คือความเห็นของเพื่อนที่เป็นอาจารย์
คณะสถาปัตย์
เคยแนะนำผู้ปกครอง และพูดเรื่องนี้หนักมาก
ตั้งแต่เริ่มทำงานได้ไม่นาน
ตอนเริ่มงานใหม่ๆ เพิ่งจบบอร์ดเด็ก รู้ตัวว่าขาดทักษะเรื่องการสื่อสารและการพูดคุยกับพ่อแม่ด้านการปรับพฤติกรรมของเด็ก จึงหาโอกาสไปอบรมระยะสั้นเพิ่มเติมตามโอกาส ด้านพัฒนาการเด็กบ้าง จิตเวชเด็กบ้างให้พอทำงานกับเด็กได้อย่างเข้าใจ
สมัยตอนที่ยังเรียนต่อชอบขลุกอยู่แต่ใน ICU ค่ะ ชอบดูแลเด็กป่วยกายจริงจัง ชอบดูคนไข้หนัก เวลาต้องผ่านคนไข้นอก หรือดูเด็กไม่ป่วยที่มารับวัคซีน สมัยยังเรียนตอนนั้นไม่อิน...
แต่พอเรียนจบต้องอยู่กับเด็กที่ไม่ใช่เด็กป่วยหนักแบบคาบท่อช่วยหายใจ ปัญหาพฤติกรรมตามวัย ปัญหาการเลี้ยงดูที่พ่อแม่เจอบ่อยๆ พ่อแม่ก็หวังเราซึ่งเป็นหมอเด็กเป็นที่พึ่ง จะมารักษาแค่ที่ลูกเขาป่วยบางครั้งมันก็ห้วนเกินไปในความรู้สึกของตัวเองด้วย จะแนะนำอะไรก็พูดไม่เป็น เลยหาเวลาไปอบรมสั้นๆ ฟังเรื่องที่ตัวเองไม่ได้ชำนาญนัก ให้พอเข้าที่เข้าทาง แก้ปัญหาคนไข้ได้ระดับหนึ่ง ถ้าเหลือบ่ากว่าแรงก็ต้องส่งตัว
กลับมาร้อนวิชา เพราะปัญหาเหล่านี้มีให้เห็นบ่อยๆ ในยุคที่มือถือมีทุกบ้าน เริ่มให้คำแนะนำผู้ปกครองอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา....
ตั้งแต่เมื่อยี่สิบปีก่อน...ตอนนั้นอายุยังไม่สามสิบเลย...เพราะได้เรียนต่อเด็กเร็ว เลยได้เป็นหมอเด็กตั้งแต่อายุ 26 ปี.... 26 เค้าก็เรียกป้าแล้วนะ แม่เด็กพาลูกมาเรียกเราป้า.... สะดุ้งเลย
ผลลัพธ์คือ มีคนเชื่อบ้าง (ส่วนน้อย)​ และไม่เชื่อบ้าง (ส่วนใหญ่)​ อาจจะด้วยเราอายุน้อย เพิ่งจบ และเป็นปัญหาที่ไม่ได้เห็นในวันนี้... มันคือกาลข้างหน้า...
เคยโดนตำหนิโดนว่าก็ไม่น้อย ทั้งด่าต่อหน้า ไปจนเขียนร้องเรียนว่าหมอแช่งเด็ก หาว่าลูกเขาจะพูดไม่ได้ สมาธิจะเสีย เขาให้ดูจะเป็นอะไร...
ที่เตือน พวกนี้ลูกเล็กไม่ถึงขวบทั้งนั้นค่ะ ซึ่งมันอันตรายมาก...
แต่เป็นความเชื่อของพ่อแม่ ว่าจะช่วยทำให้ลูกฉลาด ช่วยลูกฝึกพูด และมันเป็นความง่ายที่จะทำให้ลูกหลานหยุดร้องไห้และสงบลง แบบพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย
ไม่เหนื่อย ไม่ต้องคิดปลอบอะไรลูกหลานมากมาย แค่เปิดจอคือจบ
เวลาโดนร้องเรียนเจ้านายก็เรียกไปตำหนิ ทุกครั้ง ว่าหมออย่าไปยุ่งกับลูกคนอื่น สมัยนี้ใครๆเขาก็ใช้ก็ทำกัน.... เราก็ไปนั่งอธิบายเจ้านายว่าเด็กจะมีปัญหาพัฒนาการตามมาจริงๆ มันมีงานวิจัยออกมาแล้ว ว่ามันสัมพันธ์กัน และต่ำกว่าสองขวบไม่ควรใช้เลย มันไม่ควรใช้ จบที่ท่านบอกว่า นั่นลูกคนอื่น ไม่ใช่ลูกหมอ สิทธิ์ของพ่อแม่เขาที่จะเลี้ยงแบบไหนก็ได้
เซ็งเป็นหมาโดนน้ำร้อนสักพักค่ะ แต่ก็ไม่ได้หยุดเตือน แต่เลือกพูดแทน เมื่อก่อนเห็นใครเอาให้ลูกดู บอกเขาหมด เตือนเขาหมด.... จากหมอก็กลายเป็นหมาไป แต่ถ้าหมอไม่พูด ใครจะพูด
เลยต้องมาเลือกบอก คนไหนเปิดใจฟังก็บอก คนไหนไม่เปิดเราก็นั่งโง่ๆไป คนไหนถามก็จะตอบ ใครมั่นอกมั่นใจว่าถูกมาก ไม่ถามให้ทักท้วงเราก็จะนั่งโง่ๆไป
ไม่พูดไม่บอกอะไร กรรมใครกรรมมัน เอาสบายวันนี้คือลำบากในกาลข้างหน้า.... ช่วยแค่คนที่เราพอจะช่วยได้ ถามเมื่อไหร่ หรือมีท่าทีเปิดเมื่อไหร่ถึงจะพูด หรือสุดท้าย เด็กมีปัญหาค่อยซ่อม ได้คืนมาแค่ไหนก็แค่นั้น…นะ
ช่วงนั้นหมอด้วยกันเขาก็คิดว่าไม่ใช่ประเด็นเพราะสิ่งที่เรารับรู้มา มันเป็นเรื่องใหม่ มันอยู่ในห้องประชุมวิชาการแบบเฉพาะกิจ และสื่อต่างๆไม่ได้มากมายแบบสมัยนี้ เพจเลี้ยงลูกของคุณหมอเก่งๆทั้งด้านพัฒนาการเด็ก หรือจิตเวชเด็ก ไม่ได้มีเกลื่อนแบบตอนนี้....
เจอปัญหาการเลี้ยงดูด้วยจอบ่อยๆ จนบอกกับตัวเองว่า อนาคตของชาติน่าห่วง...
คิดว่าอ่านไม่ผิด
ก็ไม่รู้นะคะ ตอนนี้เด็กรุ่นนั้นก็เข้าวัยรุ่น มหาวิทยาลัยกันบ้างแล้ว ทำงานแล้ว....
มันเป็นเรื่องพัฒนาการด้านภาษา ด้านการสื่อสาร ส่งผลไปยังบุคลิกภาพ สมาธิ การควบคุมอารมณ์ การควบคุมตัวเอง ความก้าวร้าว การเรียนรู้ ศักยภาพในการคิด การวิเคราะห์ ....ศักยภาพของคน คุณภาพคน
ภาษาคือหนึ่งในตัวประเมิน IQ ค่ะ อายุเท่ากันถ้าด้านอื่นถั่วๆได้ใกล้เคียง แต่สื่อสารได้ไม่เท่ากัน แค่นี้ IQ ก็ต่ำกว่าแล้วค่ะ.... สำคัญเลยคือทักษะทางภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก..... ใช้มือ ซับซ้อน ใช้กับงานละเอียดได้ดี คือสมองซับซ้อน แปรผันกับความฉลาด.... พูด กับมือ ...
เลี้ยงคนจะเลี้ยงให้ปกติก็ได้ เลี้ยงให้ IQ ต่ำลงก็ได้ค่ะ
ตอนนี้เพื่อนที่เป็นหมอพัฒนาการคือเคสเต็มมือ
ขนาดเราหมอเด็กธรรมดายังเจอเด็กที่มีปัญหาด้านการพูดเยอะขึ้นเรื่อยๆ บางช่วง สัปดาห์ละสองสามเคสนะคะ.....ย้ายที่ทำงานปีแรก เก็บลูกเจ้าหน้าที่ไปสองสามคนด้วยเรื่องพูดช้า
บางครั้งถ้าไม่ใส่ใจมองหาก็จะไม่เห็น รู้ให้ไวก่อนถึงขั้นไม่ปกติจริงๆ จะได้รีบแก้ จะดีกว่า มีโอกาสกลับมาปกติได้มากกว่า และอายุที่เริ่มต้นใช้ยิ่งน้อยยิ่งน่าห่วง ใช้ยิ่งมากยิ่งอันตราย....
.. เอาแค่เคสล่าสุด
เจอเด็กมาเรื่อยๆค่ะ มารับวัคซีน จนตอนอายุ 9 เดือนก็เตือนย้ำนักย้ำหนาว่า อย่าใช้นะคะ มันไม่มีผลดีอะไรกับเด็กเลย..... พูดไปยาวมากค่ะ ร่วมชั่วโมงถึงข้อเสีย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ไปจนถึงข้อแนะนำและ
เทคนิคอื่นๆที่ควรเอามาใช้ ผู้ปกครองถามเยอะมาก แถมพยักหน้าเหมือเชื่อและเข้าใจที่เราพูดตลอด
ถ้าเป็นผ้าก็โดนซักจนขาวค่ะ
ผ่านไป หกเดือน เจอเด็กอีกที ขวบสามเดือนค่ะ
ซนมาก เวลาผู้ใหญ่พูด จะสบตาด้วยสั้นๆก็หลุดไปจากเสียงที่พูดแล้ว เล่นของเล่นไม่มีเสร็จ เปลี่ยนชิ้นบ่อย
มากๆๆห้ามตัวเองไม่ได้เลย บอกให้หยุด ไม่หยุด และยังไม่พูดคำมีความหมายแม้แต่คำเดียว เสียงแม่พูด ไม่มีความหมายเลย เวลาเด็กพูดจะพูดภาษาของตัวเอง ภาษาการ์ตูน....เวลากินข้าว ต้องดูจอ พ่อชอบเอามาล่อให้ลูกกินข้าว
แรกๆยังไม่ได้ยินเด็กพูด ก็ยังไม่กล้าถามตรงๆ เพราะพ่อแม่ดูค่อยข้างตั้งการ์ด ว่าเด็กโอเค รู้เรื่องที่พูดหมด เข้าใจ แค่ไม่พึดเฉยๆ แต่พอได้ยินภาษาการ์ตูนที่เด็กพูด และใช้ภาษานี้สื่อสารรัวๆๆๆๆๆ ร่วมกับใช้ภาษากายเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีคำโดดที่มีความหมายใดๆหลุดออกจากปากเลย จึงถามตรงๆค่ะ ว่าดูจอเยอะไหม....
ไม่เหลือค่ะ ดูทุกวัน ใช้เรื่อยๆทั้งวัน
สิ่งที่เราแนะนำให้ทำตั้งแต่เมื่อหกเดือนก่อนคือ ให้พูดกับลูกบ่อยๆ ตั้งแต่เช้าจนหลับ ค่อยๆให้คำ พาลูกสื่อสารระหว่างกัน สบตา เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นนู้นเล่นนี่ ห้ามใช้จอ และอ่านนิทานให้ลูกฟังทุกวันก่อนนอน สร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริง ได้สายสัมพันธ์พ่อแม่ เป็นการเริ่มหัดตั้งตารางเวลา และปรับคลื่นสมองก่อนนอน เพิ่มคลังศัพท์ กระตุ้นจินตนาการ ....อ่านนิทาน ไม่ทำเลยค่ะ...
แม่พูดน้อย....
ในขณะสิ่งที่แนะนำบาวอย่างไม่ทำเลย แต่สิ่งที่ห้ามคือ อย่าใช้จอ ใช้สื่อโซเซียลต่างๆมาเล่นกับลูกแทนพ่อแม่หรือคนในการเลี้ยงดูเด็ก หรือเพื่อให้เด็กสงบไม่ควรใช้ .... กลับเอามาใช้ทุกวันตั้งแต่ลูกยังไม่ขวบ...
ผลของการพูดคุยร่วมชั่วโมงในวันนั้นเมืรอหกเดือนก่อน อธิบายทุกอย่างโดยละเอียดทั้งเหตุและผล ตอบทุกคำถามในพ่อแม่ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษา...
ไม่ได้อะไรกลับมาเลย นอกจากสิ่งที่พ่อแม่เชื่ออยู่แล้วในหัว และทำตามความเชื่อของตนไม่เปลี่ยนอะไร....
สุดท้ายเคสนี้ต้องซ่อมเด็กค่ะ โชคดี ฐานครอบครัวดี คือความรักความเอาใจใส่ดี แต่กติกา วินัยหย่อน
เพราะความเป็น หลานรัก.....และญาติผู้ใหญ่เป็นใหญ่
 
ต้องกลับไปตั้งต้นที่แม่ ให้แม่ทำหน้าที่แม่
และสร้างตัวตนแม่ให้ชัดค่ะ ถึงจะพาเด็กพูดได้ดีขึ้น แม่มีตัวตน เด็กถึงจะฟังเสียง มองหน้า สบตา และเชื่อฟัง และพูดตาม เสียงของแม่จึงจะมีความหมาย
คำว่าหยุด หรืออย่าเพื่อคงวามปลอดภัย จึงจะน่าเชื่อถือทำให้ลูกนิ่งได้.. แป๊บนึง..มันคือสายสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย
พ่อคือผู้ช่วยคนสำคัญมากของแม่ อย่าลอยตัวเหนือปัญหา ต้องช่วยแม่ ง่ายมาก ถ้าคิดไม่ออกแม่ทำอะไร
ก็ทำด้วยค่ะ
ที่สำคัญญาติผู้ใหญ่ต้องลดบทบาท เอาแค่พอดี ไม่ล้ำเส้นพ่อแม่ แต่ต้องเจราจาดีๆไม่ให้ท่านคิดว่าเป็นความผิด ไม่ด้อยค่าท่าน หรือพูดให้ต้องน้อยใจ
เลี้ยงเด็กต้องเป็นทีมเดียวกัน
บทบาทของญาติผู้ใหญ่จะลดลงได้ แม่ต้องมีบทบาทมากขึ้นและชัดเจน ... คือต้องดูแลลูกเองหมดสิ้นทุกสิ่งอันค่ะ ไม่ให้ใครทำแทนมากเกินไป....
เลี้ยงลูกใครไม่เหนื่อย ใครไม่ได้อดนอน ไม่ได้อดข้าว ไม่ได้มีชีวิตที่เข้าห้องน้ำแบบไม่ปกติสุข แปลว่าไม่ได้เลี้ยงเองค่ะ
พอต้องซ่อม มันต้องย้อนถอยหลังไปหมดเลยนะคะ แล้วบางทีก็เหมือนต้องสังคายนาบ้าน.... เวลาต้องแก้คนยิ่งเยอะ เรื่องยิ่งแยะ
ต้องตั้งต้นใหม่ แล้วรอดูพัฒนาการ
ถ้าแค่ติดหล่ม ล้อฟรี หนุนนิดหน่อย ดันนิดนึงก็ขึ้นแล้ววิ่งต่อได้ปกติค่ะ
แต่มันเสียเวลาชีวิตเด็ก โดยเฉพาะเสียโอกาสการสร้างการเชื่อมโยงของใยประสาทใยสมองของเด็กอย่างมหาศาลในตอนที่เล่นสารพัด และซนสารพัด
การสร้างวงจรประสาทที่มีประโยชน์ซ้ำๆ
สิ่งเหล่านี้จะชะงักเมื่อถูกจอสะกดจิต
ทุกนาทีชีวิตเด็กมีค่าต่อการสร้างสรรค์
อีกเคส... มาหาด้วยการเจ็บป่วยอื่น แต่ที่พบปัญหาร่วมด้วยคือการพูดและการสื่อสารที่ไม่สมวัย แม่ไม่ได้บ่นเรื่องนี้หรอกค่ะ แต่หมอเห็นแล้วทนไม่ได้ มันช้ามากเลยถาม
ตอนนี้สามขวบกว่า พูดได้เป็นบางคำ พูดเองเป็นคำโดดๆได้ไม่กี่คำ ส่วนใหญ่ยังต้องพูดตาม ออกเสียงยังไม่ค่อยชัดเป็นส่วนมาก พัฒนาการทางภาษาประมาณเด็กขวบครึ่งแค่นั้น
จากปัญหาเรื่องการสื่อสาร ก็กลายเป็นมีปัญหาทางด้านอารมณ์ กลายเป็นเด็กขี้กังวล อารมณ์ฉุนเฉียวปรับตัวยาก เพราะสื่อสารบอกความต้องการตัวเองไม่ได้เลย เคสนี้ใช้จอหนักมากตั้งแต่ยังไม่ถึงขวบจนอายุสามปีกว่า... สรุปคืออายุแค่สามปี ฟังดูสั้น แต่มันคือใช้มาแทบจะทั้งชีวิตของเด็ก จะพังแค่ไหน คนแรกถึงขวบสาม พังแค่นั้น
เด็กได้ไปหาหมอเรื่องพัฒนาการแค่หนึ่งเดือน
แล้วผู้ปกครองคิดว่าไม่จำเป็น เอาไปโรงเรียนดีกว่า แล้วไม่ได้ติดตามการรักษากับแพทย์พัฒนาการเด็กอีกเลย ทั้งๆที่ เด็กที่มีปัญหาเหล่านี้
เด็กกลุ่มนี้ต้องมีการติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ต้องช่วยกันดูแลทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และที่โรงพยาบาล โดยหมอจะเป็นเหมือนโค้ชที่คอยติดตาม ประเมิน วางแผนการเล่น ประสานครู ผ่านทางพ่อแม่หรือจดหมาย และพ่อแม่คือผู้เบล่นตัวจริง คือคนที่ต้องปรับตัวเพื่อรักษาเด็ก....
โรคนี้ไม่มียาค่ะ (ถ้าไม่มีปัญหาอื่นร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น)​ รักษาด้วยการปรับการเลี้ยงดู...
ผู้ใหญ่ปรับ เด็กจะเปลี่ยน
คุณหมอพัฒนาการ มักต้องติดตามกันจนโตเลยค่ะ
ดูว่ามีแค่ปัญหาการพูดไหม มีปัญหาอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เรื่อของสมาธิสั้น ปัญหาด้านการเรียน การอ่าน การเขียน พฤติกรรม อารมณ์ การปรับตัว ติดตามกันยาวจนโตค่ะ อย่าเพิ่งหยุดไปหาหมอเอง...
ที่สำคัญคือ หมอที่จบเฉพาะสาขา มีน้อย
และหายากมากค่ะ บางจังหวัดไม่มีเลย มักจะกระจุกในจังหวัดใหญ่และมีความเจริญทาวเมืองมากกว่า
และที่สำคัญไปอีกคือ บางครั้งพ่อแม่ ผู้ปกครองก็เสพติดการเลี้ยงลูกด้วยจอเช่นกัน... และเลิกยาก โอกาสของความสำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถของการปรับตัวของผู้ใหญ่...
เพราะขาดทักษะการเลี้ยงอย่างเหมาะสม และต้องอาศัยความพยายามที่ฝึกฝนและปรับเปลี่ยนตัวเอง....
เรื่องนี้ไม่ง่ายค่ะ เพราะมีหลายปัจจัยทั้งจากตัวพ่อแม่เอง ความเชื่อในครอบครัว ไปจนถึงการต้องทำมาหากินเพื่อให้พอกับค่าใช้จ่าย....
ฉะนั้น เลี้ยงไม่ให้ต้องซ่อม ง่ายที่สุด ประหยัดที่สุด
แต่ต้องลงทุนด้วยเวลา....
ทุกคนรักลูกไม่แตกต่าง แต่ทักษะและสัญชาตญาณ​ความเป็นแม่หรือพ่อ แต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ....
นี่เรื่องจริง เห็นมาหลายแบบเลย ....
การใช้สัญชาตญาณ​แม่ (มีในทุกคนทั้งผู้หญิง ผู้ชาย)​ในตัวให้เต็มที่แค่นี้ก็ช่วยได้เยอะค่ะ
ปัญหาคือ คนยุคนี้ ไม่เข้าใจธรรมชาติของคน เราชินกับการชั่งตวงวัด อะไรที่จับต้องได้ พอต้องใช้ใจเลยเหมือนคนตาบอด...
แม่บางคนไม่รู้ลูกร้องไห้เพราะอะไร บางคนแยกเสียวร้องไห้ตามความต้องการของลูกได้... บางคนรู้ช้า บางคนรู้เร็ว บางคนพอลูกเริ่มพูดได้ เดินคล่อง เริ่มคุมการขับถ่ายได้ ก็เริ่มพาลูกนั่งกระโถน แม่รู้เอง แต่บางคนปล่อยลูกยืนถ่ายใส่แพมเพิร์สจนเกินวัย แม่ไม่รู้จังหวะปกติที่ควรรู้
..... ถ้าลูกดูดนมจากเต้า จะไม่มั่นใจเลยว่าลูกกินอิ่มมั้ย แต่ถ้าป้อนขวดได้ทีละสามออนซ์ (ซึ่งบางครั้งมันเยอะเกินไปสำหรับเด็กเพิ่งคลอด แต่จะรู้สึกกลัวลูกไม่อิ่ม ทั้งๆที่ลูกจุก)​ แม่จะสบายใจว่าลูกอิ่ม.....
นึกภาพออกไหมคะ ว่าการใช้สัญชาตญาณ​เป็นอย่าไร
เรื่องพวกนี้ แม่บางคนไม่มีปัญหา แม้จะเป็นท้องแรกก็สังเกตุเองเป็น เข้าใจเองได้ เลี้ยงลูกเก่ง แต่บางคนมีปัญหา แม้จะเป็นท้องที่สองสามไปแล้วก็ตาม กลุ่มหลังต้องประคองช่วยค่ะ ตัวเองไม่เคยมีลูกก็ต้องทำตัวเหมือนเคยมีลูกมาสักฝูง... คือเหมือนจะรู้เพราะเลี้ยงมาเยอะ แต่จริงๆลูกไม่มี...
สมัยก่อนเราอยู่แบบครอบครัวขยาย แม่จะอยู่กับแม่ของตัวเอง หรือแม่สามี... โค้ชธรรมชาติ
ยุคนี้ ความรู้คู่สัญชาตญาณ​ค่ะ
ป.ล.ชื่นชมคุณพิธาเลี้ยงลูกมากหลังจากตามดู
เริ่มสนใจจากภาพที่เห็นลูกสาววิ่งเข้ามาหาพ่อ
ผู้ชายที่เป็นพ่อเลี้ยงเดี่ยวเลี้ยงลูกแล้วมีภาพนี้ได้
ไม่ธรรมดา
 
หลังจากได้ฟังบทสัมภาษณ์​เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก
ส่วนตัวชื่นชม... คนอะไรศึกษาก่อน (เห็นวิธีการพูด การสื่อสารกับลูก มีเทคนิค​ แต่กลั่นกรองแล้ว คัดเลือกแล้ว และเป็นธรรมชาติ )​ ศึกษาแล้วลงมือทำอย่างตั้งใจ ฉลาดปรับใช้ทฤษฎีในแบบที่ปฏิบัติได้จริง
ในรูปแบบและวิถีของตัวเอง....
เด็กทุกควรได้รับการดูแลจากพ่อแม่แบบนี้ ไม่ใช่เรื่องเงิน เรื่องข้าวของนะคะ... แต่มันคือเรื่องของจิตใจ พัฒนาการ ความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและอารมณ์ และความต้องการของเด็กตามวัยล้วนๆ แถมด้วยการป้องกันลูกไม่ให้ถูกคุกคามผ่านทางสื่อและร่องรอยทางอินเตอร์เนต
คุณพิธาเคยบอกว่าลูกผมต้องติดดิน (ไม่เกี่ยวกับฐานะนะคะ ติดดินคือคนง่ายๆ กินง่าย อยู่ง่าย ไม่ถือตัว) ต้องมีความเป็นไทย กิริยามารยาทแบบไทย ใช้ภาษาไทยได้ดี และภาษาอื่นๆที่สองที่สาม....
เด็กสะกดคำว่ารัก ว่า T-​I-M-E พ่อเลี้ยงเดี่ยวท่านหนึ่งกล่าวแบบนี้.....
ผู้ชายเลี้ยงลูกเก่งๆ มีไม่น้อยนะคะ ทำแทนแม่ ช่วยผ่อนแรงแม่ได้ทุกอย่าง บางคนลูกติดหนึบหนับยิ่งกว่าติดแม่.... ถือว่าเป็นบุญค่ะ 😊
Cr. ภาพจากเพจดีต่อลูก
การคัดกรองพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
โฆษณา